ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คนกับป่าเมืองเชียงใหม่ : ป่าเมืองเป็นจริงได้ ขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามพื้นที่สีเขียวอย่างไร


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,162 ครั้ง
Advertisement

คนกับป่าเมืองเชียงใหม่ : ป่าเมืองเป็นจริงได้ ขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามพื้นที่สีเขียวอย่างไร

Advertisement

คนกับป่าเมืองเชียงใหม่ : ป่าเมืองเป็นจริงได้ ขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามพื้นที่สีเขียวอย่างไร

ส่งมาโดย adminII เมื่อ 10/11/2008 21:10:00 (131 ครั้งที่อ่าน)

 

“ทางเท้าเล็กๆ ที่แคบอยู่แล้ว
เมื่อปลูกต้นไม้เข้าไปอีก มันก็ยิ่งแคบ
และทำให้คนเดินฟุตบาธไม่สะดวก
ถ้าเราเอาต้นไม้เข้าไปปลูกในบ้านคนล่ะ ปลูกให้ชิดรั้ว
เมื่อต้นไม้เติบโตขึ้น
กิ่งก้านใบของมันก็กลายเป็นร่มเงาให้คนเดินถนนได้”



ฉันเคยสงสัยนักหนา เมื่อไอสไตน์พูดว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เขาหมายถึงอะไรกันแน่ ก็ในเมื่อทฤษฎีสัมพัทธภาพของเขาก็คือ “ความรู้” ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็น “ความจริง” มิใช่เป็นเพียง “จินตนาการ” มิใช่หรือ ถ้าเป็นเช่นนั้น “ความรู้ก็ต้องสำคัญกว่าจินตนาการ” น่ะสิ

ไม่นานมานี้ ฉันกลับมาคิดใคร่ครวญถึงเรื่องนี้อีกครั้งหลังจากที่ได้คุยกับอาจารย์ศิริชัย หงษ์วิทยากร ภาควิชาภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาจารย์ศิริชัยเป็นหัวหน้า “โครงการนำร่องแนวคิดใหม่สู่การเป็นเมืองสีเขียว” โดยอาจารย์และคณะได้ทำการศึกษาพื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่และพื้นที่เมืองโดยรอบเพื่อจัดทำต้นแบบและแนวคิดที่ควรปฏิบัติในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวรูปแบบต่างๆ จากพื้นที่จริง



อาจารย์ศิริชัย หงษ์วิทยากร




อาจารย์ชี้ให้เห็นว่า “เชียงใหม่เป็นเมืองที่น่าเรียนรู้มาก เพราะมีปัญหาซ้อนทับกันอยู่เยอะให้ศึกษา ในงานภูมิสถาปัตย์ เรามอง 3 setting คือเมือง ชนบท ป่า ซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ทั้งโลกก็เป็นแบบนี้ เราถือว่าเราได้เปรียบเพราะมหาลัยตั้งอยู่ที่เชียงใหม่ เรามีภูมิประเทศไม่เหมือนที่ไหน มีทั้งป่ามีทั้งเมืองให้ศึกษา สวนพฤกษศาสตร์ก็อยู่ใกล้ นักศึกษาสามารถไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ต่างๆ ได้ และเรามีปัญหาของเมืองให้เอามาทำเป็นโปรเจกได้มากมาย มีโจทย์มีพื้นที่จริง (problem base) ให้คิดออกแบบและแก้ปัญหาแบบบูรณาการ”

ปัญหาของเมืองเชียงใหม่ที่อาจารย์สนใจคือเรื่องพื้นที่สีเขียว โดยอาจารย์ตั้งข้อสังเกตว่า “คนมักมองพื้นที่สีเขียวแค่สวนสาธารณะ ถ้ามองแค่นั้นคงแก้ปัญหาไม่ได้ แต่ถ้าเรานิยามพื้นที่สีเขียวใหม่ เราจะมองได้กว้างขึ้น” ในงานศึกษาดังกล่าว อาจารย์ได้ให้คำนิยามพื้นที่สีเขียวไว้ว่า “พื้นที่สีเขียว หมายถึงพื้นที่กลางแจ้งและกึ่งกลางแจ้งที่มีขอบเขตที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนปกคลุมด้วยพืชพรรณที่ปลูกบนดินที่ซึมน้ำได้ โดยที่ดินนั้นอาจมีสิ่งปลูกสร้างหรือพื้นผิวแข็งที่ไม่ซึมน้ำรวมอยู่หรือไม่ก็ได้ หมายรวมถึงพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและนอกเขตเมือง อาจเป็นพื้นที่สาธารณะหรือเอกชน ที่สาธารณชนสามารถใช้ประโยชน์”

