ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กินน้อยหน่า......อย่าทิ้งเมล็ด


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,164 ครั้ง
Advertisement

กินน้อยหน่า......อย่าทิ้งเมล็ด

Advertisement

สงสัยใช่ไหมล่ะว่า  ทำไม....กินน้อยหน่าอย่าทิ้งเมล็ด พูดถึงน้อยหน่า คงเป็นผลไม้โปรดของหลาย ๆ คน เนื่องจากมีรสหวานอร่อย แต่บางคนบอกว่ามีแต่เมล็ดไม่น่าทานสักนิด

น้อยหน่า มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น น้อยแน่ มะแน่ มะโอจ่า ลาหนัง สุดแล้วแต่จะเรียก "แต่มันก็คือน้อยหน่าลูกสีเขียว ๆ นี่ล่ะค่ะ น้อยหน่าเป็นพืชยืนต้นใบเดี่ยวติดกับลำต้น ใบรูปรีปลายแหลมหรือมน ดอกเล็ก 4 กลีบ สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ลูกกลม มีตุ่มนูนรอบผล เนื้อสีขาว รสหวาน เม็ดสีดำ ใช้เมล็ดปลูก พบได้ทั่วไป น้อยหน่าเป็นผลไม้รสหวาน มีแป้งมากและยังมีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้

ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ใบสดและเมล็ด ใช้รักษาโรคกลาก เกลื้อน และฆ่าเหา ซึ่งจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำคั้นและน้ำมันคั้นจากเมล็ดและใบมีฤทธิ์ฆ่าเหาได้ จึงแนะนำใช้เป็นยาฆ่าเหาสำหรับเด็กจะได้ผลดีมาก และประหยัดค่าใช้จ่าย


ถ้าหากรู้ว่าตัวเองเป็นเหาหรือผู้อื่นเป็น ให้ลองเอาเมล็ดน้อยหน่าประมาณ 10 เมล็ด หรือใบสดประมาณ 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าว 1-2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศีรษะแล้วใช้ผ้าคลุมโพกศีรษะไว้ ประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วสระผมให้สะอาด แต่ระวังอย่าให้เข้าตา เพราะจะทำให้แสบตาและตาอักเสบได้ สรรพคุณดีขนาดนี้ ไม่ลองไม่รู้

        น้ำยาเมล็ดน้อยหน่า ฆ่าเหาได้ถึง 98% ในเวลา 2 ชั่วโมง กลายเป็นภูมิปัญญา ที่เหมาะกับสังคมชนบท เพราะน้อยหน่าหาง่าย ปลูกแทบทุกครัวเรือน (และเหาก็หาง่าย แทบทุกครัวเรือนเช่นกัน)    น้อยหน่าเป็นพืชที่นิยมปลูกทั่วเมืองไทยและปลูกมากเป็นพิเศษทางภาคอีสาน เด็กชอบน้อยหน่าเพราะมีน้ำตาลผลไม้มาก ลูกสุกๆ หวานจัด กินแล้วให้พลังงานรวดเร็ว มีแรงไปวิ่งตะลอนๆ ตามเพื่อนต่อไป

  อันที่จริง นอกจากน้ำตาล น้อยหน่ายังมีสารอาหารหลายชนิด มีแคลเซียมบำรุงกระดูก และวิตามินซีอยู่ในปริมาณพอควร ไม่มีเบต้าแคโรทีนเหมาะจะกินเสริมกับผลไม้ชนิดอื่น เพื่อความหลากหลาย

 ผลไม้เหม็นเขียวลูกหน้าชังชนิดนี้ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คนไทย จนนึกเอาว่า น้อยหน่าเป็นผลไม้ไทย บางคนไปเห็นชาวออสเตรเลียปลูกน้อยหน่า ทึกทักเอาว่า เขาแอบขโมยพันธุ์ไม้เมืองไทยไปปลูก

