ภาษามือไทย เป็นภาษาสัญลักษณ์สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หรือที่เรียกกันว่า "คนหูหนวก" โดยลักษณะการใช้ภาษามือในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจาก "ภาษาธรรมชาติ" และ "ภาษามือสไตล์อเมริกัน"
รูปแบบการใช้ภาษามือในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2 แบบ
1.การสะกดนิ้วมือ (ส่วนนี้จะยากหน่อยต้องเรียนรู้สำหรับคนที่ไม่ได้พิการมาแต่กำเนิดก็ค่อย ๆ เรียนรู้ไป ต้องฝึกบ่อย สายตาเร็วเวลาดู จะต้องจำให้ได้ว่าตัวอักษรอะไร ทำมืออย่างไร)
2.การใช้ ท่ามือ ท่าทาง กริยา (ตัวนี้ง่ายค่ะ..คุยกันบ่อยจะเข้าใจได้เลย ถ้าไม่เข้าใจถึงสะกดนิ้วอย่างที่กล่าวมาข้างต้น )
ตัวอย่างภาษามือที่ใช้แสดงออกด้วยท่าทาง...(ไม่จำเป็นต้องสะกดคำ แสดงท่าทางจะรู้เลย ก็เหมือนกับเราคุยกันธรรมดา..สำหรับคนพิการจะถือว่าเป็นเรื่องปกติ ใช้บ่อย ๆ จนชินกับภาษาที่ใช้)