Advertisement
กระดาษทิชชู...ใช้ให้ถูกงาน หนี "จุลินทรีย์"
"กระดาษทูชชู" มีหลายประเภท ควรใช้ให้ถูกงานถูกหน้าที่ "กระดาษชำระ" ซึ่งเป็นที่นิยม เพราะราคาถูก ควรถูกนำไปใช้บนโต๊ะอาหารหรือไม่ และทำไม พบคำตอบได้ที่นี่
"กระดาษทิชชู" มีหลายประเภท ควรใช้ให้ถูกงาน... เรื่องจะได้ไม่บานปลาย หนี "จุลินทรีย์" ตัวร้าย
ถ้าพูดถึง "ทิชชู" (Tissue) หรือกระดาษทิชชู่ ส่วนใหญ่เรามักเหมารวมว่า หมายถึง "กระดาษสีขาว เนื้อบางเบา" ที่มีคุณสมบัติซึมซับน้ำได้ดี เป็นสินค้าจำเป็นประจำครัวเรือน สำนักงาน ร้านอาหารหรือเกือบในทุกสถานที่ทุกแห่ง ที่มีคนอยู่ก็ว่าได้ "ทิชชู่" มักถูกนึกถุกในเวลาฉุกเฉิน เอาไว้เช็ดทำความสะอาด อย่างไรก็ตาม กระดาษทิชชู่มีอยู่หลายประเภท สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่
1. กระดาษชำระ (Toilet tissue)
2. กระดาษเช็ดหน้า (Facial tissue)
3. กระดาษเช็ดปาก (Paper Napkin)
4. กระดาษเช็ดมือ (Paper Hand towel)
5. กระดาษเอนกประสงค์
แต่ดูเหมือนว่าคนไทยอย่างเราๆ จะใช้ทิชชู่โดยไม่ได้คำถึงถึงประเภทของทิชชู เรามักเห็นกระดาษชำระวางอยู่บนโต๊ะอาหาร หรือถูกนำไปเช็ดหน้าเช็ดตา หรือแม้กระทั่งเอาไว้ห่อหรือวางรองอาหารด้วยซ้ำ โดยที่ไม่คิดรังเกียจใดๆ ทั้งที่ "กระดาษชำระ" นั้นคือกระดาษเหมาะสำหรับทำความสะอาดหลังขับถ่าย เป็นกระดาษย่น นุ่ม ดูดซึมน้ำได้ดีและยุ่ยง่ายเมื่อถูกน้ำ (มอก.214/2530)
ด้วยความที่เราใช้กระดาษชำระชำระกันไปเสียแทบทุกอย่าง จึงมีข้อสงสัยว่ากระดาษชำระดังกล่าวมีความสะอาดและปลอดภัยมากแค่ไหน ทั้งนี้ หลังจากพลิกอ่านคู่มือมาตรฐานอุตสาหกรรมกระดาษทิชชู พบว่า ตามมาตรฐานของกระดาษชำระ จะเน้นความสำคัญไปที่การซึมซับน้ำ การย่อยสลาย ขนาดและจุดสกปรก ซึ่งเมื่อดูจากตาเปล่า เราไม่สามารถเห็นสิ่งปกติใดๆ แต่ความจริงแล้ว มันมีสิ่งแปลกปลอมใดๆ แฝงอยู่หรือไม่ ต้องตามอ่านกันต่อไป
เราได้ส่งตัวอย่างกระดาษชำระ ทั้งแบบเกรดเอและบี 24 ตัวอย่างไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติกลางประเทศไทย จำกัด เพื่อทดสอบหาปริมาณจุลินทรีย์ชนิดก่อโรค ได้แก่ Bacillus cereus, Staphylococcous, Escherichis coli, Salmonella, Yeast and mold และ Total Plate Count ผลการทดสอบพบว่า ทุกยี่ห้อมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในปริมาณน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดโรค อย่างไรก็ตาม ยังถือว่าไม่ปลอดจุลินทรีย์ ดังนั้น จึงควรใช้กระดาษชำระให้ถูกกับงาน การนำไปใช้ผิดงานอาจก่อให้จุลินทรีย์ปนเปื้อน และหากทิ้งไว้เป็นเวลานาน เมื่อสิ่งที่ถูกเช็ดมีสภาวะเหมาะสมต่อการเติบโตของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์จะสามารถขยายตัวได้ จนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
ที่มาบทความจาก ฉลาดซื้อ
วันที่ 20 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,864 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,408 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,178 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,477 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,889 ครั้ง |
|
|