Advertisement
ภูมิหลัง
ออลพอร์ต (Allport, 1967) กล่าวว่า ทัศนคติคือสภาพจิตใจและประสาทเกิดจากการได้รับประสบการณ์ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการตอบสนองของบุคคลต่อสภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น
การิซอน (Garrison, 1963 อ้างถึงใน สุชา จันทร์เอม, 2524) ให้ความหมายว่า “ทัศนคติ หมายถึงแนวโน้มที่บุคคลจะตอบสนองต่อวัตถุ สัญลักษณ์ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ในวิถีทางที่แน่นอน”
ครอนบาค (Cronbach, 1963 อ้างถึงใน สุชา จันทร์เอม, 2524) ให้ความหมายว่า “ทัศนคติ หมายถึงการที่บุคคลยอมรับสิ่งใด บุคคลใด ๆ ที่เป็นรูปธรรม นามธรรม ทั้งนี้เป็นผลจาการที่บุคคลได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย”
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์ (2520) ได้สรุปความหมายของทัศนคติไว้ว่า ทัศนคติ หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ประสบการณ์และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม หรือแนวโน้มที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อาจจะเป็นไปในทางสนับสนุนหรือคัดค้านก็ได้
เดโช สวนานนท์ (2512) กล่าวว่า ทัศนคติ คือ สภาวะความพร้อมของจิตใจหรือประสาทในการที่จะตอบโต้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งและสถานะความพร้อมดังกล่าวจะต้องเป็นไปอย่างถาวรพอสมควร
ประสาร ทิพย์ธารา (2520) ได้สรุปความหมายของทัศนคติว่า “ทัศนคติ หมายถึง ความรู้สึกและความคิดเห็นที่บุคคลมีต่อสิ่งใดหรือบุคคลใด ทั้งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมในทางที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับทั้งนี้เป็นผลจากการที่บุคคลได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย
สุณีย์ ธีดากร (2524) สรุปไว้ว่า ทัศนคติเป็นสภาพทางจิตใจที่เกิดจากประสบการณ์อันทำให้บุคคลที่มีท่าทีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง อาจแสดงท่าทีออกมาในลักษณะที่พอใจเห็นด้วยหรือไม่พอใจ ไม่เห็นด้วยก็ได้
ราชบัณฑิตยสถาน (2525) ได้กำหนดศัพท์บัญญัติไว้เช่นกันว่า ทัศนคติ หมายถึง แนวความคิดเห็น ส่วน “เจตคติ” (Attitude) นั้นหมายถึง ท่าทีหรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ปราณี รามสูต (2528) ให้คำนิยามทัศนคติไว้ว่า ทัศนคติ หมายถึง ความคิด ความเข้าใจ ความเห็น ความรู้สึก และความเชื่อของบุคคลที่มีต่อสิ่งของ บุคคล หรือสถานการณ์เป็นอย่าง ๆ ไป อันมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของบุคคลที่มีต่อสิ่งนั้น ๆ หรือเหตุการณ์นั้น ๆ
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2528) ได้สรุปว่า ทัศนคติ หมายถึง ความพร้อมของร่างกายและจิตใจที่มีแนวโน้ม จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ใด ๆ ด้วยการเข้าหาหรือถอยหนีออกไป
วันที่ 23 ส.ค. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,288 ครั้ง เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,189 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,222 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 372,229 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,198 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,742 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,350 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,197 ครั้ง |
|
|