งูพิษกัด
เมื่อถูกงูพิษกัด จะปรากฏรอยเขี้ยวงูเป็น ๒ จุด และมักมีอาการของพิษงูภายใน ๑๐ นาที ถ้างูไม่มีพิษ รอยฟันบนผิวหนังจะเรียงเป็นแถว อาการของผู้ป่วยที่แสดงออกนั้นสุดแล้ว แต่ชนิดของงู เช่น พิษจากงูเห่ามักทำอันตรายต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยซึมและหายใจลำบาก ส่วนงูแมวเซาทำอันตรายต่อระบบเลือดและหลอดเลือด มีเลือดไหลซึมออกจากแผลตลอดเวลา
วิธีปฐมพยาบาล
๑. ให้พยายามตรวจดูว่าถูกงูอะไรกัด ถ้าจับงูได้ให้เก็บไว้นำส่งแพทย์ด้วย เพื่อจะได้เลือกฉีดเซรุ่มต้านพิษงูได้ถูกประเภท
๒. ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอน ใช้สายยางหรือผ้ารัดแขนหรือขาเหนือรอยแผลประมาณ ๑ ฝ่ามือ ให้แน่นพอสมควร เพื่อลดอัตราการดูดซึมของพิษงูที่เข้าสู่ร่างกายโดยกระแสเลือด ควรคลายสายรัดชั่วครู่ทุกๆ ๑๐ นาที เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงแขนขาส่วนนั้นสักครู่แล้วรัดให้แน่นใหม่
๓. ใช้มีดที่ทำควรสะอาดแล้วกรีดเป็นรูปกากบาทเล็กๆ ลงบนรอยแผลของเขี้ยวงู ผู้ช่วยเหลือดูดเอาเลือดออกจากแผลแล้วบ้วนทิ้งเสีย ถ้าผู้ป่วยบ้านอยู่ใกล้โรงพยาบาล สามารถนำไปฉีดเซรุ่มต้านพิษงูได้ภายในเวลา ๑ ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องกรีดแผล หรือผู้ป่วยที่ถูกงูกัดมานานเกิน ๑ ชั่วโมง การกรีดและดูด เอาเลือดออกจากแผลมักไม่ได้ประโยชน์
๔. ทำการผายปอดเมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจ หากมีอาการช็อก ในปฐมพยาบาลระหว่างนำส่งโรงพยาบาล
๕. หากถูกงูพิษอ่อนๆ กัด หรือถูกงูไม่มีพิษกัด ผู้ป่วยจะมีอาการบวมของผิวหนังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ปรากฏอาการทั่วไปที่รุนแรง ควรทำความสะอาดแผล ให้ยาระงับปวด ไม่จำเป็นต้องฉีดเซรุ่มต้านพิษงู ทั้งนี้อยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์
ที่มา http://guru.sanook.com/encyclopedia/การได้สารพิษ/