Advertisement
❝ a href="http://www.dek-d.com/content/all/18212/pic/f.gif" target="_blank" title="เด็กดื้อไม่มี มีแต่ผู้ใหญ่ดื้อ">เด็กดื้อไม่มี มีแต่ผู้ใหญ่ดื้อ ❞
<a href="http://www.dek-d.com/content/all/18212/
สสส.ผนึกภาคี เปิดตัวโครงการ “เปิดพื้นที่หัวใจวัยโจ๋” ชู สโลแกน“เด็กดื้อไม่มี มีแต่ผู้ใหญ่ดื้อ” เริ่มแล้วโรดโชว์ 20 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
สสส. ผนึกภาคี เปิดตัวโครงการ “เปิดพื้นที่หัวใจวัยโจ๋” จัดโรดโชว์ 20 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เริ่มแล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 11 ธันวาคม 2552 เพื่อเติมความเข้มแข็งทางใจ และสร้างความเข้าใจระหว่างวัยรุ่นและผู้ใหญ่ในสังคม พร้อมชวนเยาวชนอายุ 13 - 17 ปี ส่งวิดีโอคลิปเข้าประกวดชิงเงินรางวัล 1 แสนบาท ส่งผลงานได้ที่ www.dekdue.com
นายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต และผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส. เปิดเผยว่า กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดให้มี โครงการสื่อสารสาธารณะเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสังคมไทย “เปิดพื้นที่หัวใจวัยโจ๋” โดยชูสโลแกนว่า “เด็กดื้อไม่มี มีแต่ผู้ใหญ่ดื้อ” เพื่อสื่อกับพ่อแม่ ครอบครัวและสังคมเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของเด็ก ให้เด็กได้ค้นหาตัวตน ได้ทำสิ่งดีๆ ที่ตัวเองรู้สึกภาคภูมิใจ
โครงการ “เปิดพื้นที่หัวใจวัยโจ๋” จึงได้จัดอบรมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ใน 20 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ โดยทีมวิทยากรจะดำเนินการถอดรหัส สำรวจ ความคิดความรู้สึกของวัยรุ่น ให้ได้รู้จักตัวตนของตัวเอง เกิดความมั่นใจพร้อมเผชิญกับชีวิตในโลกของความเป็นจริง สามารถแยกแยะสิ่งที่มีโทษ มีประโยชน์ รู้ว่าสิ่งใดควรและไม่ควรกระทำ เมื่อตระหนักถึงสิ่งดังกล่าวแล้วก็จะให้ผู้ร่วมอบรมถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของการผลิตวิดีโอคลิปแบบง่ายๆ
พร้อมกันนี้ ยังเปิดรับผลงานวิดีโอคลิป ความยาว ประมาณ 1 – 3 นาที จากผู้มีอายุระหว่าง 13-17 ปี หรือกำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาหรือเทียบเท่า จากทั่วประเทศ เพื่อเข้าร่วมประกวดแข่งขัน ชิงเงินรางวัลรวม 1 แสนบาท ผู้สนใจค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dekdue.com/ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2553 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สุรางค์ ศิริมหาวรรณ 098 115 1866 สุนิสา ช่างหลอม 086 085 6433
นพ.ประเวช กล่าวต่อว่า ปัญหาค่านิยมและพฤติกรรมของเยาวชนที่รับรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด เพศสัมพันธ์ ความรุนแรง มีสาเหตุร่วมกัน คือ สุขภาพจิตของเยาวชน ผลการสำรวจสุขภาพจิตคนไทยปี 2552 พบว่า เยาวชนวัย 15-24 ปี มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุด เมื่อเทียบกับวัยอื่น ๆ และหนึ่งในสามของเยาวชนไม่มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมอารมณ์ได้ เมื่อมีเหตุการณ์คับขันหรือร้ายแรงเกิดขึ้น นอกจากนี้ เยาวชนยังเป็นกลุ่มอายุที่มีความสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นน้อยที่สุด
การแก้ปัญหาเยาวชนส่วนใหญ่ มักจะเป็นความพยายามควบคุมจากภายนอก เช่น การห้าม หรือ การทำโทษ แต่สิ่งที่ผู้ใหญ่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเพียงพอ คือ การเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ลองคิด ลองทำ ลองผิด ลองถูก ในบรรยากาศของการเรียนรู้ เปิดใจรับ และมีการวางขอบเขตที่เหมาะสม เพราะคนเราจะเรียนรู้และเข้าใจชีวิต ผ่านประสบการณ์จริงจากการลงมือทำ มากกว่าการเรียนจากตำรา หรือทำตามคำบอกเล่าแต่เพียงอย่างเดียว“ผู้ใหญ่ส่วนมากจะตัดสินความถูกผิด และไม่ยอมเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของเด็ก ส่งผลให้เด็กขาดพื้นที่ในการค้นหาตัวเอง และขาดโอกาสในการได้ทำสิ่งดี ๆ ที่ตนเองจะรู้สึกภาคภูมิใจ จึงเป็นที่มาของคำขวัญว่า เด็กดื้อไม่มี มีแต่ผู้ใหญ่ดื้อ เพื่อสื่อกับสังคมในเรื่องนี้ โดยได้จัดทำโครงการเปิดพื้นที่หัวใจวัยโจ๋ เพื่อเปิดพื้นที่ในการแสดงออกให้กับเยาวชน และเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างเยาวชนและผู้ใหญ่ในสังคมให้มากยิ่งขึ้น” นพ.ประเวช กล่าวในตอนท้าย
pic/f.gif" target="_blank" title="เด็กดื้อไม่มี มีแต่ผู้ใหญ่ดื้อ">เด็กดื้อไม่มี มีแต่ผู้ใหญ่ดื้อ</a>
วันที่ 5 ธ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,480 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,219 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,867 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,870 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,491 ครั้ง |
|
|