ดอกไม้ในวรรณดคี ดอกนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ตามท้องถิ่นที่อยู่ บ้างก็เรียก "ลำเจียกหนู, เตยด่าง, เตยทะเล
“…บุนนาคบานน้อมค้อมผกา รักลารายล้อมสลับสี
ม่วงสนหมู่โศกสารภี ลิ้นจี่ลำเจียกจิกจันทน์…”
รามเกียรติ์ : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ร.1
ชื่ออื่นๆ : ลำเจียกหนู เตยด่าง เตย
วงศ์ : PANDANACEAE
เป็นไม้ต้น สูง 5-6 เมตร ต้นสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน มีหนามแหลมสั้นๆ กระจายทั่วไป
ใบ รูปขอบขนาน ยาว 2 เมตร ขอบหยัก มีหนาม ปลายหนามโค้งไปทางปลายใบ กลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกช่อ เพศผู้และเพศเมียอยู่แยกคนละต้น ดอกเพศผู้ออกตามปลายกิ่งเป็นช่อยาว เพศผู้มีกลิ่นหอมมาก การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด แยกหน่อ ประโยชน์ เป็นไม้ประดับที่มีกลิ่นหอม ดอกมีรสขมแก้โรคในอก ใช้ปรุงยาหอมทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ใช้เคี่ยวน้ำมันทำน้ำมันใส่ผม
ถิ่นกำเนิด เป็นไม้ถิ่นเดิมของไทย ชอบขึ้นกระจายตามริมน้ำ ริมคลอง
เครดิทภาพ http://www.sattahipbeach.com
เพิ่มเติม จากคมชัดลึก
เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก พอจะเข้าหน้าร้อนราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ช่วงเย็นและมืดค่ำ มีกลิ่นหอมของดอก "ปาหนัน" ที่ขึ้นเองตามแนวตลิ่ง ใกล้ทะเลมาแตะจมูก ถ้าต้นตัวผู้ชาวบ้านเรียกว่า "ลำเจียก" ต้นตัวเมียเรียกว่า "เตยทะเล" แต่ชื่อ "ปาหนัน" เป็นภาษาอินโดนีเซีย ถ้าแต่งต้นให้ดีทำเป็นไม้ประดับตามรีสอร์ทได้เป็นอย่างดี จุดเสียคือตามใบมีหนามแหลมคมมาก คนสมัยก่อนใช้รากมาต้มดื่มแก้พิษไข้ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บ้างก็ว่าแก้หนองในได้ด้วย
เป็นไม้พุ่มกึ่งยืนต้นขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE ตระกูลเดียวกันกับต้นเตย มีความสูง 4-5 เมตร ลำตัวตรง หรืออาจคดงอบาง หากถูกลมพัดแรงเมื่อต้นอย่างอ่อน เปลือกต้นเป็นปล่องเล็กๆรอยของใบร่วง สีเทา
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับทับซ้อนกันรอบกิ่งและจะกระจุกแน่นที่ปลายยอด รูปทรงเรียวยาว กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาวเป็น 1-3 เมตร ตรงกลางร่องยาว โคนใบมีกาบหุ้มกิ่ง ปลายใบแหลม ขอบใบและใต้ท้องใบมีหนามเป็นงอๆ แหลมคมมาก
ดอก ถ้าเป็นต้นตัวเมียออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่งและปลายยอด มีใบเลี้ยงหุ้มดูคล้ายหัวปลีเหมือนเตยหอม เวลาบานใบหุ้มจะแตกดอกสีขาวอมเหลืองส่วนมากจะบานตอนเย็นส่งกลิ่นหอมแรง
ผล รูปทรงกลมรีคล้ายผลสับปะรด แต่ต่อตาร่องลึกกว่า ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง เนื้อชุ่มน้ำ
การขยายพันธุ์ ใช้แยกหน่อ
เพลง... ปาหนัน |
ศิลปิน... นันทิดา แก้วบัวสาย |
|
|
ขอบคุณเพลงจากwww.naronk.org/