ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ความหมายของความรู้


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,191 ครั้ง
Advertisement

ความหมายของความรู้

Advertisement

ความหมายของความรู้

          เป็นที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปว่า ความรู้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำรงค์ชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ใช้ประโยชน์สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่บนโลกนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เพราะด้วยการมีความรู้ และกระบวนการที่ให้ได้มาซึ่งความรู้คือการศึกษา แต่เนื่องจากในปัจจุบันความรู้ที่ได้ประจักษ์ขึ้นมีความหลากหลาย แตกต่าง ลึกซึ้งและแปลกไปจากอดีต จนทำให้มุมมองต่อความรู้ของคนในกลุ่มมุมมองกลุ่มแนวคิดต่างๆ มีความหลากหลายด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ในการศึกษาวิชามโนทัศน์ของการศึกษาในอิสลามจึงเป็นหนึ่งในวิชาที่จะนำเสนอมุมมองของความรู้ การศึกษาตามหลักการของอิสลาม เพื่อให้ความรู้ในที่มีอยู่ทั้งจากหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและจากการค้นพบในวงการวิชาการต่างๆ ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมุสลิมทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

ความรู้คืออะไร? และการเข้าใจความหมายของความรู้จะทำให้เกิดผลอย่างไร? จึงเป็นประเด็นแรกที่จะนำเสนอในบทนี้ และเพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้จึงขอนำเสนอความหมายของความรู้ โดยแบ่งการให้ความหมายของความรู้ออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ความหมายของความรู้ในทางภาษา และ 2) การให้ความหมายในทัศนะของนักวิชาการ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ความหมายของความรู้ในทางภาษา ในภาษาอาหรับคำที่ใช้เพื่อสื่อความหมายของความรู้ คือคำว่า علم ซึ่งมาจากรากศัพท์เดิมว่า عَلَمَ หมายถึง รู้ มีความรู้ คุ้นเคย หรือการปราศจากความโง่หรือความไม่รู้ โดยมูฮัมมัดบินซอและห์ อัลอุไซมีนได้กล่าวไว้ว่า ความหมายของ العلم ทางภาษา คือ

العلم هو نقيض الجهل , وهو إدراك الشئ على ما هو عليه إدراكا جازما

ความรู้คือ การทำให้ความโง่น้อยลง และคือการรับรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นการรับรู้ที่แท้จริง

ตัวอย่างการใช้คำว่า علم ในอัลกุรอาน คือ ในซูเราะห์อัลอันฟาล อายะห์ที่ 60 ที่ว่าความว่า

“พวกท่านไม่รู้จักพวกเขาเหล่านั้น แต่ทว่าอัลลอฮ์ทรงรู้จักพวกเขาเหล่านั้นดี”

นอกจากคำว่า علم แล้วยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้ในความหมายที่ใกล้เคียงกันอีก เช่น คำว่า معرفة และคำว่า شعور

ซึ่งคำว่า شعور มาจากรากศัพท์เดิมว่า شعور ซึ่งหมายถึง มีความรู้สึก ตระหนัก สังเกต ส่วนคำว่า شعور หมายถึง การรับรู้ ความตระหนัก ความรู้สึก ความสำนึก

แม้ว่าชุอูรฺจะหมายถึงความรู้ แต่คำนี้ไม่สามารถที่จะแสดงถึงความรู้ของอัลลอฮ์ได้ เพราะ شعور คือความรู้ที่ได้มาโดยผ่านประสาทสัมผัส ส่วนคำว่า معرفة มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า عرف หมายถึง รู้ ตระหนัก คุ้นเคย และคำว่า معرفة จึงหมายถึง ความรู้ ประสบการณ์ ความตระหนัก ความคิด