  ไม่ใช่สักหน่อย น้อยหน่าเป็นผลไม้ต่างประเทศที่นำเข้าเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา เชื่อว่า น้อยหน่ามีถิ่นกำเนิดอยู่แถวอเมริกากลาง ชาวโปรตุเกสได้นำน้อยหน่ามาปลูก ในอินเดียเมื่อหลายร้อยปีก่อน ต่อมาจึงเดินทางเข้าสู่สยามประเทศ บันทึกทูตชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวถึงน้อยหน่าไว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2230-2231 ในระยะแรกปลูกกันแถบลพบุรี อยุธยา ทุกวันนี้น้อยหน่าพันธุ์ดี ของลพบุรีมีชื่อว่า " น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น " หรือ " น้อยหน่าพระนารายณ์ "

  ชาวพื้นเมืองอเมริกากลางเรียกน้อยหน่าว่า แอนโนน่า (Annona) ซึ่งแผลงมาเป็นน้อยหน่า ตามลิ้นคนไทย แต่ชื่อที่เป็นมาตรฐานสากล (ชื่อวิทยาศาสตร์) คือ Annona squamosa Linn ในวงศ์ Annonaceae ฝรั่งเรียกน้อยหน่าว่า Sugar Apple หรือ Sweet sop

  น้อยหน่ามีญาติพี่น้องทั่วโลกราว 50 ชนิด แต่ที่รับประทานได้มีเพียง 5 ชนิด คือ น้อยหน่า น้อยโหน่ง ทุเรียนน้ำ ชิริโมยา (เป็นน้อยหน่าพันธุ์ที่นิยมทั่วโลก) และอิมาลาซึ่งปลูกมากในอเมริกากลาง

  สายพันธุ์พืชจำพวกน้อยหน่าจะมีเอกลักษณ์ที่ผล ผลของพืชจำพวกน้อยหน่า มีลักษณะคล้ายหัวใจบันทึกสมัยโบราณเคยเรียกน้อยหน่าว่า ลูกหัวใจวัว

  น้อยหน่าหนึ่งผล มีเนื้อและเมล็ดมากมาย เพราะมันเป็นผลไม้จำพวกผลกลุ่ม คือมีหลายรังไข่ รังไข่แต่ละอันจะเจริญเป็นผลย่อย ติดอยู่บนฐานเดียวกัน เปลือกแต่ละผล ย่อมหลอมรวมเข้าเป็นผืนเดียวกันคลุมด้านนอก ส่วนเนื้อน้อยหน่าก็คือเนื้อของรังไข่ ที่เจริญขึ้นมานั่นเอง

  สายพันธุ์น้อยหน่าในไทย มีหลายชนิด แต่ที่นิยมบริโภคในปัจจุบันคือ น้อยหน่าหนัง ซึ่งเป็นสายพันธุ์มาจากเวียดนาม นำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่อุบลราชธานีในปี พ.ศ.2475

  ยังมีพืชในสกุลนี้อีกสองสองชนิดที่คล้ายน้อยหน่า คือน้องโหน่ง ซึ่งมีผลโตกว่าน้อยหน่า หนังสีน้ำตาลแดงหรือชมพูเวลาสุก เนื้อเป็นสีขาว รสชาติออกทางมันไม่ค่อยหวาน คุณค่าทางอาหารคล้ายกัน แต่มีวิตามินเอสูงกว่า ปลูกประปรายทางภาคอีสานและกลาง และอีกชนิดหนึ่งคือทุเรียนน้ำ ปลูกมากทางภาคใต้ ทุเรียนน้ำมีผลใหญ่ที่สุด ในบรรดาพืชจำพวกน้อยหน่า บางครั้งผลหนักกว่า 2 กิโลกรัม ดูคล้ายขนุนลูกเล็กๆ ผลสุกสีเขียวปนน้ำตาลอ่อน เนื้อหวานอมเปรี้ยว วิตามินซีสูง นิยมคั้นน้ำดื่มชุ่มคอ

  ในใบและเมล็ดน้อยหน่า มีสารเคมีชื่อ Anonaine เด็ดใบมาตำให้แหลก คลุกกับน้ำมันพืชใช้พอกหัวฆ่าเหาได้ดี แต่ต้องระวังไม่ให้เข้าตาจะเกิดอาการอักเสบ ฤทธิ์ฆ่าเหาเกิดจากสาร Anonaine ในใบและเมล็ด นอกจากนี้ในส่วนเมล็ดยังมีน้ำมัน อยู่ประมาณ 45% ประกอบด้วยกรดอินทรีย์อัลกาลอยด์เรซิน สเตียรอยด์ และอื่นๆ อีกหลายชนิด

