โครงงานภาษาไทย "เฮียนฮู้กำเมือง"
ผู้รับผิดชอบโครงงาน
1. เด็กหญิงอาทิตยา ปัญญา
2. เด็กหญิงณัชลิฎา ลัยยะ
3. เด็กหญิงพรรษชล สร้อยเกียว
4. เด็กหญิงบุษปศร อุวรรณ์
5. เด็กหญิงชลกานต์ ศานตมนัส
6. เด็กชายชนากร แก้วสุทธิ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทองสัวสดิ์วิทยาคาร อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ครูที่ปรึกษาโครงงาน
ครูเขมรักษ์ กุมารสิทธิ์
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ภาคเหนือมีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเองซึ่งบางคำอาจจะแตกต่างจากภาคอื่น ๆ คนในภาคเหนือจะพูดคำเมืองและมีวัฒนธรรมประเพณีต่างกับจังหวัดในภาคอื่น ๆ ดังนั้น สำนวนภาษาและคำพูดจะมีความแตกต่างกันออกไป บางคำออกเสียงเหมือนกันแต่ความหมายไม่เหมือนกัน หรือบางคำออหเสียงไม่เหมือนกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน และเมื่อเวลาผ่านไปมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย การเรียนการสอนในโรงเรียนทีทำให้นักเรียนต้องพูดภาษาไทยกลาง ทำให้เด็กภาคเหนือสมัยนี้พูดคำเมืองปนไทย หรือบางคนไม่พูดคำเมืองและไม่เข้าใจความหมายของคำเมืองเลย ดังนั้น กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้จัดทำโครงงาน "เฮียนฮู้กำเมือง" ขึ้น เพื่อศึกษาและรวบรวมคำศัพท์คำเมืองในท้องถิ่น อันเป็นการฝึกพูดคำเมือง เรียนรู้ความหมายและเป็นการอนุรักษ์กำเมืองไว้ให้เด็กรุ่นต่อ ๆ ไป
จุดประสงค์
1. เพื่อศึกษาและรวบรวมคำศัพท์กำเมืองที่พูดกันในอำเภอแม่สะเรียง
2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์กำเมืองที่มีความไพเราะและเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. สถานที่สำรวจ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
2. ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า วันที่ 1 กันยายน 2552 - 30 กันยายน 2552
วิธีการศึกษาค้นคว้า
1. สอบถาม สัมภาษณ์จากครู ผู้ปกครอง
2. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต
3. ค้นคว้าจากห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน
4. รวบรวมจากชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1. หนังสือเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2. พจนานุกรม, แหล่งสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต
3. เครื่องเขียน
วิธีการศึกษาค้นคว้า
1. บันทึกภาพ
2. จดบันทึก
3. แบบสอบถาม
ผลที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้า
1. รู้และเข้าใจคำศัพท์ และความหมายของกำเมืองหมวดต่าง ๆ
2. พูดกำเมืองได้ถูกต้อง ถูกกาลเทศะ และมีความภาคภูมิใจในภาษาของท้องถิ่น
3. จัดทำสมุดรวบรวมคำศัพท์กำเมือง และ e-book กำเมืองหมวดต่าง ๆ
ข้อเสนอแนะ
1. ทำโครงงานนี้ต่อไปโดยรวบรวมคำศัพท์กำเมืองให้มากที่สุด
2. ศึกษาสำนวน สุภาษิต ข้อคิด คติเตือนใจ กำเมืองเพิ่มเติม