Advertisement
เรามาจากใหน?...และจะไปใหน?...
|
|
เรามาจากใหน?...และจะไปใหน?...(๑)
พระพุทธศาสนา สอนให้เชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรม และยังให้เชื่อเรื่องภูมิ อันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ที่ได้รับความสุข ความทุกข์ที่แตกต่างกันมีอยู่.....
ภูมิมี ๓๑ ภูมิ คือ....
อบายภูมิ คือ ภูมิที่อยู่อาศัยของสัตว์ ที่ได้รับความทุกข์ อันเนื่องมาจากอกุศลกรรม ที่ตนได้กระทำไว้เป็นเหตุ มี ๔ ภูมิ คือ นิรยะภูมิ(สัตว์นรก) เปตติภูมิ(เปรต) อสุรภูมิ(อสุรกาย) ดิรัจฉานภูมิ(สัตว์เดรัจฉาน)
กามสุคติภูมิ คือ ภูมิที่อยู่อาศัยของสัตว์ ที่ได้รับความสุขสบาย อันเนื่องมาจากกามาวจรกุศลกรรม ที่ตนได้ทำไว้เป็นเหตุ มี ๗ ภูมิ คือ มนุสสภูมิ จาตุมหาราชิกาภูมิ ตาวตึงสาภูมิ ยามาภูมิ ดุสิตาภูมิ นิมมานนรตีภูมิ ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ
รูปภูมิ คือ ภูมิที่อยู่อาศัยของรูปพรหมบุคคล มี ๑๖ ภูมิ คือ
ปฐมฌาณภูมิ ๓ ได้แก่ พรหมปาริสัชชาภูมิ พรหมปุโรหิตาภูมิ มหาพรหมภูมิ
ทุติญฌาณภูมิ ๓ ได้แก่ ปริตาภาภูมิ อัปปมาณาภาภูมิ อาภัสสราภูมิ
ตติยฌาณภูมิ ๓ ได้แก่ ปริตตสุภาภูมิ อัปปมาณาสุภาภูมิ สุภกิณหาภูมิ
จตุตถฌาณภูมิ ๗ ได้แก่ เวหัปผลาภูมิ อสัญญสัตตภูมิ อวิหาภูมิ อตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ อกนิฏฐาภูมิ
อรูปภูมิ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่อาศัยของอรูปพรหมบุคคล มี ๔ ภูมิ คือ..........
อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
.....................................................
เรามาจากใหน?...และจะไปใหน?...(๒)
พระพุทธองค์แสดงว่า สังสารวัฏฏหาเบื้องต้นมิได้ นั่นหมายความว่า สัตว์ทั้งหลาย ได้เวียนว่ายตายเกิดมาแล้ว นับภพ นับชาติมิถ้วน และยังต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีก นับภพชาติมิถ้วน ตราบที่ยังมีกิเลสอยู่ และในระหว่างที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่นั้น ก็ได้สั่งสมกรรมเอาไว้มากมาย นับไม่ถ้วนเช่นกัน
ถ้ากรรมดีมีโอกาศส่งผล สัตว์เหล่านั้นก็จะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี มีความสุข ถ้ากรรมชั่ว มีโอกาศส่งผล สัตว์เหล่านั้นก็จะไปเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี ได้รับความทุกข์เป็นส่วนมาก บางครั้งกรรมดี ก็อาจได้โอกาศส่งผล ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ทำให้สัตว์ทั้งหลายที่ทำกรรมดีนั้นไว้ ได้ไปเสวยสุขอยู่ในภพภูมิที่ดี เป็นเวลานานหลายภพชาติติดต่อกัน
ในบางครั้งกรรมชั่วก็อาจได้โอกาศ ส่งผลติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ทำให้สัตว์ทั้งหลายที่ทำกรรมชั่วนั้นไว้ ต้องไปเสวยทุกข์ในภพภูมิที่ไม่ดี เป็นเวลานานๆ หลายภพชาติติดต่อกันก็มี หรือในบางครั้ง กรรมดีและกรรมชั่วอาจจะได้โอกาศสลับกันให้ผล ทำให้สัตว์ผู้ทำกรรมนั้น ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง สลับกันไป ดังนี้ก็มี
มนุษย์ในปัจจุบัน ต้องอาศัยเกิดในครรภ์มารดา การที่ต้องอยู่ในครรภ์มารดาถึง ๑๐ เดือน ทำให้ไม่สามารถจดจำเรื่องราวในภพก่อนได้
ดังนั้นถ้าจะถามว่า ชาติก่อนที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์ ได้เกิดเป็นอะไรมา มนุษย์แทบทุกคน มักจะตอบไม่ได้ เว้นแต่บุคคลผู้ได้อภิญญา ที่เกี่ยวกับการระลึกชาติได้ จึงจะตอบได้ หรือบุคคลบางคนที่ไม่ได้อภิญญา แต่ระลึกชาติได้ ที่เรียกว่า "เป็นความสามารถพิเศษเฉพาะบุคคล" ก็สามารถบอกได้ว่า เมื่อชาติก่อน ตนเคยเกิดเป็นอะไรมา
เมื่อยกเว้นบุคคลพิเศษ เช่นที่กล่าวมาแล้ว บุคคลทั่วๆไป จะไม่สามารถตอบได้ว่า ในชาติก่อนเคยเกิดเป็นอะไรมา ดังมีเรื่องของธิดาช่างหูก ที่มาใน คาถาธรรมบทอรรถกถา เป็นเครื่องยืนยันในเรื่องนี้.
