เครื่องบินพระที่นั่งตามคำอธิบายในราชาศัพท์หมายถึงยานพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์ทรง หรือประทับ เพื่อเสด็จพระราชดำเนินในพระราชกรณียกิจต่างๆโดยกล่าวถึงเครื่องบินทั้งประเภทใบพัด ไอพ่นและเฮลิคอปเตอร์ในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ต่างๆ ให้ต่อท้าย คำว่า "พระที่นั่ง"โดยใช้คำต่อท้ายเช่น "เครื่องบินพระที่นั่ง" และ"เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง" โดยคำว่า "พระที่นั่ง" ใช้เฉพาะยานพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมารและสมเด็จพระบรมราชกุมารี ส่วนเจ้านายพระองค์อื่นใช้คำว่า"ที่นั่ง" แทนคำว่า"พระที่นั่ง"
ย้อนกลับไปเมื่อปี พศ 2490 กองทัพอากาศได้ทำการจัดหาเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 หรือ C47Dagota เข้าประจำการและมีเครื่องบินส่วนหนึ่งน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเพื่อทรงใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรในท้องถิ่นทุรกันดาร ทั่วประเทศนับแต่ปีนั้น(2490)จนถึงปัจจุบันนี้กองทัพอากาศได้น้อมเกล้าฯถวายเครื่องบินหลายแบบซึ่งประกอบไปด้วย C47, C54, C123B/K Avro748 Merlin4, Boeing 737-200/300/400 และAirbus 310
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเครื่องบินที่มีความเหมาะสมที่จะบรรจุเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะทดแทนเครื่องบินแบบเก่าคือ จะต้องมีสมรรถนะ สูง สามารถตอบสนองต่อภารกิจและมีความจุของลำตัวในห้องโดยสารไม่น้อยไปกว่า เครื่องบินราชพาหนะลำเดิม สามารถทำการร่อนลงจอดได้ทุกสนามบินในประเทศ ต้องมีอุปกรณ์สื่อสารและเครื่องช่วยเดินอากาศที่ทันสมัย ต้องเป็นเครื่องบินที่มีสายการผลิตยาวนานและต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน มีความแพ่รหลายในการใช้งานและเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับ ในวงการการบินพลเรือนของโลก จากการคัดเลือกของกองทัพอากาศทำให้เครื่องบินBoeing 737-800 กลายมาเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะลำใหม่ล่าสุด เนื่องจากมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ของกองทัพอากาศที่ต้องการมากที่สุด อีกเหตุผลหนึ่งก็คือนักบิน เจ้าหน้าที่ประจำเครื่องและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงของกองทัพอากาศมีความชำนาญ กับเครื่องบินในตระกูล Boeing 737เป็นอย่างดี
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเจิมเครื่องบินพระที่นั่ง Boeing 737-800 ซึ่งเป็นเครื่องบินพระที่นั่งลำใหม่ที่กองทัพอากาศน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เนื่องในโอกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ60ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงค์ทุกพระองค์ได้ทรงงานหนักอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสภาพความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้ดีขึ้นในทุกๆด้าน โดยการเสด็จไปเยี่ยมเยือนประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาศในชนบทที่ห่างไกล จึงถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ กองทัพอากาศได้มีโอกาศสนองเบื้องพระยุคลบาท ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่อานาประชาราษฏร์ในพื้นที่ต่างๆทั่วราชอาณาจักร ในการสนองพระราชกรณียกิจโดยจัดเครื่องบินพระราชพาหนะสำหรับใช้ในการเสด็จ พระราชดำเนินไปประกอบพระราชกรณียกิจในพื้นที่ต่างๆตลอดมา และนำมาซึ่งความภาคภูมิใจสูงสุดของผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ถวายพระบรมวงศานุ วงค์ทุกพระองค์ วันที่20 เมษายน 2550 เครื่องบิน Boeing 737-800 หมายเลขเครื่อง 55-555 ของกองทัพอากาศไทยที่จัดซื้อจากบริษัท Boeing สหรัฐอเมริกาบินเดินทางมาจากเมืองซีแอตเทิล มลรัฐวอชิงตันถึงยังสนามบินของกองบัญชาการกองทัพอากาศที่ดอนเมือง หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเริ่มศึกษาเรียนรู้หาประสบการณ์ ในแต่ละหน้าที่ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้มากที่สุด