และใน Encyclopedia of Islam (1927:469) ได้อธิบายคำว่า معرفة ว่าหมายถึง ความรู้ที่ได้มาโดยผ่านประสบการณ์และการใคร่ครวญ ความแตกต่างระหว่างคำว่า معرفة กับคำว่า علم นั้น คือ معرفة บางครั้งจะใช้กับสิ่งที่สัมผัสได้ และบางครั้งจะใช้กับสิ่งที่สัมผัสตัวตนไม่ได้ ในขณะที่ علم จะไม่ใช้นอกจากกับสิ่งที่สัมผัสได้เท่านั้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าว การรู้และการเข้าใจเกี่ยวกับอัลลอฮ์จึงต้องกล่าวว่า معرفة الله หมายถึง รู้จักอัลลอฮ์ แต่สัมผัสไม่ได้ และไม่อนุญาตให้เรากล่าว่า علمت الله หมายถึง ฉันรู้จักอัลลอฮ์อย่างชัดเจนเสมือนสัมผัสได้ (อัลรอฆิบ อัลอัสฟะฮานี)

นอกจากนี้คำว่า معرفة ถูกใช้ในสิ่งที่มีจริงเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่รู้ถึงคุณลักษณะ หรือรูปลักษณ์เป็นเช่นไร ในขณะที่คำว่า علم จะถูกกล่าวใช้ในสิ่งที่มีและต้องรู้ถึงสาเหตุที่มี ชนิดที่มี ตลอดจนรูปลักษณ์ที่มี ดังนั้นเมื่อแสดงถึงความรู้ของอัลลอฮ์ก็ต้องใช้คำว่า عالم (ผู้ทรงรอบรู้) ไม่อนุญาตให้ใช้คำว่า عارف ซึ่งหมายถึงผู้ที่รู้อย่างผิวเผิน (ฟาตีมะฮ์ อิสมาอีล, 1981 :82)

2. ความหมายของความรู้โดยนักวิชาการ ฮอสเปอร์ (อ้างถึงในมาโนช เวชพันธ์ 2532, 15-16) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความรู้ไว้ว่า นับเป็นขั้นแรกของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจดจำ ซึ่งอาจจะโดยการนึกได้ มองเห็น ได้ยิน หรือ ได้ฟัง ความรู้นี้ เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเรียนรู้ โดยประกอบไปด้วยคำจำกัดความหรือความหมาย ข้อเท็จจริง ทฤษฎี กฎ โครงสร้าง วิธีการแก้ไขปัญหา และมาตรฐานเป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความรู้เป็นเรื่องของการจำอะไรได้ ระลึกได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนหรือใช้ความสามารถของสมองมากนัก ด้วยเหตุนี้ การจำได้จึงถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญในทางจิตวิทยา และเป็นขั้นตอนที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินผล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ได้ใช้ความคิดและความสามารถทางสมองมากขึ้นเป็นลำดับ

ส่วนความเข้าใจ (Comprehension) นั้น ฮอสเปอร์ ชี้ให้เห็นว่า เป็นขั้นตอนต่อมาจากความรู้ โดยเป็นขั้นตอนที่จะต้องใช้ความสามารถของสมองและทักษะในชั้นที่สูงขึ้น จนถึงระดับของการสื่อความหมาย ซึ่งอาจเป็นไปได้โดยการใช้ปากเปล่า ข้อเขียน ภาษา หรือการใช้สัญลักษณ์ โดยมักเกิดขึ้นหลังจากที่บุคคลได้รับข่าวสารต่าง ๆ แล้ว อาจจะโดยการฟัง การเห็น การได้ยิน หรือเขียน แล้วแสดงออกมาในรูปของการใช้ทักษะหรือการแปลความหมายต่าง ๆ เช่น การบรรยายข่าวสารที่ได้ยินมาโดยคำพูดของตนเอง หรือการแปลความหมายจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยคงความหมายเดิมเอาไว้ หรืออาจเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อสรุปหรือการคาดคะเนก็ได้