โดยยังไม่ต้องเอ่ยถึงรายละเอียดของงานศึกษา พิจารณาเฉพาะคำนิยามข้างต้นของคำว่าพื้นที่สีเขียว เราอาจพบว่าคำนิยามดังกล่าวนี้ได้ทลายกรอบคิดการมองพื้นที่สีเขียวแบบแยกส่วน ใช่หรือไม่, ก่อนหน้านี้ เมื่อได้ยินคำว่า “พื้นที่สีเขียว” ในสเกลระดับเมือง เรามักคิดถึงแค่สวนสาธารณะ ในสเกลระดับประเทศ เรามักนึกถึงป่าอนุรักษ์ ในระดับการทำให้มันเป็นจริงขึ้นมา เรามักชี้นิ้วไปที่ “เจ้าหน้าที่รัฐ” สิ่งที่เรา “คิดได้” หรือ “จินตนาการได้” คือสิ่งที่อยู่ในกรอบคิดหรือโลกทัศน์ที่จำกัดจำเขี่ยการมองของเราไว้อย่างคับแคบ และที่สำคัญเป็นการมองแบบแยกส่วน แยกการจัดการ

นิยามพื้นที่สีเขียวข้างต้นให้ความสำคัญกับมุมมองที่เชื่อมโยงและเป็นองค์รวม ในแง่ที่ว่าเมื่อาจารย์กล่าวถึง “พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและนอกเขตเมือง” หมายถึงความรับผิดชอบของทั้งคนเมืองและคนชนบทในการสร้างพื้นที่สีเขียวในเขตที่ตนเองอาศัยอยู่ และเมื่อพูดว่า “พื้นที่สีเขียวที่อาจเป็นพื้นที่สาธารณะหรือเอกชน” ก็หมายถึงการเน้นย้ำว่าการจัดการให้เกิดพื้นที่สีเขียวนั้นเป็นหน้าที่ของทั้งภาครัฐและภาคประชาชนร่วมกัน

อันที่จริง อาจารย์ศิริชัยไม่ใช่คนแรกที่ชี้ให้เห็นข้อพร่องของคำนิยามที่คับแคบของเรื่องพื้นที่สีเขียวและตั้งข้อสังเกตถึงการเชื่อมโยงกันของพื้นที่เมือง ชนบท และป่า ผู้เฒ่าปกาเกอะญอซึ่งต่อสู้เรื่องป่าชุมชนมาอย่างยาวนานก็เคยตัดพ้อดังๆ ว่า “คนในเมืองเอาแต่ชี้มาที่ชาวเขาว่าทำลายป่า ทั้งๆ ที่คนในเมืองเองทำลายป่าของตัวเองไปหมดสิ้นแล้ว ชาวเขาที่รักษาป่าไว้ได้กลับต้องถูกอพยพออกจากป่า เพื่อให้ป่านั้นกลายเป็นแหล่งต้นน้ำของคนเมือง ทำไมคนเมืองไม่คิดสร้างป่าไว้ในเมืองเองบ้าง ในเมื่อสมัยก่อนทุกๆ ที่ในแผ่นดินนี้ก็เคยเป็นป่ามาก่อนทั้งนั้น”

