คำขวัญวันเอดส์โลก
คำขวัญวันเอดส์โลก
Red Ribbon (โบว์แดง)
ภาพสัญลักษณ์ วันเอดส์โลก
วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้เป็นวันเอดส์โลก โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ
๑. เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อและการเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์
๒. เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ
๓. เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่างๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
๔. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ
๕. เพื่อเผลแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
รวมคำขวัญวันเอดส์โลก
คำขวัญวันเอดส์โลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2551 (1988-2008)
(ตัวอย่างคำขวัญวันเอดส์โลกภาษาไทย , คำขวัญวันเอดส์โลกภาษาอังกฤษ)
(1988) พ.ศ. 2531
|
Communication about AIDS เอดส์ป้องกันได้ หากร่วมใจกันทั่วโลก |
(1989) พ.ศ. 2532 | Importance of Youth in the AIDS Epidemic เมตตาธรรมค้ำจุนโลก ช่วยผู้ตกเป็นเหยื่อเอดส์ |
(1990) พ.ศ. 2533 | Women are the Key to achieving health for all สุขภาพดีไม่มีเอดส์ สตรีเพศเป็นแกนนำ |
(1991) พ.ศ. 2534 | Sharing the Challenge ร่วมมือ ร่วมใจ ต้านภัยเอดส์ |
(1992) พ.ศ. 2535 | AIDS : A Community Commitment เอดส์เป็นปัญหาของทุกคน ประชาชนต้องร่วมแก้ไข |
(1993) พ.ศ. 2536 | Time to Act จริงจัง จริงใจ ขจัดภัยเอดส์ |
(1994) พ.ศ. 2537 | AIDS and the Family : Family Takes Care ครอบครัวทั่วไทย ห่วงใยปัญหาเอดส์ ไม่ปฏิเสธความช่วยเหลือ |
(1995) พ.ศ. 2538 | Share Right , Share Responsibility เคารพสิทธิ์ รับผิดชอบ มอบน้ำใจ สังคมไทยปลอดเอดส์ |
(1996) พ.ศ. 2539 | One World , One Hope โลกนี้ยังมีหวัง รวมพลังหยุดยั้งเอดส์ |
(1997) พ.ศ. 2540 | Children Living in a world with AIDS สร้างสรรค์โลกใหม่ ให้เด็กไทยไร้เอดส์ |
(1998) พ.ศ. 2541 | Force for change world Aids campain with young people คนรุ่นใหม่ ร้อยใจ รวมพลัง หยุดยั้งเอดส์ |
(1999) พ.ศ. 2542 | Listen , Learn , Live รู้เขา รู้เรา รู้เท่าทันเอดส์ |
(2000) พ.ศ. 2543 | Men make a difference เอดส์ลดหรือเพิ่ม เริ่มที่ผู้ชาย |
(2001) พ.ศ. 2544 | I care….Do you? เอดส์ลดแน่ ถ้าคุณร่วมแก้ไข |
(2002) พ.ศ. 2545 | Stigma and Discrimination - Live and Let Live ทุกชีวิตมีคุณค่า โปรดอย่าตัดสินด้วยเอดส์ |
(2003) พ.ศ. 2546 | Stigma and Discrimination - Live and Let Live ทุกชีวิตมีคุณค่า โปรดอย่าตัดสินด้วยเอดส์ |
(2004) พ.ศ. 2547 | Woman, girls, HIV and AIDS เยาวชนรุ่นใหม่… เข้าใจเรื่องเพศ…ร่วมป้องกันเอดส์ |
(2005) พ.ศ. 2548 | Stop AIDS Keep the promiss เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา |
(2006) พ.ศ. 2549 | Stop AIDS Keep the promiss เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา |
(2007) พ.ศ. 2550 | Stop AIDS Keep the promiss เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา |
(2008) พ.ศ. 2551 | Stop AIDS Keep the promiss เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา |
ขอบคุณที่มาของบทความ ............... ครูติ๋ว
รวมคำขวัญวันเอดส์โลก
วันต้านเอดส์โลก วันเอดส์โลก
1 ธันวาคม ของทุกปี
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเอา วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปีเป็น"วันโลกต้านเอดส์" (WORLD AIDS DAY) และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ถือว่า เป็นวันโลกต้านเอดส์ครั้งแรก
ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2532 ถือว่าเป็นวันโลกต้านเอดส์ครั้งแรก มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์หลายรูปแบบพร้อมกันทั่วโลก
โดยตั้งความหวังไว้ว่า
1.จะพยายามหยุดยั้งโรคเอดส์
2.ให้ความเห็นใจ ห่วงใย ต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์
3.ให้ทุก ๆ คนได้รู้เรื่องโรคเอดส์
จากการที่องค์การอนามัยโลก ได้ให้ความสำคัญของโรคเอดส์ดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า โรคเอดส์เป็นโรคที่มีความรุนแรง มีผลกระทบต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคมและต่อประเทศชาติ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากมาย
โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome) AIDS
A = Acquired หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นภายหลังไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด หรือไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
I = Immune หมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
D = Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง ความเสื่อม
S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการของโรค ซึ่งมีอาการหลายลักษณะตามระบบต่าง ของร่างกาย
โรคเอดส์ (AIDS) หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอชไอวี (HIV) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้กันต่ำลงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกไวรัสทำลายและเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาซ้ำเติมในภายหลัง (เรียกว่าโรคฉวยโอกาส) เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ
เชื้อไวรัสเอดส์นี้มีหลายสายพันธุ์
สายพันธุ์หลักดั้งเดิม ได้แก่ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา กลาง
สายพันธุ์เอชไอวี-2 (HIV-2) แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนั้นยังมีสายพันธุ์ย่อยอื่น ๆ อีกมากมายตามเวลาที่ผ่านไป ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไวรัสเอดส์นี้สามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย
อาการติดเชื้อเอดส์แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1
กลุ่มผู้ที่ตรวจพบเชื้อไวรัสเอดส์แต่ยังไม่ปรากฎอาการผิดปกติแต่อย่างใด บุคคลกลุ่มนี้จัดเป็นพาหะนำโรคซึ่งสามารถแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้อย่างไม่จำกัดจำนวนนับว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญ เพราะผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เป็นเวลานาน หากไม่มีการตรวจพบเชื้อจะไม่มีทางทราบได้เลย ว่าบุคคลนี้มีเชื้อไวรัสเอดส์อยู่ในร่างกาย จนกว่าจะมีอาการป่วยปรากฎออกมาให้เห็น
ระยะที่ 2
เป็นอาการที่พบได้ก่อนที่จะปรากฎอาการป่วยเป็นโรคเอดส์ (AIDS-Relate Complex) หรืออาจเรียกว่า กลุ่มอาการ ARC หมายถึง กลุ่มที่มีอาการ จะสังเกตได้จากอาการเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุในระยะนี้สามารถตรวจพบภูมิคุ้มกันในเลือดของผู้มีอาการนำ หรืออาจจะสังเกตลักษณะของอาการได้ดังนี้
1.มีไข้สูงเกิน 37.8 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน
2.น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 4.5 กิโลกรัม หรือมากว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเดิมภายใน 2 เดือน
3.ต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายหลายแห่งบวมโตนานกว่า 3 เดือน
4.อุจจาระร่วงเรื้อรังนาน 1-3 เดือน
5.เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีเหงื่อออกตอนกลางคืน และพบว่าร้อยละ 20 ของกลุ่ม ARC จะมีอาการลุกลามไปเป็นโรคเอดส์ในเวลาต่อมา
6.แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งจะไม่มีเรี่ยวแรงและทำงานไม่ประสานกัน
ระยะที่ 3
เป็นระยะที่กลุ่มผู้ป่วยจะปรากฎอาการของโรคเอดส์ซึ่งอาการในระยะนี้แบ่งตามอาการที่ปรากฏออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือการติดเชื้อชนิดฉวยโอกาส และอาการของโรคมะเร็ง
กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ สามารถแยกออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.กลุ่มมีเพศสัมพันธ์ผิดธรรมชาติหรือสำส่อนทางเพศ เช่น กลุ่มรักร่วมเพศชาย กลุ่มรักต่างเพศ
2.กลุ่มผู้ติดยาเสพติด
3.กลุ่มที่รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด
4.กลุ่มที่ได้รับเลือดจากมารดา
No higher resolution available.
World_Aids_Day_01.jpg
เอดส์โลกในต่างประเทศ2 |
|