Advertisement
ค้างคาวและโรคพิษสุนัขบ้า
|
|
|
Post by ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา & ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี
|
พุธ, 07 กุมภาพันธ์ 2007 |
ข่าวชาวเปรูถูกค้างคาวดูดเลือดที่เป็นโรคกลัวน้ำหรือโรคพิษสุนัขบ้ากัด เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 11 คน ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผู้เสียชีวิตไม่ได้รับวัคซีนอย่างทันท่วงทีหลังจากถูกค้างคาวกัด โดย 5 คน ถูกกัดในป่า จ.มาเดรเดดิออส ส่วนอีก 6 คนถูกกัดใน จ.พูโน่ ซึ่งมีพรมแดนติดกับโบลิเวีย
ค้างคาวจัดเป็นสัตว์นำโรคพิษสุนัขบ้าที่สำคัญรองจากสุนัข แต่ในทวีปอเมริกา (สหรัฐอเมริกาและประเทศละตินอเมริกา) ค้างคาวมีความสำคัญในการนำโรคพอๆ กับสุนัข
ค้างคาวที่นำไวรัสพิษสุนัขบ้าในแถบละตินอเมริกามีทั้งชนิดดูดเลือด และไม่ดูดเลือด โดยสถิติช่วงระหว่างปี 2536-2545 มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าจากค้างคาวดูดเลือดสูงถึง 62 ราย และจากค้างคาวไม่ดูดเลือด 27 ราย และยังมีค้างคาวที่ระบุชนิดไม่ได้อีก 79 ราย ขณะที่สหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาเดียวกัน มีคนเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า 26 ราย โดยมีสาเหตุจากสุนัข 5 ราย จากค้างคาวไม่ดูดเลือด 19 ราย และค้างคาวไม่ทราบชนิดอีก 2 ราย ที่ประเทศแคนาดามีอีก 1 ราย ที่เกิดจากค้างคาวไม่ดูดเลือด
ในสหรัฐอเมริกาค้างคาวไม่ดูดเลือดเป็นปัญหาคุกคามจนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าอีก 6 ราย ในปี 2547 โดยที่ 2 ราย ถูกค้างคาวกัดและอีก 4 ราย ติดเชื้อจากการปลูกถ่ายอวัยวะที่ได้จากผู้ป่วยที่ถูกค้างคาวกัดและแพทย์วินิจฉัยไม่ได้ ในปี 2548 พบ 1 ราย และในปี 2549 พบอีก 2 ราย
ค้างคาวดูดเลือดในแถบละตินอเมริกา เป็นที่ทราบกันดีตั้งแต่ปี พ.ศ.2474 ในทรินิแดด ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าโดยมีลักษณะพิเศษ คือแขนขาอัมพาตอ่อนแรง และทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคโปลิโอ หรือเส้นประสาทอักเสบ นอกจากผลกระทบต่อคน ยังทำให้เกิดโรคในสัตว์เศรษฐกิจอย่างมาก เช่น วัว ม้า นอกจากในประเทศเปรูแล้ว ประเทศบราซิล แถบอะเมซอน ยังมีผู้ป่วยตายอีก 21 ราย ในช่วงเดือนมีนาคม และในเดือนพฤษภาคม ปี 2547 และอีก 9 รายในเดือน มิถุนายน 2548 จากค้างคาวดูดเลือด
พฤติกรรมของค้างคาวดูดเลือดอาจไม่ต่างจากสุนัขที่แพร่โรค กล่าวคือจะต้องทำให้เกิดแผล ค้างคาวดูดเลือดจะคลานเข้าไปกัดคนหรือสัตว์ขณะหลับและปล่อยน้ำลายที่มีทั้งเชื้อไวรัสและสารป้องกันเลือดแข็งตัว จากนั้นจะเลียเลือดจากแผลไปด้วย ส่วนค้างคาวไม่ดูดเลือดในสหรัฐ จะเป็นค้างคาวกินแมลงเข้าสู่ร่างกายได้เมื่อมีรอยขีดข่วนโดยเกาะติดกับเซลล์ในชั้นผิวหนังตื้นๆ เหตุผลดังกล่าวทำให้คนที่ตายจากค้างคาวในสหรัฐมักไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าถูกค้างคาวกัด แต่จากการแยกเชื้อสามารถพิสูจน์ได้ชัดว่ามาจากค้างคาวที่สำคัญ 2 ชนิด คือ Lasionycteris noctivagans และ Pipistrellus subflavus
โรคพิษสุนัขบ้าในคนที่เกิดจากค้างคาวไม่ดูดเลือด จะมีลักษณะต่างจากค้างคาวดูดเลือดที่มีอัมพาตเป็นอาการเด่น ผู้ป่วยจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสในร่างกายเร็วกว่าที่เกิดจากสุนัขกัดซึ่งเป็นข้ออธิบายที่ผู้ป่วย 2 ราย สามารถรอดชีวิตได้ในสหรัฐอเมริกา (รายแรกในปี พ.ศ. 2515 และรายที่ 2 รายงานในปี 2548)
