Advertisement
❝ ❞
โครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ของ ศธ.
นอกจากนั้น ยังมีนโยบายต่างๆ คือ โครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา หรือ ETV ซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว แต่เป็นระบบดาวเทียม แต่ใน 3 ปีข้างหน้า ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง จะมี Free TV เพิ่มขึ้นอีก 1 ช่อง เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ คือ E Free TV เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โครงการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งผลคะแนน O-Net ต่ำที่สุดในประเทศ จึงจำเป็นต้องเร่งรัดในการยกระดับคุณภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษ มีแผนงานพัฒนาด้านวิชาการ สื่อการเรียนการสอน และพัฒนาทั้งโรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม รวมทั้งปอเนาะ และโรงเรียนตาดีกา เตรียมเงินไว้ทั้งหมด 1,886 ล้านบาท การพัฒนามหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้เตรียมเงินงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 9,937 ล้านบาท ใน 3 ปี สำหรับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
ทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพและขยายโอกาสให้กับเยาวชนไทยและคนไทยทุกคน ซึ่งโครงการทั้งหมดจะเริ่มต้นทันที ภายในกลางเดือนกันยายนนี้
กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เฉพาะในส่วนของปี 2553 จำนวนรวมกันทั้งสิ้น 40,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณจำนวนนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้นำมามุ่งเน้นในเรื่องของการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาและมุ่งเน้นในเรื่องของการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนไทยและคนไทยทั้งประเทศได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นด้านหลัก โดยมีโครงการสำคัญๆ ทั้งสิ้นอย่างน้อย 11 โครงการ ดังนี้
1. โครงการติวฟรีอย่างมีคุณภาพ หรือ โครงการกระทรวงศึกษาธิการติวเข้มเติมเต็มความรู้ ภายใต้รายการ “Tutor Channel เพื่ออนาคตชาติ เพื่อโอกาสทุกคน” ซึ่งจะมีการถ่ายทอดสดทุกวันเสาร์ ผ่านช่อง 11 หรือ NBT และ ETV รวมทั้ง UBC ช่อง 96 และเคเบิ้ลทีวีทั่วประเทศ รวมถึง R-Radio เวลา 10.00-12.00 น. ทั้งนี้เพื่อจะให้โอกาสเด็กไทยในชนบททุกคน รวมทั้งเด็กในต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกลได้มีโอกาสเช่นเดียวกับเด็กที่อยู่ในเมืองและเด็กที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยโครงการ Tutor Channel นี้ จะเริ่มต้นครั้งแรกในวันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2552 เวลา 10.00 น. นับเป็นการต่อยอดจากโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ
2. โครงการโรงเรียนดี 3 ระดับ เป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆ โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ โรงเรียนดีระดับสากลหรือระดับชาติ จะดำเนินการ 500 โรงทุกจังหวัดทั่วประเทศ ให้มีมาตรฐานระดับสากลเช่นเดียวกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เตรียมอุดมศึกษา สตรีวิทยา ฯลฯ โรงเรียนดีระดับอำเภอ จะดำเนินการทั้งสิ้น 2,500 โรง กระจายอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ โรงเรียนดีประจำตำบล จำนวน 7,000 โรง อย่างน้อยตำบลละ 1-2 โรง รวมทั้งสิ้น 10,000 โรงทั่วประเทศ โดยจะมุ่งเน้นในเรื่องของการยกระดับคุณภาพทางด้านวิชาการ ระบบบริหารจัดการ ปัจจัยพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ การซ่อมแซมอาคารหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม การเพิ่มสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ รวมทั้งห้องสมุด ห้อง Lab คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
3. โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่ามาตรฐาน มีจำนวนทั้งสิ้น 9,000 โรง จะใช้เงินงบประมาณ 1,757 ล้านบาท รวมทั้งจะมีการถ่ายทอดการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมโดยใช้โรงเรียนวังไกลกังวลเป็นแม่ข่าย โดยจะถ่ายทอดในภาคการศึกษาที่ 2 ของปีการศึกษา 2552 คือเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ จำนวน 4,000 โรง และในภาคการศึกษาที่ 1 ของปีการศึกษา 2553 คือเดือนพฤษภาคม อีก 5,000 โรง เพื่อเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพการเรียนของเด็กให้ดีขึ้น และหวังว่าคะแนน O-Net ของเด็กก็จะดีขึ้น ซึ่งจะมีการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
4. โครงการยกระดับคุณภาพของโรงเรียนในพื้นที่ทุรกันดาร โรงเรียนเด็กด้อยโอกาส โรงเรียนเด็กพิการ และโรงเรียนในพระราชดำริ ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 3,082 โรงทั่วประเทศ จะใช้เงินงบประมาณ 2,114 ล้านบาท จะมีการจัดเรือนนอนให้กับโรงเรียนของเด็กที่อยู่ห่างไกลบนพื้นที่สูง ต้องมีเรือนนอนให้ สำหรับให้เด็กเหล่านี้ได้เข้ามาเรียน มิฉะนั้นเด็กก็จะออกกลางคัน นอกจากนั้นก็จะมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้พิการทั่วประเทศ
