Advertisement
8ทีมชิงชัย หุ่นกู้ภัย"09
สดจากเยาวชน
ปฤษณา กองวงค์
กลับมาอีกครั้ง กับการเปิดสนามแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย "ไทยแลนด์ เรสคิว โรบอต แชมเปี้ยนชิพ 2009" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเครือซิเมนต์ไทย ร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้น
ล่าสุดได้ผู้เข้าแข่งขัน 8 ทีมสุดท้าย จาก 100 ทีม 64 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยจัดงานเปิดตัวที่อาคารสำนักงานใหญ่ 1 เอสซีจี
ในปีนี้เปิดโอกาสให้ทีมจากต่างชาติร่วมสู้ศึกในประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสนามสุดหิน โดยมี 8 ทีมจากประเทศเจ้าเทคโนโลยีเข้าร่วม คือญี่ปุ่นและอิหร่าน ประเทศละ 2 ทีม เยอรมนี ออสเตร เลีย ออสเตรีย และปากีสถาน ชาติละ 1 ทีม
ขณะที่ทีมจากสหรัฐอเมริกา คู่ปรับเก่าของไทย สิงคโปร์และจีน ส่งลูกทีมเข้าร่วมสังเกต การณ์การแข่งขัน
ถือเป็นการวอร์มอัพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยี ก่อนร่วมศึก เวิลด์ โรโบคัพ เรสคิว 2010 ที่สิงคโปร์
สำหรับ 8 ทีมไทยที่เข้าชิงชัยหนนี้ เริ่มที่ ทีมบาร์ตแล็บ เรสคิว มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สร้างหุ่นขึ้นมาถึง 3 ตัว คือ Teleop III, Teleop IV และ Teleop Alpha
ทีมมินิเมคา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ ส่งหุ่นยนต์แมนวล MiNi Stead และ หุ่นยนต์ออโต้ MiNi Fast ลงสนาม หุ่นทั้ง 2 ตัวนำยางที่ใช้รองขาโต๊ะ ซึ่งมีคุณสมบัติเหนียวหนืดและยืดหยุ่นมาประยุกต์ใช้เป็นตีนตะขาบ ทำให้ปีนป่ายไปได้ทุกสภาพพื้นผิว
1.ทีมงาช้างดำ
2.ทีมไอราป_พีอี
3.ทีมซีอีโอ มิชชั่นโฟร์
4.ทีมมินิเมคา
5.ทีมบาร์ตแล็บ เรสคิว
6.ทีมเมกาตรอน บอต
7.ทีมอินเตอร์เซ็ปเตอร์
8.นอร์ท(กลาง)
9.ทีมซักเซสฟูลลี่ บายเทเลคอม |
ทีมซักเซสฟูลลี่ บาย เทเลคอม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ส่งหุ่นยนต์ลงสนาม 2 ตัวเช่นกัน คือ SUCCES R_10 และ SUCCES R_11 สมรรถนะเป็นอย่างไรสมาชิกขออุบไว้ก่อน
ทีมไอราป_พีอี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รุ่นน้องทีมไอราป_โปร แชมป์เก่าปีที่แล้ว ที่สร้างชื่อคว้าแชมป์โลกสมัยที่ 4 ให้ประเทศไทย ลงสู้ศึกพร้อมกับหุ่นยนต์ 3 ตัว
ทีมงาช้างดำ วิทยาลัยเทคนิคน่าน ส่งหุ่นยนต์อัตโนมัติงาช้างดำ เวอร์ชั่น 3 พลัส และ หุ่นยนต์แมนวลงาช้างดำ เวอร์ชั่น 4 พลัส ที่สามารถสปีดความเร็วในการบุกตะลุยร่วมแข่งขัน พวกเขาไม่ได้คาดหวังไปที่ผลการแข่งขัน บอกเพียงว่ามุ่งหวังประสบการณ์ และ "จะทำให้ดีที่สุด"
ทีมเมกาตรอน บอต วิทยาลัยการอาชีพเวียงสา จ.น่าน นำหุ่นยนต์ร่างใหญ่ โครงสร้างทำจากอะลูมิเนียม ใช้มอเตอร์เกียร์ขับเคลื่อนมาสู้ศึกเพียงตัวเดียว ที่น่าสนใจคือนำสายยางสีส้มมาทำเป็นตีนตะขาบ
ทีมอินเตอร์เซ็ปเตอร์ รุ่นน้องทีมอินดิเพน เดนต์ อดีตแชมป์ประเทศไทยและแชมป์โลก 2 สมัย มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี ซุ่มสร้างหุ่นยนต์ถึง 3 ตัว คือ INSE V18, INSE V20 และ INSE V21 โดยเพิ่มสมรรถนะให้หุ่นแกร่งขึ้นแต่หุ่นทุกตัวไม่มีคีปเปอร์
ทีมซีอีโอ มิชชั่น โฟร์ (CEO Mission IV) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เงียบหายไป 2 ปี โดยหันไปลงมือทำหุ่นยนต์เอกซเรย์และทำลายวัตถุระเบิด EOXD เพื่อใช้ในภาคใต้ ปีนี้หวังเป็นตัว แทนประเทศไทย พร้อมส่งหุ่นยนต์ร่างยักษ์ 3 ตัวลงสู้ศึก โดยติดตั้งแขนกลที่เคลื่อนไหวอิสระ และยืดยาวได้ถึง 180 ซ.ม.