เอาเข้าจริง ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่สีเขียวจึงอาจไม่ได้อยู่ที่การขาดแคลน “ความรู้ในการจัดการป่า” แต่อยู่ที่การขาดแคลน “จินตนาการในการจัดการป่า” เสียล่ะมากกว่า เราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า ป่าในเมืองเป็นจริงได้ไหม หรือเราแค่ไม่พอใจป่าคอนกรีตแต่ก็ไม่เคยคิดว่าจะสร้างป่าในเมืองเอาเอง เพราะการหนีออกจากเมืองไปพักผ่อนท่องเที่ยวในป่าอนุรักษ์ชั่วครั้งชั่วคราวนั้นง่ายกว่าเป็นไหนๆ ง่ายกว่าในแง่ที่ว่า เราแค่รอให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้อพยพชาวเขาออกไปแล้วจัดการรักษาป่าไว้ให้ ง่ายกว่าตรงที่เราไม่ต้องลงมือสร้างป่าให้เกิดขึ้นเองในเมืองหรือเข้าไปมีส่วนร่วมรักษาป่าอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไปด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราเอง

แล้วเชื่อหรือไม่ว่า “ป่าในเมืองเป็นจริงได้” ไม่ใช่เรื่องยากแต่เป็นเรื่องของจินตนาการใกล้ตัวนี่ล่ะ อาจารย์ศิริชัยยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า “ทางเท้าเล็กๆ ที่แคบอยู่แล้ว เมื่อปลูกต้นไม้เข้าไปอีก มันก็ยิ่งแคบและทำให้คนเดินฟุตบาธไม่สะดวก ถ้าเราเอาต้นไม้เข้าไปปลูกในบ้านคนล่ะ ปลูกให้ชิดรั้ว เมื่อต้นไม้เติบโตขึ้น กิ่งก้านใบของมันก็กลายเป็นร่มเงาให้คนเดินถนนได้” อืม…ใช่ ทำไมเรื่องง่ายๆ แบบนี้ เราคิดกันไม่ออกนะ หรือเพราะเราติดกรอบว่าต้นไม้สาธารณะต้องปลูกอยู่ในพื้นที่สาธารณะเท่านั้น แต่เราคิดไม่ถึงว่าต้นไม้ในที่ส่วนตัวก็อาจกลายเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะได้เหมือนกัน แล้วถ้าทุกบ้านคิดได้แบบนี้ จะน่าชื่นใจขนาดไหน

นอกจากนี้ โดยนิยามข้างต้น การศึกษานี้ได้นำเสนอมุมมองและแนวคิดใหม่ของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนหลักการ Water Sensitive Design ที่เน้นการใช้พืชพรรณในการแก้ปัญหาระบบน้ำโดยการใช้ระบบรากพืชที่ปลูกบนดิน กักเก็บน้ำไว้ในดินให้มากที่สุดเพื่อสร้างดุลยภาพของระบบน้ำโดยเฉพาะในเขตเมือง เป็นหลักการที่คาดหวังว่าถ้านำไปปฏิบัติจะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมได้

คนเชียงใหม่คงจำกันได้ว่าเมื่อปี 2548 ตัวเมืองเชียงใหม่ประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนทรัพย์สินของประชาชนและย่านการค้าการท่องเที่ยวเป็นจำนวนเงินหลายพันล้านบาท หลังจากนั้นได้มีการจัดเวทีสาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นเรื่อง “แก้ไขปัญหาน้ำท่วมเชียงใหม่ ทำอย่างไรให้ถูกทาง” โดยมีตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และสถาบันวิจัย (สกว.) เข้าร่วมถกเถียงและนำเสนอข้อมูล

ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐมีแนวคิดที่จะรื้อทิ้งฝายเดิมของชาวบ้าน 3 แห่ง แล้วสร้างฝายยางขึ้นมาทดแทน กลุ่มองค์กรชาวบ้านและองค์กรพัฒนาเอกชนก็ออกมาคัดค้านแนวคิดดังกล่าว ศ.ดร. ปิยะวัติ บุญหลง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยกล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “คำถามที่ตั้งกันไว้ว่าคือทำอย่างไรจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเชียงใหม่เป็นคำถามที่มีองค์ประกอบซับซ้อนและไม่สามารถตอบได้ด้วยคำตอบง่ายๆ คำตอบเดียว ถ้าเราตระหนักก็คงจะได้ช่วยกันค้นหาคำตอบว่า ปัจจัย เงื่อนไขที่ทำให้เกิดปัญหามีอะไรบ้าง เราก็จัดการแก้ปัญหาได้เป็นเรื่องๆ ให้มันเชื่อมโยงกันเพื่อจะแก้ปัญหาได้ในระยะยาว ...”

