กฎหมายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน องค์กรในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๑.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๓๘ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑. กำกับดูแล สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ดูว่าสถานศึกษาได้ปฏิบัติตามหน้าที่หรือไม่ ในการกำกับจะต้องปล่อยให้สถานศึกษาปฏิบัติงานตามหน้าที่ไปก่อน ไม่มีอำนาจสั่งการได้ แล้วดูว่าการปฏิบัตินั้นเป็นไปตามหน้าที่หรือไม่ ปฏิบัติได้ครบหรือยัง มีหน้าที่ใดยังไม่ได้ปฏิบัติ มีการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ถ้าสถานศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและได้ครบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ก็ถือว่าสถานศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ถ้าไม่ได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติแต่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ที่มีหน้าที่กำกับมีหน้าที่ทักท้วงและรายงานให้ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานทราบเพื่อจะได้สั่งการต่อไป
ผู้มีหน้าที่กำกับ มีหน้าที่ดูว่าสถานศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบหรือไม่ ถ้าชอบแล้วก็ไม่มีหน้าที่พิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ ต่อไปอีก
๒. จัดตั้ง ยุบ หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓. ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา
๔. ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
๕. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกิอบการ และสถาบันสังคมอื่น ที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา ๔๐ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทำหน้าที่ดังนี้
๑. กำกับ สถานศึกษา คือ ดูว่าสถานศึกษามีการปฏิบัติหน้าที่โดยครบถ้วนหรือไม่ และมีการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่ครบหรือไม่ชอบก็สามารถทักท้วงและรายงานหน่วยงานบังคับบัญชาเพื่อสั่งการต่อไปได้ แต่ไม่มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องความเหมาะสม หรือสั่งการ
๒. ส่งเสริมกิจการของสถานศึกษา
มาตรา ๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา
มีหน้าที่ดังนี้
๑. จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
๒. ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
๓. มีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
มาตรา ๕๗ ให้หน่วยงานทางการศึกษา
๑. ระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยนำประสบการณ์ความรอบรู้ ความชำนาญการ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลดังกล่าวมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา
๒. ยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
มาตรา ๕๙ ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
๑. มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษาใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุและที่เป็นทรัพย์สินอื่น
๒. จัดหารายได้จากบริการของสถานศึกษาและเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบาย วัตถุประสงค์และภารกิจหลักของสถานศึกษา
๒. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖
มาตรา ๓๔ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
มีหน้าที่ในการออกระเบียบคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ในการแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาและกำหนดอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา
มาตรา ๓๕ สถานศึกษาที่เป็นโรงเรียน มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๓๖ คณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ ในการกำกับ ดูแล จัดตั้ง ยุบ หรือเลิกสถานศึกษา ……ฯลฯ
มาตรา ๓๗ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๑.ทำหน้าที่ในการดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามที่กำหนดในมาตรา ๓๖
๒. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาตามกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
๓. มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารและการจัดการศึกษา และพัฒนาสาระของหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของ สพฐ.
๔. อำนาจหน้าที่ในการพัฒนางานด้านวิชาการและจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกับสถานศึกษา
๕. รับผิดชอบในการพิจารณาแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๖. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
๗. มีผอ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
๘. ในสำนักงานให้มี รอง ผอ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรองจาก ผอ.ช่วยปฏิบัติราชการ
มาตรา ๓๘ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีหน้าที่
๑. กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา
มาตรา ๓๙ สถานศึกษา มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้
๒. ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑) บริหารกิจการของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของลถานศึกษา รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
๒) ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ
๓. เป็นผู้แทนของสถานศึกษา ในกิจการทั่วไป การทำนิติกรรมสัญญาในราชการของสถานศึกษา ตามวงเงินงบประมาณที่สถานยศึกษาได้รับ ตามที่ได้รับมอบอำนาจ
๔) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
๕) อำนาจหน้าที่ในการอนุมัติประกาศนียบัตร และวุฒิบัตรของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
๖) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย จาก รมต.ปลัด เลขาธิการ ผอ.เขต และงานอื่นที่กระทรวงมอบหมาย
มาตรา ๔๕ อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งที่พึงจะปฏิบัติหือดำเนินการตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งใด หรือมติ ครม. ผู้มีอำนาจอาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้