  ดังนั้น กินน้อยหน่าอย่าทิ้งเมล็ด ลองตรวจดูผมลูกๆ เห็นเหาละก้อ ไม่ต้องซื้อหายาฝรั่งราคาแพง จัดการเลย ด้วยกระบวนท่า เมล็ดน้อยหน่า อาละวาดพิฆาตเหา

 

ที่มา www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=69


โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3183 วันที่ 7 ธ.ค. 2552


กินน้อยหน่า......อย่าทิ้งเมล็ด กินน้อยหน่า......อย่าทิ้งเมล็ด

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ทายใจ.......ด้วยศิลปะ

ทายใจ.......ด้วยศิลปะ


เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
หลอดเลือดสมองตีบตัน

หลอดเลือดสมองตีบตัน


เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง
ทิปการใช้โปรแกรม Photoshop

ทิปการใช้โปรแกรม Photoshop


เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
ย้อนรำลึก....ปีใหม่

ย้อนรำลึก....ปีใหม่


เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ประวัติศาสตร์ไทย ครูไทยควรใส่ใจมากกว่านี้

ประวัติศาสตร์ไทย ครูไทยควรใส่ใจมากกว่านี้

เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
?มนุษย์รู? ศรีสะเกษทุกข์หนัก..... ฝนตกต่อเนื่องน้ำท่วมที่อยู่กินนอนใต้ดิน
?มนุษย์รู? ศรีสะเกษทุกข์หนัก..... ฝนตกต่อเนื่องน้ำท่วมที่อยู่กินนอนใต้ดิน
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

ชุดราตรีกาแล็กซี่ กินไฟถึง 24,000 ดวง
ชุดราตรีกาแล็กซี่ กินไฟถึง 24,000 ดวง
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย

31 พฤษภาคม 2552 วันงดสูบบุหรี่โลก
31 พฤษภาคม 2552 วันงดสูบบุหรี่โลก
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

หากคุณทำได้..โอกาสรวยแค่เอื้อม..
หากคุณทำได้..โอกาสรวยแค่เอื้อม..
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย

รักใครดี..โปรดตอบมาเป็นคำตอบสุดท้ายของใจท่าน
รักใครดี..โปรดตอบมาเป็นคำตอบสุดท้ายของใจท่าน
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

   งานพระราชทานเพลิงศพ ?ดี๋? สุดเศร้า ตลก-ดาราร่วมอาลัยเพียบ
งานพระราชทานเพลิงศพ ?ดี๋? สุดเศร้า ตลก-ดาราร่วมอาลัยเพียบ
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

1 ปี "สตีฟ จ็อบส์" จากไป
1 ปี "สตีฟ จ็อบส์" จากไป
เปิดอ่าน 9,648 ครั้ง

ความลับ ทำไมคนญี่ปุ่นถึงอายุยืนที่สุดในโลก
ความลับ ทำไมคนญี่ปุ่นถึงอายุยืนที่สุดในโลก
เปิดอ่าน 10,682 ครั้ง

ฮวงจุ้ยบ้านของคนเกิดปีต่าง ๆ
ฮวงจุ้ยบ้านของคนเกิดปีต่าง ๆ
เปิดอ่าน 14,041 ครั้ง

กินอาหารเร็วเป็นเบาหวานได้ง่าย ชาวโลกพากันป่วยกันขนานใหญ่
กินอาหารเร็วเป็นเบาหวานได้ง่าย ชาวโลกพากันป่วยกันขนานใหญ่
เปิดอ่าน 11,281 ครั้ง

มาดูกัน 5 วิธีปรับโฉมระบบเผาผลาญ
มาดูกัน 5 วิธีปรับโฉมระบบเผาผลาญ
เปิดอ่าน 12,709 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