Boeing 737-800 เป็นอากาศยานพานิชย์ในตระกูล 737 ของ Boeing รุ่น NG หรือ Next Generation โดยเริ่มเปิดตัวออกสู่สาธารณะชนเมื่อปีพศ 2537 หลังจากเครื่องต้นแบบเสร็จสิ้นการทดสอบและผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากคณะ กรรมการความปลอดภัยในการคมนาคมหรือ NTSB (National Transportation Safety Bureau)และสมาพันธ์การบินนานาชาติหรือ FAA (Federal Aviation Administration) เสร็จเรียบร้อยแล้วแล้วทำให้เป็นที่ต้องการของสายการบินต่างๆทั่วโลกจนถึงปี 2549มียอดสั่งซื้อรวมทั้งหมด 1940ลำโดยบริษัท Boeing ได้ทยอยส่งมอบเครื่องบิน 737-800 ให้กับลูกค้ากว่า 70 สายการบินและหน่วยงานของรัฐบาลไปแล้วมากกว่า 1000ลำ การออกแบบของเครื่องบิน Boeing 737-800 มีการนำเอาเทคโนโลยีโครงสร้างปีกแบบใหม่มาใช้ ทำให้ตัวเครื่องมีพื้นที่ในปีกเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลต่อการบรรจุเชื้อเพลิงปริ มาณมากๆจึงทำให้มีพิสัยบิน(ระยะทำการบิน)ไกลขึ้น และรูปแบบของแอร์ฟลอยด์ที่ล้ำยุคส่งผลต่อความเร็วเดินทางที่เพิ่มขึ้นโดย สามารถบินด้วยความเร็วเดินทางได้ถึงมัค 0.785 หรือประมาณ 530 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าเครื่อง737รุ่นก่อนหน้านี้ที่มีความเร็วเดินทางมัค 0.745 เครื่องบิน Boeing 737-800 มีเพดานบินสูงสุด 41,000 ฟุต ในขณะที่เครื่องบินคู่แข่งอย่าง Airbus A320 มีเพดานบินสูงสุดที่ 39,000 ฟุต เทคโนโลยีแบบใหม่ในการสร้างปีกแบบมีปีกเล็กที่บริเวณส่วนปลายสุดของปีก (Wingler)ที่โค้งงอและชี้ขึ้น นอกจากจะมีผลทำให้บินมีพิสัยไกลขึ้นแล้วยังสามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ถึงร้อยละ 3.5 ในส่วนของปีกเล็กที่กระดกงอขึ้นบริเวณส่วนปลายสุดของปีกนี้ บริษัท Boeing ผู้ผลิตได้ทำการติดตั้งให้โดยมิได้คิดมูลค่าแต่อย่างใด ในส่วนของแผงควบคุมการบินของเครื่องบินพระที่นั่งลำนี้ ได้มีการออกแบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดโดยใช้เทคโนโลยีของจอรุ่นใหม่ล่าสุดแบบจอ แบบชนิดเดียวกันกับที่มีใช้อยู่ในเครื่องบินโดยสารพิสัยบินไกลรุ่น Boeing 777
ในส่วนของเครื่องยนต์ของ Boeing 737-800 พระราชพาหนะลำใหม่นี้ กองทัพอากาศทำการเลือกเครื่องยนต์ต้นกำลังของบริษัท CMFI รุ่น CFM56-7 และบริษัทเครื่องยนต์อากาศยานแห่งนี้เป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนของ GE จากสหรัฐอเมริกาและ Snecma ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องยนต์ของอากาศยานที่มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือมายาวนาน เครื่องยนต์รุ่น CFM 56-7เป็นเครื่องยนต์ที่มีความปลอดภัยสูง ทำการซ่อมบำรุงได้ง่ายเหมือนกับเครื่องยนต์สมัยใหม่ทั่วไป ระดับความดังของเสียงเครื่องยนต์อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยด้านเสียง ไม่ส่งผลกระทบในเรื่องมลภาวะทางเสียงต่อชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับสนามบิน
การตกแต่งภายในของเครื่องบินพระที่นั่งเครื่องนี้ นอกจากจะเป็นการถวายความปลอดภัยสูงสุดแด่องค์พระประมุขของเราชาวไทยแล้ว ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อประชาชน ชาวไทยทุกคน กองทัพอากาศจึงให้ความสำคัญกับการตกแต่งภายในเครื่องบิน โดยการตกแต่งห้องโดยสารภายในทั้งหมดด้วยความปราณีตบรรจงให้ออกมาสวยงามและสม พระเกียรติ พร้อมกับความสะดวกสบายในการประทับและพักผ่อนพระอิริยาบถ พร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆเช่น อุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พร้อมมูล การออกแบบภายในกองทัพอากาศได้มอบให้บริษัท Greenpoint Technologies Inc. ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบภายในของเครื่องบินโดยสารมากว่า 20 ปี โดยมีผลงานเป็นเครื่องบินพระที่นั่งของพระประมุขในประเทศต่างๆรวมไปถึง เครื่องบินประจำตัวของประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา โดยการออกแบบภายในทั้งหมดของ Boeing 737-800 เครื่องบินพระที่นั่งลำใหม่นี้มีการกำหนดการติดตั้งอุปกรณ์ทุกชนิด เพื่อความถูกต้องในเรื่องของวัสดุที่ใช้ทำ การสร้างและการใช้งานอย่างเหมาะสม กองทัพอากาศได้เรียนเชิญปรึกษาสมุหราชองค์รักษ์เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย และความสมพระเกียรติ นอกจากนี้กองทัพอากาศยังได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทการบินไทย จำกัดมหาชนที่ช่วยดูแลเกี่ยวกับการกำหนดและเลือกอุปกรณ์ในส่วนของการบริการ และการซ่อมบำรุงอีกด้วย
ห้องประทับหรือ Royal Compartment กองทัพอากาศได้เรียนเชิญอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผ้าไทยและผ้าโบราณตลอดจนศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับอาจารย์สาคร โสภาและอาจารย์วิโรจน์ กล่อมมานพ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุธิจากกรมศิลปากรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมฝาผนัง ดำเนินการในการวาดรูปจิตรกรรมไทยจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนกในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมาวาดไว้ในฉากกั้นห้องโดยสารจำนวนสองภาพ ลงบนวัสดุมาตรฐานและได้การรับรองจาก FFA นอกจากนี้ยังมีการสร้างตราสัญลักษณ์ฉลองครองสิริราชสมบัติ 60 ปีโดยอาจารย์ สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างจากกรมศิลปากรซึ่งเป็นผู้ออกแบบและดำเนินการสร้าง ภายในห้องโดยสารหรือห้องประทับ วัสดุต่างๆที่เดิมถูกออกแบบเป็นไม้วอลนัท ทางกองทัพอากาศจึงได้ขอเปลี่ยนเป็นไม้สักทอง ซึ่งเป็นไม้ที่ประชาชนชาวไทยภาคภูมิใจ ไม้สักทองทั้งหมดที่ใช้ในการตกแต่งถูกคัดเลือกแต่ไม้ที่มีคุณภาพสูงสุดโดย องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งไม้สักทองทั้งหมดไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อนำขึ้น ติดตั้งและประดับบนเครื่องบินพระที่นั่งลำนี้
ความภาคภูมิใจสูงสุด ของผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการบินในประเทศไทยคือได้ถวายการรับใช้ในการ เสด็จพระราชดำเนินทางอากาศด้วยเครื่องบินพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงค์ทุกพระองค์ในการเสด็จ ไปประกอบพระราชกรณียกิจยังพื้นที่ต่างๆแม้ในบางพื้นที่รถยนต์ยังไม่สามารถ เข้าไปถึงได้โดยนอกจากจะบรรจุเครื่องบิน Boeing 737-800 ลำใหม่ล่าสุดเข้ากระจำการแล้ว คณะรัฐมนตรีได้จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งแบบ S92A อีก 3เครื่องโดยให้ทางกองทัพอากาศเป็นผู้ดูแลและเตรียมการในการซื้อเฮลิคอปเตอร์ แบบ 10 ที่นั่งแบบ S92Aโดยการลงนามระหว่าง พลอากาศเอกไพศาล สีตบุตร และนายโทมัส ริชลิก ผู้แทนจำหน่ายจากบริษัทซิกอร์สกี้ (Sikorsky International Operations Inc.) ที่สำนักงานของบริษัทในประเทศเกาหลีใต้เมื่อเร็วๆนี้ การจัดหาเครื่องบินพระที่นั่งรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง Boeing 737-800 ที่กองทัพอากาศจัดซื้อเข้ามาประจำการในฝูงบินพระที่นั่งมีมูลค่าประมาณ 3100 ล้านบาทซึ่งในขณะนี้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยและพร้อมขึ้นบินเพื่อถวายการรับ ใช้ให้กับองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ใน ขณะที่ทรงประทับให้ได้รับความสะดวกสบายในทุกพระราชอริยาบทของการเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพสกนิกร ชาวไทยทุกคน
ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 6 ธันวาคม 2552