หลักสูตรบูรณาการในแบบที่ใช้ "อาชีพ" เป็นฐานของการบูรณาการ ฟังดูเหมือนมันต้องเป็นหลักสูตรทางอาชีวศึกษาแน่ ๆ เลย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ครับ!!! รูปแบบหลักสูตรที่ใช้ “อาชีพ” เป็นฐานของการบูรณาการ คือการจัดเตรียมผู้เรียนเข้าสู่ “อาชีพ” ในอนาคต เพราะคณะ หรือสาขาวิชาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ก็คืออาชีพในอนาคตของผู้เรียน ซึ่งถ้าพิจารณาในแง่รูปแบบการจัดทำหลักสูตรก็ยังมีรูปแบบที่ใช้ “วิชาการ” เป็นฐานการออกแบบ ซึ่งนั้นหมายถึงเราสามารถออกแบบหลักสูตรให้กับนักเรียนในสายสามัญโดยใช้ “อาชีพ” เป็นฐานบูรณาการได้ด้วย เช่น Advanced placement course ซึ่งผมอยากให้คุณครูเข้าไปดูตัวอย่างที่ ม.เกษตรศาสตร์ ออกแบบหลักสูตรร่วมกับโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่ http://www.ku.ac.th/kunews/news50/Learn50.pdf ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าเรารู้จักบูรณาการหลักสูตรร่วมกันแล้วจะเป็นผลดีคือ (ในกรณี Advanced placement course) เด็กที่เรียนเก่งจะไม่เบื่อหน่ายกับการเรียนในระดับมัธยมที่ไม่ท้าทาย (เพราะถ้าเด็กเรียนในชั้นเรียนปกติ มันง่ายเกินไปสำหรับเด็ก และไม่ท้าทายความสามารถของเขา) แต่เด็กสามารถไปเรียนในรายวิชาที่สอนในระดับอุดมศึกษาได้ก่อน เด็กได้เรียนรู้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และแน่นอน เด็กก็สามารถเรียนจบได้เร็ว ตามความสามารถของเขา เพราะเมื่อเขาเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาก็นำเกรดที่สะสมไว้ไปเทียบโอนหน่วยกิตได้เลย หรือถ้าคุณครูดูแล้วมันยุ่งยากที่ต้องไปร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพื่อจัดรายวิชา คุณครูก็จัดหลักสูตรโปรแกรมในลักษณะนี้ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนแต่ละคนที่จะมุ่งไปศึกษาต่อในสาขาและคณะที่เขาต้องการ โดยเตรียมรายวิชาที่เป็นพื้นฐานของสาขานั้น ๆ ให้เสมือนโรงเรียนของเราเป็นคลังตลาดนัดรายวิชาที่พร้อมให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความต้องการของเขา และตรงเส้นทางที่จะไปศึกษาต่อในอนาคต เช่น ถ้าเด็กมุ่งไปเรียนทางนิเทศศาสตร์ วิชาภาษาไทยก็อาจจะเป็นในลักษณะ “การใช้ภาษาของนักข่าว” หรือมีวิชาถ่ายภาพ เข้ามาให้เด็กได้เลือกเรียน เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า “นักเรียน” ได้รับประโยชน์จากการที่เราบูรณาการวิชา ต่าง ๆ แบบเต็ม ๆ และนี่แหล่ะ คือ “คุณค่า” ของการบูรณาการ
มาถึงตอนนี้คุณครูคงเลือกได้แล้วว่า สถานศึกษาของท่านจะมีหลักสูตรในรูปแบบแยกรายวิชา หรือ บูรณาการ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 1 ของการพัฒนาหลักสูตรในสถาน
ในตอนหน้า ผมจะมาพูดถึงขั้นตอนที่ 2 ของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่เพื่อนครู พลาดไม่ได้ !