ประภาเพ็ญ สุวรรณ (อ้างถึงในอักษร สวัสดี 2542, 26) ได้ให้คำอธิบายว่า ความรู้ เป็นพฤติกรรมขั้นต้นที่ผู้เรียนรู้เพียงแต่เกิดความจำได้โดยอาจจะเป็นการนึกได้หรือโดยการมองเห็น ได้ยิน จำได้ ความรู้ในชั้นนี้ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำจำกัดความ ความหมาย ข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ โครงสร้างและวิธีแก้ไขปัญหา ส่วนความเข้าใจอาจแสดงออกมาในรูปของทักษะด้าน “การแปล” ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการเขียนบรรยายเกี่ยวกับข่าวสารนั้น ๆ โดยใช้คำพูดของตนเอง และ “การให้ความหมาย” ที่แสดงออกมาในรูปของความคิดเห็นและข้อสรุป รวมถึงความสามารถในการ “คาดคะเน” หรือการคาดหมายว่าจะเกิดอะไรขึ้น

เบนจามิน บลูม (Benjamin S. Bloom อ้างถึงในอักษร สวัสดี 2542, 26-28) ให้ความหมายของ ความรู้ ว่าหมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งเฉพาะ วิธีการและกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงแบบกระสวนของโครงการวัตถุประสงค์ในด้านความรู้ โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยาของความจำ อันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดระเบียบ

โดยก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1965 บลูมและคณะ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้หรือพุทธิพิสัย (cognitive domain) ของคน ว่าประกอบด้วยความรู้ตามระดับต่าง ๆ รวม 6 ระดับ ซึ่งอาจพิจารณาจากระดับความรู้ในขั้นต่ำไปสู่ระดับของความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป โดยบลูมและคณะ ได้แจกแจงรายละเอียดของแต่ละระดับไว้ดังนี้

1. ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฎการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน

2. ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการขยายความรู้ ความจำ ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล การแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสื่อความหมาย และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3. การนำไปปรับใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนำความรู้ (knowledge) ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension) ในเรื่องใด ๆ ที่มีอยู่เดิม ไปแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่ของเรื่องนั้น โดยการใช้ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น

4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการนำไปปรับใช้ โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง

5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อย ๆ หรือส่วนใหญ่ ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังเคราะห์จะมีลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อหาสาระของเรื่องต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างที่ยังไม่ชัดเจนขึ้นมาก่อน อันเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ภายในขอบเขตของสิ่งที่กำหนดให้

6. การประเมินผล (Evaluation) เป็นความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับความคิด ค่านิยม ผลงาน คำตอบ วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง โดยมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria) เป็นฐานในการพิจารณาตัดสิน การประเมินผล จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สูงสุดของพุทธิลักษณะ (characteristics of cognitive domain) ที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ การนำไปปรับใช้ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์เข้ามาพิจารณาประกอบกันเพื่อทำการประเมินผลสิ่งหนึ่งสิ่งใด

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช (2006) ได้ให้ความหมายของความรู้ไว้ว่า คือ สิ่งที่มนุษย์สร้าง ผลิต ความคิด ความเชื่อ ความจริง ความหมาย โดยใช้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ตรรกะ แสดงผ่านภาษา เครื่องหมาย และสื่อต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นไปตามผู้สร้าง ผู้ผลิตจะให้ความหมาย

ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นชื่อ ฮิเดโอะ ยามาซากิ ได้ให้คำนิยามของความรู้ไว้ในรูปพีระมิด โดยเริ่มจากฐานล่างสุดเรียกว่า “ข้อมูล” (Data) ต่อเมื่อมีการจัดกระทำข้อมูลแล้วเช่นการจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์ การตีความหลังจากนั้นข้อมูลก็กลายเป็น “สารสนเทศ” (Information) และเมื่อสารสนเทศต่างๆได้รับการจัดเป็นระบบและมีนัยในการนำไปใช้จริง สารสนเทศก็จะกลายเป็น “ความรู้” (Knowledge) แต่การนำความรู้ไปใช้อย่างไรจึงจะเกิดผลดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดนั้น เป็นเรื่องของ “ปัญญา” (Wisdom)จากคำนิยามนี้ เราเห็นได้ค่อนข้างชัดว่าสิ่งที่เรียกว่า “ความรู้” นั้นยังไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด เพราะสิ่งที่ดีที่สุดคือ “ปัญญา” เพราะฉะนั้นต้องตระหนักไว้ให้จงหนักว่า เป้าหมายของการศึกษามิใช่เรื่องสารสนเทศหรือความรู้ แต่มันคือปัญญา หลายต่อหลายครั้งเรามีความรู้มากมาย แต่เราก็แก้ปัญหาหรือทำงานอย่างชนิดขาดสติปัญญามากที่เดียว ดังที่คนโบราณกล่าวว่า “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” (จากเวปไซด์ http://www.aunyarut.com)

