บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนหลังเรียนในการใช้ชุดฝึก และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2550 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม แผนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 ชุดการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนจำนวน 10 ข้อ มีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ 0.20 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.27 – 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.36/86.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.8000 หมายความว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.00 แสดงว่าการสอนโดยใช้ชุดการสอนทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก