Advertisement
|
คำว่า OT หรือ overtime หรือที่เราเรียกกันว่า "ค่าล่วงเวลา" หรือ "ค่าโอที" นั้น ในทางกฎหมายแรงงาน หมายถึง
- ค่าล่วงเวลาในวันทำงาน
- ค่าทำงานในวันหยุด และ
- ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
ซึ่งกำหนดเอาไว้ว่า การที่ลูกจ้างจะทำงานเพื่อรับ "ค่าโอที" นั้น นายจ้างจะบังคับให้ลูกจ้างทำไม่ได้ ต้องให้ลูกจ้างยินยอมที่จะทำเป็นครั้ง ๆ ไป แต่ยกเว้นงานที่ "...ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น..." (มาตรา 24, 25) ซึ่งก็จะมีข้อยกเว้นดังกล่าวสำหรับงานบางงานที่จำเป็น แต่ทั้งนี้กฎหมายแรงงานก็กำหนดเอาไว้อีกนะครับว่าในการทำงานล่วงเวลานั้น ห้ามไม่ให้เกินสัปดาห์ละ 36 ชั่วโมง แม้ว่าลูกจ้างยินยอม และนายจ้างก็พร้อมจะจ่ายค่าล่วงเวลาให้ก็ตาม จึงเป็นข้อคิดสำหรับบริษัทที่ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาเกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เอาไว้ด้วยว่ากำลังทำผิดกฎหมายแรงงานอยู่นะครับ
ใครบ้างที่มีสิทธิได้รับหรือไม่ได้รับค่าล่วงเวลา
ถ้าผมจะถามท่านว่า "หากมีงานที่จำเป็นต้องทำติดต่อกันไป หากหยุดจะเกิดความเสียหายต่องาน ผู้จัดการฝ่ายทำงานล่วงเวลาจะได้ค่าล่วงเวลาเหมือนพนักงานทั่วไปหรือไม่"
ผมคิดว่าหลายท่านคงจะตอบว่า "ไม่ได้"
ถ้าจะถามต่อว่า "ทำไมถึงไม่ได้ล่ะ" คำตอบน่าจะเป็น "ก็เป็นผู้บริหารน่ะสิ... ผู้บริหารเขาไม่ได้โอทีกันหรอก..." ใช่ไหมครับ
ถ้าตอบอย่างนี้ เขาเรียกว่าตอบจาก "สมองซีกขวา" หรือใช้ความรู้สึกน่ะสิครับ
ลองมาหาคำตอบด้วย "สมองซีกซ้าย" คือ หลักเหตุและผลตามกฎหมายแรงงานกันดูไหมครับ ?
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ผมก็เลยนำข้อกฎหมายมาบอกเล่าให้เข้าใจตรงกัน คือ
"มาตรา 65 ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 แต่ลูกจ้างซึ่งนายจ้างให้ทำงานตาม (3) (4) (5) (6) (7) (8) หรือ (9) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
(1) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง
(2) งานเร่ขายหรือชักชวนซื้อสินค้าซึ่งนายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจากการขายสินค้าให้แก่ลูกจ้าง
(3) งานขบวนการจัดงานรถไฟ ซึ่งได้แก่งานที่ทำบนขบวนรถและงานอำนวยความสะดวกแก่การเดินรถ
(4) งานเปิดปิดประตูน้ำหรือประตูระบายน้ำ
(5) งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ
(6) งานดับเพลิงหรืองานป้องกันอันตรายสาธารณะ
(7) งานที่มีลักษณะหรือสภาพต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ และโดยลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้
(8) งานอยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันมิใช่หน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง
(9) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง"
จากข้อกฎหมายข้างต้นอธิบายเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจได้อย่างนี้ครับ
1.หากพนักงานคนใดไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือพนักงานธรรมดาก็ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากบริษัทให้จ้างคนเข้าทำงานได้ หรือมีอำนาจในการพิจารณาให้บำเหน็จ เช่น พิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปีหรือโบนัสให้กับพนักงาน หรือมีอำนาจในการ พิจารณาเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งพนักงาน หรือมีอำนาจในการเลิกจ้างพนักงาน (หมายถึงมีอำนาจในการเซ็นหนังสือเลิกจ้างพนักงานนั่นแหละครับ)
ถ้าพนักงานคนใดมีอำนาจอย่างใด อย่างหนึ่งในสามอย่างนี้ ก็ไม่มีสิทธิได้รับ ค่าล่วงเวลาครับ !
ดังนั้นในกรณีตัวอย่างข้างต้นที่ผมถามท่านว่า ผู้จัดการฝ่ายทำงานล่วงเวลาจะได้ค่าล่วงเวลาหรือไม่นั้น จึงต้องมาดูว่า ผู้จัดการฝ่ายคนนั้น ๆ มีอำนาจในการจ้าง (หรือรับคนเข้าทำงาน), มีอำนาจในการ ให้บำเหน็จ เช่น ขึ้นเงินเดือนประจำปี, โบนัส หรือเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง, และมีอำนาจในการเลิกจ้าง หรือไม่ หากมีอำนาจ อย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้ (ไม่จำเป็นต้อง มีครบทั้ง 3 อย่างนะครับ) ก็ไม่มีสิทธิได้ "ค่าโอที" ครับ
2.หากพนักงานเป็นพนักงานขาย หรือที่เราเรียกว่า "เซลส์" ที่ได้ค่าคอมมิสชั่นจากการขายอยู่แล้ว แม้จะทำงานเกินเวลาหรือทำงานในวันหยุดก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา เช่นเดียวกันครับ
3.สำหรับข้อ (3) ถึงข้อ (9) นั้น ก็ไม่ได้ค่าล่วงเวลาเช่นเดียวกัน แต่จะได้รับเป็น ค่าทำงานตามชั่วโมงการทำงาน โดยคำนวณว่าทำงานปกติได้ชั่วโมงละกี่บาทก็จ่ายให้เป็นค่าทำงานตามชั่วโมงทำงานครับ
คราวนี้เราคงจะเข้าใจตรงกันแล้วนะครับ ว่าใครบ้างที่จะได้หรือไม่ได้ค่าล่วงเวลา
|
|
|
|
วันที่ 22 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 34,939 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,597 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,790 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,244 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,922 ครั้ง |
|
|