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ได้กล่าวถึงความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ธรรมชาติทั้งหมดที่เราเรียนรู้จากวิทยาศาสตร์นั้น ล้วนถูกจินตนาการขึ้นมาโดยมนุษย์เอง เพื่อให้สามารถอธิบายธรรมชาติได้ หรือทำความเข้าใจกับธรรมชาติได้ ทั้งๆ ที่อาจไม่ใช่ความจริงเลยก็ตาม. ไม่ต่างจากจินตนาการเรื่องเดียวกันนี้ในสมัยโบราณซึ่งเกิดจากศาสนา, ปรัมปราคติ, คำสอนของหมอผี, ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม คือจินตนาการหรือสร้างขึ้นเพื่อทำความเข้าใจกับธรรมชาติ และทำให้เราสามารถสัมพันธ์กับธรรมชาติได้ (อย่างยอมจำนนหรืออย่างคิดจะควบคุมมันก็ตาม) จินตนาการเหล่านี้เราเรียกว่า “ความรู้” ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่ความจริงนะครับ และการเรียนวิทยาศาสตร์คือเรียนเพื่อจะได้ “ความรู้” ดังกล่าวนี้ แต่ไม่ใช่รู้เนื้อหาโน่นเนื้อหานี่ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ แต่ต้องเรียนเพื่อให้เข้าถึง “ความรู้”

อัลกอฏี อับดุลญับบาร (อ้างถึงในอิบรอเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต, 2549) ได้นิยามคำว่า อัลอิลม ว่า คือ ความหมายที่สามารถให้ความกระจ่างแก่ผู้รู้ได้จนทำให้เขาสามารถหยุดการค้นหา เพราะความกระจ่างนั้น และท่านยังให้ทัศนะว่า คำที่หมายถึงความรู้ในภาษาอาหรับทั้ง 3 คำ คือ المعرفة , الدراية ,العلم สามารถใช้แทนกันได้และให้ความหมายเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม แม้คำดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้แทนกันได้ แต่ก็ไม่สามารถใช้แทนกันได้ในทุกกรณี

มูฮัมมัดบินซอและห์ อัลอุไซมีน (2005) กล่าวว่า นักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้ให้ความหมายของความรู้ไว้ว่า คือการรู้จัก และคือสิ่งที่ตรงข้ามกับญาฮิล(ไม่รู้) มูฮัมมัดอิบนุอับดุลวัฮฮาบ (อ้างถึงในอิบรอเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต, 2549) ได้ให้ความหมายว่า คือการรู้จักอัลลอฮ์ การรู้จักท่านนบีมูฮัมมัด และการรู้จักศาสนาอิสลามพร้อมด้วยหลักฐานต่างๆ

ยูซุฟ อัลกอรฏอวี (2000) ให้ความหมายว่า คือ การรู้ซึ้งถึงความจริงพร้อมด้วยหลักฐาน ไม่ลอกเลียนกันมา โดยปราศจากหลักฐานและเหตุผล ฟัตฮุลลอฮ์ กูลัน (2006) ให้คำนิยามของความรู้ไว้ว่า ความรู้ คือ การที่มนุษย์รู้จักพระเจ้าของเขาหลังจากที่เขารู้จักตัวของเขาเอง หรือเขานึกภาพว่าเขาเห็นอัลลอฮ์ในตัวของเขาเอง หลังจากนั้นจะทำให้ตัวของเขาเป็นกระจกส่อง เป็นการเปิดในความรู้สึกของเขา และมีความพยายามที่จะไปถึงการรู้จักอัลลออ์และมีความรู้เกี่ยวกับอัลลอฮ์นี้คือความรู้ที่แท้จริง ซัยยิด กุตุบได้ให้คำจำกัดความความรู้ตามอิสลามซึ่งสอดคล้องกับอิบนิมัสอูดว่า “ความรู้คือบางสิ่งที่มากกว่าความเข้าใจ ความรู้คือความเข้าใจที่สมบูรณ์และการปฏิสัมพันธ์กับความเข้าใจในเบื้องลึกของจิตวิญญาณและสติสัมปชัญญะ ซึ่งติดตามมาด้วยการกระทำที่สอดคล้องลงรอยกัน (Ahmad Muoussalli, 1990. อ้างถึงใน นิพนธ์ โซะเฮง, 2548)