.....................................................
เรามาจากใหน?...และจะไปใหน?...(๓)
ครั้งหนึ่ง..เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จถึงเมืองอาฬาวี พวกชาวเมืองได้ถวายภัตตาหาร เมื่อเสร็จภัตกิจ จึงตรัสว่า
"ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน ความตายของเราแน่นอน เราพึงตายแน่แท้ ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด ชีวิตของเราไม่เที่ยง ความตายเที่ยง ก็มรณะอันชนทั้งหลายไม่เจริญแล้วในกาลที่สุด ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงความสะดุ้งร้องอย่างขลาดกลัว ทำกาละ(ตาย) เหมือนบุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัว ฉะนั้น
ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว ชนทั้งหลายนั้น ย่อมไม่สะดุ้งในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกลเทียว แล้วก็เอาท่อนไม้เขี่ยทิ้ง ไปยืนอยู่ฉะนั้น เพราะฉะนั้น มรณะสติอันท่านทั้งหลาย พึงเจริญ...
ธิดาของนายช่างหูก อายุ ๑๖ ปีคนหนึ่ง ได้ฟังพระธรรมเทศนา คิดว่า "โอ ธรรมดาถ้อยคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายน่าอัศจรรย์ เราเจริญมรณะสติจึงควร" ดังนี้แล้ว ก็เจริญมรณะสติอย่างเดียว ตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออกจากเมืองอาฬาวีแล้ว ก็เสด็จไปพระเชตวัน นางกุมาริกานั้น ก็เจริญมรณะสติเป็นเวลา ๓ ปี
ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ในเวลาไกล้รุ่ง ทรงเห็นนางกุมาริกานั้น เข้าไปในข่ายพระญาณ ทรงทราบว่า นางกุมาริกานี้ เจริญมรณะสติมาแล้ว ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ฟังพระธรรมเทศนาของเรา
บัดนี้เราไปที่เมืองอาฬาวี แล้วถามปัญหา ๔ ข้อกับนาง เมื่อนางแก้ปัญหาแล้ว เราแสดงธรรมกถาแก่นาง ในเวลาจบคาถา นางจะบรรลุโสดาปัตติผล พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร จึงเสด็จไปเมืองอาฬาวี
ฝ่ายนางกุมาริกาทราบว่า พระศาสดาเสด็จมา มีใจยินดีว่า จะได้เห็นพระศาสดา และได้ฟังธรรมอันเป็นโอวาท ซึ่งมีความไพเราะของพระศาสดานั้น
แต่ว่าในวันนั้น บิดาของนางกุมาริกา ได้ทอผ้าค้างไว้หนึ่งผืน ต้องการจะให้เสร็จในวันเดียวกันนั้น จึงสั่งให้นางกุมาริกากรอด้วยหลอด แล้วนำไปให้ตนที่โรงช่างหูกโดยเร็ว
นางกุมาริกานั้นคิดว่า เราใคร่จะฟังธรรมของพระศาสดา แต่บิดาสั่งให้เราทำงานให้เสร็จ เราจะฟังธรรมของพระศาสดา หรือกรอด้ายหลอด แล้วนำไปให้แก่บิดา? นางคิดว่า ถ้าเราไม่นำด้ายหลอดไปให้ บิดาก็จะทุบตีเรา เพราะฉะนั้น เรากรอด้ายหลอดให้แก่บิดาก่อน แล้วจึงฟังธรรมภายหลัง เมื่อคิดได้ดังนี้ จึงนั่งกรอด้ายหลอดอยู่บนตั่ง.............
คัดลอกมาจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=27129
|
|
|
วันที่ 24 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 29,573 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,521 ครั้ง |
เปิดอ่าน 54,325 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,618 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,253 ครั้ง |
|
|