ถ้าการแก้ปัญหาน้ำท่วมรวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในเมือง ซึ่งมีปัจจัยเงื่อนไขซับซ้อนต้องการคำตอบหลายๆ คำตอบ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนหลักการ Water Sensitive Design อาจเป็นหนึ่งในหลายๆ คำตอบที่จะช่วยบรรเทาปัญหาได้ โดยอาจารย์ศิริชัยชักชวนให้เราคิดถึงการเพิ่มพื้นที่ของ “ดินที่ซึมน้ำได้”

“การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเกี่ยวพันกับเรื่องการจัดการน้ำด้วย เวลาเราปลูกบ้านเราทำหลังคา slope เพื่อระบายน้ำให้เร็ว น้ำก็ไหลลงท่อระบายน้ำ รู้ไหมท่อของเมืองๆ หนึ่งใช้งบเป็นหมื่นล้าน เมื่อเมืองขยายออกเรื่อยๆ ท่อยังเท่าเดิมก็เกิดปัญหาการระบายน้ำขึ้น จะทำท่อใหม่ก็เปลืองงบประมาณ นี่พูดเฉพาะน้ำฝน ยังไม่รวมน้ำเสียนะ เรามีหลักการว่าถ้าเราทำพื้นที่ให้มีการปลูกต้นไม้บนดิน ดินจะซับน้ำได้ เพราะน้ำอยู่บนผิวดินน้อยกว่าน้ำใต้ดินมาก และยังทำให้พื้นที่ชุ่มชื้นขึ้นด้วย โดยหลักการ ถ้าเราเพิ่มพื้นที่สีเขียวแบบนี้ มันก็อยู่ในบ้านคนก็ได้ อยู่ในที่เอกชนก็ได้ ที่ผ่านมาเรามักมองแค่การปลูกไม้ประดับประดา แต่การปลูกต้นไม้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมได้ แก้เรื่องอากาศเสียได้ ฝุ่นละออง มลพิษ ควัน เขม่าจะถูกต้นไม้ดักได้พอสมควร มันเป็นกระบวนการที่เป็น cycle ของมันอยู่แล้ว”

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหาส่วนรวมที่เริ่มต้นได้ด้วยตัวปัจเจกเอง แน่นอนว่าการจัดการปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง หรือโลกร้อนต้องการการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่หน้าหมู่ เช่น การจัดการรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์และแม่น้ำลำธารซึ่งทุกคนในสังคมใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทว่าการจัดการในระดับปัจเจกอย่างง่ายๆ เช่น การเลือกปูพื้นกลางแจ้งในเขตบ้านของตนเองด้วยวัสดุที่ซึมน้ำได้ก็ไม่ควรถูกมองข้ามหรือละเลยมิใช่หรือ

ในงานศึกษาดังกล่าว มีการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาพื้นที่สีเขียว (ต้นแบบ) ไว้อย่างครอบคลุม อาทิเช่นสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สนามกีฬากลางแจ้งของชุมชน ลานคนเดิน สวนในบ้าน พื้นที่ย่านการค้า เรือก สวน ไร่ นา พื้นที่จอดรถ พื้นที่ฝังกลบและทิ้งขยะ บริเวณบำบัดน้ำเสีย พื้นที่แนวกันชนเพื่อป้องกันการขยายตัวของเมือง ป่าช้าฝังศพ ป่าเห็ว (ฌาปนสถาน) พื้นที่ศาสนาสถาน พื้นที่โบราณสถาน พื้นที่ของสถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่อุทยาน พื้นที่ป่าชุมชน พื้นที่สีเขียวที่เป็นริ้วยาว (เช่น ริมฝั่งแม่น้ำ เขตทางเท้า เกาะกลางถนน เขตทางหลวง ทางรถไฟ ทางจักรยาน) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า พร้อมทั้งแนะนำประเภท/ตัวอย่างพรรณไม้ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ รวมถึงกลไกในการจัดการและประเมินผล

ดูเหมือนว่า “จินตนาการ” เราก็มีแล้ว “ความรู้” เราก็มีแล้ว ใช่หรือไม่ ณ เวลานี้ เราขาดก็แต่ “ความจริง” ที่จะปรากฎให้เห็นก็ต่อเมื่อเราได้ “ปฏิบัติการ” ตามความรู้และจินตนาการอันเหลือเฟือที่เรามีอยู่แล้วนั่นเอง

*** ใครสนใจแนวคิดดังกล่าวสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก “คู่มือการพัฒนาพื้นที่สีเขียว” จัดทำโดย ภาควิชาภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการสนับสนุนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ที่มา : คอลัมน์ "คนกับป่าเมืองเชียงใหม่" หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์
โดย ภาคีคนฮักเจียงใหม่ ร่วมกับ มูลนิธิไทยรักษ์ป่า

 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3113 วันที่ 28 พ.ย. 2552

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


คนกับป่าเมืองเชียงใหม่ : ป่าเมืองเป็นจริงได้ ขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามพื้นที่สีเขียวอย่างไร คนกับป่าเมืองเชียงใหม่:ป่าเมืองเป็นจริงได้ขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามพื้นที่สีเขียวอย่างไร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

โคมไฟเจ๋ง ๆ !!

โคมไฟเจ๋ง ๆ !!


เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
วิธียืดอายุ....ให้ต้นไม้

วิธียืดอายุ....ให้ต้นไม้


เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
เพลงหวง (สำหรับคนแถวๆนี้)

เพลงหวง (สำหรับคนแถวๆนี้)


เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

มะเฟือง....ผลไม้มากคุณค่า....ใช้เป็นยาสมุนไพร

มะเฟือง....ผลไม้มากคุณค่า....ใช้เป็นยาสมุนไพร

เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
Blythe ตุ๊กตาไบลทธ์
Blythe ตุ๊กตาไบลทธ์
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย

ก้าวอย่างมั่นใจ...สู่บันไดชีวิต 5 ขั้น...< อย่างมีความสุข >
ก้าวอย่างมั่นใจ...สู่บันไดชีวิต 5 ขั้น...< อย่างมีความสุข >
เปิดอ่าน 7,173 ☕ คลิกอ่านเลย

 ๑๓  ก.ค.  คล้ายวันประสูติพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
๑๓ ก.ค. คล้ายวันประสูติพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
เปิดอ่าน 7,196 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องเล่าจากFWmail...การถูกข่มขืนแบบใหม่...ภัยใกล้ตัวคุณผู้หญิง!!
เรื่องเล่าจากFWmail...การถูกข่มขืนแบบใหม่...ภัยใกล้ตัวคุณผู้หญิง!!
เปิดอ่าน 7,186 ☕ คลิกอ่านเลย

ทายนิสัยผู้ให้ จากขวัญที่ได้รับ
ทายนิสัยผู้ให้ จากขวัญที่ได้รับ
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องโหด... ได้เริ่มที่...
เรื่องโหด... ได้เริ่มที่...
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ชาวเน็ตแชร์คลิปเสียดสีสังคม ไทยเท ไทยฮุบ ไทยผีเข้า ไทยหัวสูง
ชาวเน็ตแชร์คลิปเสียดสีสังคม ไทยเท ไทยฮุบ ไทยผีเข้า ไทยหัวสูง
เปิดอ่าน 8,415 ครั้ง

Adverbs ( กริยาวิเศษณ์ ) Types (ชนิดของกริยาวิเศษณ์ )
Adverbs ( กริยาวิเศษณ์ ) Types (ชนิดของกริยาวิเศษณ์ )
เปิดอ่าน 387,234 ครั้ง

ปี 2558 จะยาวขึ้น 1 วินาที เพราะโลกหมุนช้าลง
ปี 2558 จะยาวขึ้น 1 วินาที เพราะโลกหมุนช้าลง
เปิดอ่าน 16,870 ครั้ง

บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
เปิดอ่าน 8,819 ครั้ง

ความหมายของ e-Learning (โดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง)
ความหมายของ e-Learning (โดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง)
เปิดอ่าน 97,496 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