ในทวีปอื่นๆ นอกจากอเมริกา เช่น ยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย ค้างคาวนำโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน แต่ไวรัสมีลักษณะต่างออกไป (genotype) ในออสเตรเลียมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 2 ราย ในปี 2539 และ 2541 โดยรายแรกมีอาการ แขน ขาอ่อนแรง กลอกลูกตาไม่ได้ และรายที่สองมีอาการสมองอักเสบ โดยมาจากค้างคาวแม่ไก่ ซึ่งกินพืช ผลไม้เป็นอาหาร
ในประเทศไทยศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมองร่วมกับสถานเสาวภา (นายสัตวแพทย์ บุญเลิศ ล้ำเลิศเดชา) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (คุณกัลยาณี บุญเกิด และคุณไสว วังหงษา) มีการสำรวจการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในค้างคาว ในระหว่างปี 2544-2546 โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีค้างคาวในการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 932 ตัว ใน 8 จังหวัด โดยการเจาะเก็บเลือดเพื่อหาหลักฐานการติดเชื้อของไวรัสลิสสา (Lyssavirus) ซึ่งรวมถึงโรคพิษสุนัขบ้า (RABV) ไวรัสลิสสา สายพันธุ์ออสเตรเลีย (Australian Bat Lyssavirus, ABLV) และไวรัสลิสสาสายพันธุ์อื่นๆ (Irkut, Aravan และ Khujand) ผลไม่พบว่ามีการติดเชื้อต่อไวรัสพิษสุนัขบ้า (RABV) แต่พบว่า 16 ใน 394 ตัวอย่าง (จากค้างคาวแม่ไก่ Pteropus lylei 15 ตัวอย่าง และจากค้างคาวหน้ายักษ์ทศกัณฑ์ Hipposideros armiger 1 ตัวอย่าง) มีหลักฐานการติดเชื้อของไวรัสสายพันธุ์ Irkut, Aravan, Khujand และ ABLV คละกันไป การศึกษานี้ให้ข้อสรุปว่าค้างคาวไทยมีการติดเชื้อไวรัสลิสสาที่เป็นสายพันธุ์อื่นของไวรัสพิษสุนัขบ้าและควรเป็นสายพันธุ์ใหม่นอกเหนือจากที่ปรากฏมาก่อน อนึ่ง ค้างคาวที่ติดเชื้อลิสสา หรือเชื้อพิษสุนัขบ้าอาจรอดตาย หายจากการเป็นโรคได้เอง
ข้อสังเกตค้างคาวติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า คือ มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ค้างคาวบินเข้าในบ้านหรือ คลานตามพื้นในเวลากลางคืน เข้ามาเกาะในบ้านหรืออยู่ตามโต๊ะ เก้าอี้ ในกรณีที่พบค้างคาวมีลักษณะเช่นนั้น หรือพบค้างคาวตายห้ามจับค้างคาวมือเปล่า ต้องสวมถุงมือหรือถุงพลาสติคอย่างหนาก่อนจับ และนำใส่ถุงผ้าหรือภาชนะที่ห่อหุ้มมิดชิด และส่งตรวจที่ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อาคาร อปร.ชั้น 11 ห้อง 1114/3
นอกจากนั้นศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมองยังได้ศึกษารหัสพันธุกรรมของคน และสัตว์ที่เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าจากทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2541-2546 โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว.และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ยังไม่พบมีหลักฐานของไวรัสพิษสุนัขบ้าที่มาจากสัตว์อื่นๆ นอกจากสุนัข สัตว์ป่า วัว ควาย แมว คน ที่ตายด้วยโรคนี้ ล้วนมีไวรัสต้นกำเนิดเดียวกันจากสุนัขทั้งสิ้น ถึงกระนั้นยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
ผู้สัมผัสค้างคาวหรือมีโอกาสใกล้ชิดกับค้างคาวต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานชัดเจนก็ตามว่าวัคซีนในขณะนี้จะสามารถป้องกันไวรัสจากค้างคาวในประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่ไวรัสลิสสากลุ่มที่ 1 (genotype 1)
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี
|
วันที่ 8 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 38,975 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,686 ครั้ง |
เปิดอ่าน 66,382 ครั้ง |
เปิดอ่าน 47,502 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,582 ครั้ง |
|
|