๑. ผอ.เขต มอบอำนาจให้ข้าราชการในสำนักงานเขต หรือ ผอ.สถานศึกษา ได้ตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนด และมอบให้บุคคลอื่นตามที่ ครม.กำหนด
๒. ผอ.สถานศึกษา อาจมอบอำนาจให้ข้าราชการในสถานศึกษา ได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่ กำหนด และมอบให้บุคคลอื่นตาม ครม.กำหนด
มาตรา ๔๖ เมื่อมีการมอบอำนาจโดยชอบ ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น และจะมอบให้บุคคลอื่นต่อไปไม่ได้
มาตรา ๔๗ เมื่อมอบอำนาจแล้ว ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่กำกับติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ และให้มีอำนาจแนะนำและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้
มาตรา ๕๓ กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผอ.เขต หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ รอง ผอ.รักษาราชการแทน
มาตรา ๕๔ ในกรณีไม่มี ผอ.สถานศึกษา หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ รอง ผอ.รักษาาราชการแทน ถ้ามีรอง ผอ.หลายคน ให้ ผอ.เขตแต่งตั้งรอง ผอ.คนใดคนหนึ่ง รักษาราชการแทน กรณีไม่มีรอง ผอง หรือ มีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ ผอ.เขต แต่งตั้งข้าราชการในสถานศึกษา คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
๓. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗
มาตรา ๒๓ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑. พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล รวมทั้งการกำหนดจำนวน และอัตราตำแหน่งและเกลี่ยอัตรากำลังให้สอดคล้องกับ นโยบาย การบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด
๒. พิจารณาให้ความเห็นชอบ การบรรจุและแต่งตั้ง
๓. ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบ
๔. พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์
๕. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ
๖. กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการบริหารงานบุคคล
๗. จัดทำ และพัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการ
๘. จัดทำรายงานประจำปี ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เพื่อเสนอ ก.ค.ศ.
๙. พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกาาที่ไม่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของผู้บริหารของหน่วยงานการศึกาา
๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศมอบหมาย
มาตรา ๒๔ ผอ.เขต เป็นผู้บริหารใน สำนักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชกา ในเขตพื้นที่ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑. รับผิดชอบในการปฏิบัติงานราชการที่เป็นอำนาจและหน้าที่ ของ อ.ก.ค.ศ.เขต และมอบหมาย
๒. เสนอแนะการบรรจุและแต่งตั้ง และการบริหารงานบุคคลในเรื่องอื่นที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขต
๓. พิจารณาเสนอความดีความชอบ
๔. จัดทำแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการ
๕. จัดทำทะเบียนประวัติ
๖. จัดทำมาตรฐานคุณภาพงาน กำหนดภาระงานขั้นต่ำ และเกณฑ์การประเมินผลงาน สำหรับข้าราชการของสำนักงานเขต
๗. ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคล และจัดทำรายงานการบริหารงานบุคคล เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขต เพื่อเสนอ ก.ค.ศ. ต่อไป
๘. ปฏิบัติงานอื่นตามที่บัญญัติในกฎหมายนี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ.มอบหมาย
มาตรา ๒๖ คณะกรรมการสถานศึกษา
มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา ดังนี้
๑. กำกับ ดูแล การบริหารงานบุคคลให้สอดคล้อง กับ นโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่ ก.ค.
ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขต กำหนด
๒. เสนอความต้องการจำนวน และอัตราตำแหน่งของข้าราชการ เพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพิจารณา
๓. ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ต่อผู้บริหารสถานศึกษา
๔. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พรบ.นี้ กฎหมายอื่น หรือตาม อ.ก.ค.ศ. เขต กำหนด
มาตรา ๒๗ ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชา และมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
๑. ควบคุม ดูแล ให้การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสอดคล้องกับ นโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขต กำหนด
๒. พิจารณาเสนอความดีคงวามชอบ
๓. ส่งเสริม สนับสนุน ข้าราชการ ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๔. จัดทำมาตรฐาน ภาระงานของข้าราชการ
๕. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการ เพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขต
๖. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พรบ.นี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ อ.ก.ค.ศ.กำหนด หรือคณะกรรมการสถานศึกษากำหนด
มาตรา ๒๙ การดำเนินการตาม พรบ.นี้ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยยึดถือระบบคุณธรรม ความเสมอภาคระหว่างบุคคล และหลักการได้รับการปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
มาตรา ๓๕ วัน เวลา ทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการ ของข้าราชการฯ ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด
มาตรา ๗๒ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการฯ
มาตรา ๗๓ การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการฯ ให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา
มาตรา ๗๖ หน่วยงานทางการศึกษามีหน้าที่จัดสวัสดิการให้แก่ข้าราชการฯ
มาตรา ๗๙ ให้ผู้บังคับบัญชา ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และมีหน้าที่พัฒนาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
มาตรา ๘๑ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา