Advertisement
ปรับชีวิตให้สมดุล
ทุก 10 ปี
แม้ว่าชีวิตมนุษย์จะหลีกเลี่ยง
โรคภัยไข้เจ็บหรือภาวะความเสื่อม
ของร่างกายไม่ได้
แต่เราก็สามารถปรับปรุงชีวิต
ให้อยู่อย่างมีความสุข
โดยการหาวิธีรับมือ
กับสภาวะการเปลี่ยนแปลง
ตามธรรมชาติในอนาคตได้
20-29 วัยแห่งการบั่นทอนสุขภาพ
เป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างชีวิตวัยเรียนและชีวิตการทำงาน สาวๆ วัยนี้จึงเต็มไปด้วยพลังงานและความกระตือรือร้นต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ รอบตัว จึงไม่น่าแปลกที่การดำเนินชีวิตจะค่อนข้างสมบุกสมบัน เช่น การอ่านหนังสือเรียนจนดึกดื่น
การทำงานจนไม่มีเวลาพักผ่อน หรือแม้กระทั่งร่วมฉลองทุกสุดสัปดาห์กับเพื่อนๆ ด้วยการดื่มและท่องราตรี แม้จะได้เปรียบเรื่องอายุ ร่างกายฟื้นตัวเร็ว แต่ถ้ายังคงใช้ชีวิตแบบสุดขั้วเป็นประจำ ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น
• โรคอ้วน มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหาร fast-food ที่มีไขมันสูง หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลมาก เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน โดยเฉพาะชาหรือกาแฟร้อน-เย็น ที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและคาเฟอีน ซึ่งหากรับประทานมากกว่า 3 แก้วต่อวัน จะมีผลต่อการดูดซึมของวิตามินและเกลือแร่
• การปวดประจำเดือน มักเป็นอาการยอดนิยมของผู้หญิงวัยทำงาน การปวดประจำเดือนเกิดจากหลายสาเหตุตั้งแต่พันธุกรรม วิถีการดำเนินชีวิต ภาวะความเครียดและอาหาร แต่เราสามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบื้องต้น เช่น การงดดื่มชาและกาแฟ การออกกำลังกายเป็นประจำวันละ 30 นาทีประมาณ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ
เลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี6 หรือน้ำมันอีฟนิ่งพรีมโรสก่อนเวลามีประจำเดือน
• รู้จักดูแลถนอมตับที่อาจทำงานหนักเกินไป โดยเฉพาะคนรับประทานอาหารที่มีรสเค็มและมีปริมาณไขมันสูง หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงอาหาร
เหล่านี้และหันไปรับประทานผักผลไม้มากๆ แทน เพื่อเร่งการขับถ่ายของเสียออกจาก
ร่างกาย จากการวิจัยพบว่าการดื่มน้ำบีทรูทคั้นสดๆ จะทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้น
เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยล้างพิษในร่างกายได้ดี
|
30-39 วัยแห่งการเตรียมพร้อมรับมือจากความเสื่อมต่างๆ
หากพูดถึงอายุ เมื่อขึ้นเลข 3 หลายคนรู้สึกเขินหรือบ่ายเบี่ยงที่จะตอบทุกครั้งที่มีคนถาม
อย่างไรก็ตามลักษณะภายนอกที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาถือเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพหรือการดำเนินชีวิตเท่าไรนักหากเปรียบกับความแข็งแรงของร่างกาย ช่วงอายุนี้จึงควรเน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้นและออกกำลังกาย เพื่อฟื้นฟูอวัยวะ ต้านความเสื่อมจากภายในสู่ภายนอก
• ป้องกันโรคกระดูกพรุนก่อนวัย ภาวะมวลกระดูกสูงสุด (peakbone mass)
จะหยุดอยู่ช่วงอายุ 30-35 ปี หลังจากนั้นร่างกายจะรักษาระดับมวลกระดูกไว้คงที่
จนกระทั่งอายุมากขึ้น ร่างกายจะดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกไปใช้ ทำให้กระดูกบาง
และแตกง่าย เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนในอนาคต ดังนั้นช่วงอายุดังกล่าวจึงควร
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก เช่น เต้าหู้ นม โยเกิร์ต ผักใบเขียวปลากระป๋องหรือปลาซาร์ดีนที่รับประทานได้ทั้งกระดูกและผลไม้ต่างๆ
• เพิ่มพลังเมตาโบลิซึม เคยมีรายงานกล่าวว่าทุก 10 ปีที่อายุมากขึ้นน้ำหนักจะเพิ่มประมาณ 5 กิโลกรัม ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกายลดประสิทธิภาพการทำงานลง ประกอบกับยังรับประทานอาหารปริมาณเท่าเดิมและมีวิถีชีวิตเหมือนเดิม ซึ่งหากยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ก็อาจเป็นสาเหตุของโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ดังนั้นวิธีพื้นฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพการเผา-ผลาญพลังงานคือ รับประทานคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนอย่างพอเหมาะ ลดปริมาณไขมันลง เพิ่มผักหรือผลไม้ ในแต่ละมื้อให้มากขึ้น บางคนอาจลองรับประทานอาหารปริมาณครั้งละน้อยๆ แต่รับประทานวันละหลายๆ มื้อ เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร และป้องกันไม่ให้รับประทานอาหารจุบจิบระหว่างมื้อใหญ่ๆ
• เพิ่มพลังให้ผิวสวย ไร้ริ้วรอย ผู้หญิงวัยนี้สามารถฟื้นฟูผิวให้ดูสดใส ไร้ริ้วรอยก่อนวัยด้วยการนอนหลับให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมง ประกอบกับรับประทานผลไม้และผักมากๆ
โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินอีมาก เช่น นม ไข่ ถั่ว ผักโขม มะเขือเทศ เป็นต้น รวมถึงการ
รับประทานน้ำให้ได้วัน 7-8 แก้ว เพื่อเร่งกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ผลัดเซลล์เก่าภายในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทาครีมบำรุงและครีมกันแดด ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดจ้า เพราะจะทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื่น แห้งกร้าน เป็นสาเหตุทำให้มีริ้วรอยก่อนวัย |