ที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือหุ่นยนต์ CEO Mission VIII ที่สร้างขึ้นใหม่แม้จะมีขนาดเล็กกว่า CEO Mission V แต่มีคีปเปอร์ ที่คีบส่งขวดน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังหยิบจับไข่ไก่ได้โดยไม่ตกแตก
นายนฤภัทร อินชู หรือ นอร์ท จากทีมอินเตอร์เซ็ปเตอร์ กล่าวว่า ความพร้อมของหุ่นยนต์ตอนนี้ยังไม่เต็มที่ ประมาณร้อยละ 90 ส่วนความมั่นใจอยู่ที่ร้อยละ 98 ปีที่แล้วมีประสบการณ์ในเรื่องความผิดพลาด ปีนี้เราเปลี่ยนแผนใหม่ ช่วยกันทำมากกว่าเดิม และเชื่อมั่นว่าน่าจะทำได้ดีกว่าปีที่แล้วมาก ส่วนความหวังถ้าเป็นไปได้อยากสร้างแชมป์สมัย ที่ 3 ให้ปราจีนบุรี
"ทีเด็ดมีแน่นอน ด้วยระบบการสร้างแผนที่อัตโนมัติและแขนกลที่ซอกซอนได้ทุกมุม ส่วนคีปเปอร์ไม่ได้ใส่ ด้วยการแข่งขันเวลา 15 นาที ถ้าคีบขวดน้ำคงเสียเวลาในการค้นหาผู้ประสบภัย"
นอร์ท บอกเล่าถึงการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นพี่ทีมอินดิเพนเดนต์ว่า "รุ่นพี่ไปทำหุ่นยนต์เอ็มเคแล้ว สิ่งที่ฝากมาคือเรื่องทีมเวิร์กเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทำคนเดียวไม่ได้ คนหนึ่งอาจเก่งเครื่องกล อีกคนเก่งคอมพิวเตอร์ เก่งไฟฟ้า เก่งอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมาร่วมมือกัน ถ้าเก่งคนเดียวทำไม่สำเร็จแน่นอน สิ่งนี้พี่ๆ เขาฝากมา"
นายอรัญ แบล็ทเลอร์ หรือ อลัน หัวหน้าทีมไอราป_พีอี (iRAP_PE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่เชื่อว่าหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เหนือกว่ารุ่นพี่ ด้วยมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น กล่าวว่า ตอนนี้คิดว่าประสิทธิภาพของหุ่นยนต์แต่ละทีมน่าจะพอๆ กัน อยู่ที่การฝึกซ้อมมากกว่า ส่วนตัวมั่นใจเต็มร้อย ในการแข่งขันอยากทำให้ได้เต็มที่อย่างที่ซ้อม และหุ่นยนต์ทำงานได้เต็มศักยภาพ
"ทีมจากต่างประเทศก็น่าสนใจ ทีมจากญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ทีมเยอรมนีซึ่งได้ดูข้อมูลในสนามแข่งเวิลด์ โรโบคัพที่ผ่านมา เชื่อว่าเขาคงปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพและน่ากลัวมากขึ้น แต่เราก็เต็มร้อย ผลจะเป็นอย่างไรต้องไปดูกันที่สนามแข่งขันครับ"
ร่วมเป็นกำลังใจให้ความสามารถของเด็กไทยอีกครั้ง 7-10 ธ.ค.นี้ ที่เอ็ม ซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
วันที่ 30 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,217 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 24,191 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,760 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,148 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,626 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,444 ครั้ง |
|
|