5. โครงการห้องสมุด 3 ดี เป็นนโยบายใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องมุ่งเน้นการสร้างห้องสมุดที่มีดีอย่างน้อย 3 ข้อ คือหนังสือดี ซึ่งรวมไปถึง e-Book ด้วย บรรยากาศดี คือบรรยากาศแห่งการส่งเสริมการเรียนรู้ และบรรณารักษ์ดี ซึ่งจะจัดให้กับทุกโรงเรียนทั่วประเทศ 32,000 โรง และจะจัดให้วิทยาลัยอาชีวศึกษา 450 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งจัดสร้างห้องสมุด 3ดี สำหรับประชาชน ในช่วง 3 ปี ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 150 แห่งทั่วประเทศ ขณะที่ในอดีตที่ผ่านมา สร้างได้ไม่เกิน 10 แห่งต่อปี รวมทั้งจะมีการจัดโครงการห้องสมุด 3ดีสัญจร ที่จะสัญจรไปยังชุมชน หมู่บ้านเพื่อส่งเสริมการอ่านให้กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
6. โครงการคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันอัตราส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียนไทย โดยเฉลี่ยคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน 40 คน ซึ่งจะปรับสัดส่วนเป็น คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน 10 คน และถือเป็นการปฏิรูประบบการศึกษาโดยใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศครั้งใหญ่ของประเทศไทย โดยจะมีการจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 482,000 เครื่อง ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ อย่างน้อย 17,328 โรง ที่ปัจจุบันอัตราส่วนยังไม่ได้ 1:10
7. โครงการ UniNet หรือโครงการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จัดงบประมาณไว้ 4,000 ล้านบาทใน 3 ปี คือปี 2553-2555 โดยจะใช้ระบบใยแก้วนำแสงเดินไปยังจุดสำคัญๆ ทางการศึกษาทั่วประเทศ อย่างน้อยทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ไม่ว่ามหาวิทยาลัยของรัฐบาลหรือเอกชนจะต้องมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปถึง รวมทั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษา 450 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 185 เขต ศูนย์เรียนรู้ชุมชน และอย่างน้อยในระดับโรงเรียนไม่ต่ำกว่า 3,000 โรง จะต้องมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เฉพาะในส่วนเส้นทางหลักจะมีความเร็วอย่างน้อย 50 กิกะบิต
8. โครงการอบรมพัฒนายกระดับคุณภาพและศักยภาพของครู ทั้งประเทศ 500,000 คน แบ่งเป็นครูโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน 450,000 คน ครูวิทยาลัยอาชีวศึกษา 50,000 คน ศธ.จะจัดอบรมพัฒนาศักยภาพครูพร้อมกันทั้ง 500,000 คน ในปี 2553 และจะยกระดับพัฒนาคุณภาพทั้งสองส่วน คือผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนประจำวิชา ทุกรายวิชา ซึ่งรวมทั้งครูแนะแนวและครูบรรณารักษ์ด้วย โดยจะดำเนินการให้เสร็จภายในปี 2553
9. โครงการศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) ที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค ปัจจุบันมีนักเรียนต่างชาติมาเรียนในประเทศไทยประมาณ 30,000 คน กระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2557 จะดึงนักศึกษาต่างชาติมาเรียนในประเทศไทย อย่างน้อย 100,000 คน
10. โครงการมหาวิทยาลัยวิจัย เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2552 ได้มีการประกาศมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 มหาวิทยาลัย เป็นการยกระดับมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในปัจจุบันที่มีศักยภาพด้านการวิจัย ซึ่งได้มีการจัดงบประมาณส่งเสริมการวิจัยให้ 3 ปี 9,000 ล้านบาท ให้กับ 9 มหาวิทยาลัย เพื่อให้ไปทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การเกษตร สังคม และภาคบริการ ขณะเดียวกันก็ได้จัดงบประมาณเตรียมไว้อีก 3,000 ล้าน สำหรับ 69 มหาวิทยาลัยที่เหลือ เพื่อส่งเสริมการวิจัยที่มุ่งเน้นประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น พัฒนา SME พัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง
11. การยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับอาชีวศึกษาสู่ความทันสมัย จะมีการจัดเตรียมครุภัณฑ์ อุปกรณ์เพื่อเดินหน้าสู่คุณภาพการเรียนการสอน เพื่อป้อนนักศึกษาที่มีคุณภาพสู่ตลาดเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต และเป็นการปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ 450 วิทยาลัย อาชีวศึกษาทั่วประเทศ รวมงบประมาณ 6,585 ล้านบาท
วันที่ 7 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,128 ครั้ง |
เปิดอ่าน 46,890 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,182 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,673 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,768 ครั้ง |
|
|