40-49 วัยแห่งการปรับตัวเท่าทันโรค
ช่วงนี้ถือวัยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการทำงานภายในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะหมดประจำเดือน (menopause) ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเท่านั้นแต่ยังมีผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจอีกด้วย
• การรับมือจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะหยุดการทำงาน ทำให้มีผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ เช่น ผิวแห้งและแพ้ง่าย เกิดอาการร้อน
วูบวาบ ความดันโลหิตสูง ปวดหัวไมเกรนบ่อยๆ ช่องคลอดแห้งมีอาการคันและแสบ
ภาวะนอนไม่หลับและโรคกระดูกพรุน ทั้งนี้เราสามารถรับมือกับโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยการปรึกษาแพทย์ ขอคำแนะนำในการรับประทานฮอร์โมนทดแทนเพื่อบรรเทาอาการ
ข้างต้น นอกจากนี้ยังต้องหมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ แต่ต้องมี
ใยอาหาร แคลเซียมมากๆ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกเสื่อมมากยิ่งขึ้น โดยการ
รับประทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งประกอบด้วยเอสโตรเจนจากธรรมชาติ เช่น ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ธัญพืชและผักผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
• รับมือกับภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำตำหนิเมื่อเจอผู้หญิงสูงวัยที่หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนว่า "อยู่ในภาวะหมดประจำเดือน" ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ถูกต้อง (ไม่นับนิสัยส่วนตัว) ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้องเผชิญเมื่อถึงวัย แต่เราสามารถควบคุมและจัดการกับอารมณ์แปรปรวนหรือความเครียดนี้ได้ โดยการหากิจกรรมที่ผ่อนคลายจิตใจ เช่น ฟังเพลงเบาๆ ท่องเที่ยวกับครอบครัว พูดคุยปรึกษากับเพื่อน เป็นต้น และที่สำคัญควรงดสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องระวังโรคร้ายอื่นๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำทุกปี |
50-59 วัยแห่งการปรับสมดุลชีวิตสู้โรคภัย
หลายคนในช่วงวัยนี้ประสบภาวะโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ ทั้งนี้แม้ว่าจะรู้อาการของโรคและวิธีการรักษา แต่ก็ยังต้องการความดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพและการควบคุมไม่ให้โรคร้ายแรงขึ้นโดยไม่ประมาท พื้นฐานของการดูแลรักษาไม่ให้โรคกำเริบหรือเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ คือ การทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด การรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะต่อโรคนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น
• โรคเบาหวาน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ควรเน้นผักและผลไม้ที่ไม่มีน้ำตาลมากและให้ใยอาหารสูง ไม่สวมเสื้อผ้าหรือใส่รองเท้าบีบรัดมากเกินไปและดูแลร่างกายไม่ให้เกิดบาดแผล โดยเฉพาะบริเวณเท้า หลังอาบน้ำตอนเย็นทุกวันให้ใช้กระจกส่องฝ่าเท้าเพื่อเช็คว่ามีแผลหรือไม่ หากตรวจพบว่ามีแผลให้รีบทำความสะอาดและเฝ้าระวังไม่ให้แผลรุกราม หรือให้รีบไปพบแพทย์ทันที
• คอเลสตอรอลสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เครื่องในสัตว์
ส่วนหนังและไขมันสัตว์ รวมถึงอาหารทะเลต่างๆ ทั้งนี้สำหรับบางคนที่ต้องรับประทานยาที่แพทย์แนะนำก็ต้องหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ และหมั่นออกกำลังกายเพื่อช่วยการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดให้ดียิ่งขึ้น
• โรคไขข้อ พยายามควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน เพราะจะทำให้กระดูกและข้อแบกรับน้ำหนักมาก ทำให้อาการปวดยิ่งรุนแรงมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การลุกนั่ง นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เน้นประเภทที่ไม่กระเทือนข้อเข่า เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ รำไทเก๊ก ชิกง ฯลฯ |
ที่มา communities.gmember.com/variety/variety_detail.php?content_id=492
ดังนั้นผู้หญิงควรเอาใจใส่ดูแลความสวยงาม และสุขภาพร่างกายไปพร้อมๆ กัน
โดยเริ่มตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ ทั้งนี้หากอายุมากคิดจะกลับไปสุขภาพดีเหมือนเดิม
ย่อมเป็นไปไม่ได้ เป็นสัจธรรมของธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการดูแลตามสภาพ
ของวัยอย่างเหมาะสม สามารถช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้นและมีความสุข |
|
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today
|
วันที่ 30 พ.ย. 2552
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,224 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,463 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,180 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,507 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,227 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,229 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,496 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,688 ครั้ง |
|
|