จากที่นำเสนอไปข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ความรู้คือการรู้จัก การเข้าใจอย่างมีหลักฐานและเหตุผล มิใช่การรู้จักหรือการเข้าใจโดยแบบงมงายหรือการเข้าใจโดยไม่มีหลักฐานอ้างอิง และเป้าหมายหลักของความรู้ในอิสลามคือการรู้จักอัลลอฮ์ แต่การจะรู้จักอัลลอฮ์ได้นั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมนุษย์รู้จักตนเอง และการที่มนุษย์เข้าใจหรือรู้จักตัวเองจะทำให้รู้จักอัลลอฮ์ชัดเจนขึ้น และเมื่อเขาใกล้ชิดกับอัลลอฮ์ ดังอัลกุรอานในซูเราะห์อัลหัซร์ อายะห์ที่ 19 ที่ว่า ความว่า

“สูเจ้าจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผู้ที่ลืมอัลลอฮ์ มิเช่นนั้นอัลลอฮ์จะทำให้พวกเขาลืมตัวของพวกเขาเอง ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ที่ฝ่าฝืน”

บทเรียนสำคัญที่ได้รับจากการศึกษาถึงการให้ความหมายของความรู้ข้างต้นคือทำให้เราได้มั่นใจว่า การเพิ่มพูนความรู้ การศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่แท้จริงนั้นจะเพิ่มพูนศรัทธากับอัลลอฮ์ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากความรู้ที่มนุษย์ได้มีเพิ่มขึ้น จะทำให้มนุษย์ได้รู้จักตนเองมากขึ้น เมื่อมนุษย์รู้จักตนเองมากขึ้นก็จะส่งผลได้รู้จักกับพระเจ้าของเขามากขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายถึงมีศรัทธาที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน และในทางกลับกัน หากความรู้ที่เพิ่มขึ้นกลับทำให้เขาห่างไกลจากศรัทธาต่อพระเจ้าแล้ว นั่นก็คือ ความรู้ที่เพิ่มขึ้นนั้นคือความรู้ที่เป็นเท็จ มิใช่สัจจธรรมจากพระเจ้า และเช่นกันในอนาคตความรู้ดังกล่าวจะถูกปรับเปลี่ยนหรือไม่ได้รับการยอมรับจากแวดวงวิชาการต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์มีความรู้ที่น้อยนิดเท่านั้น ดังโองการในอัลกุรอานซูเราะห์อัล-อิสรออฺ อายะห์ที่ 85 ที่ว่า

“และพวกท่านจะไม่ได้รับความรู้ใดๆ เว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น”

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 8773 วันที่ 16 พ.ย. 2552


ความหมายของความรู้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

โคมไฟเจ๋ง ๆ !!

โคมไฟเจ๋ง ๆ !!


เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เลขเด็ด 1 ธันวาคม 2552

เลขเด็ด 1 ธันวาคม 2552


เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
คุณมีความสุขในชีวิตไหม?

คุณมีความสุขในชีวิตไหม?


เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
"แบบทดสอบความเลว"

"แบบทดสอบความเลว"


เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง
ของไหว้..วันตรุษจีน....

ของไหว้..วันตรุษจีน....


เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
นาตาลี คลุ้มครั่ง!!!

นาตาลี คลุ้มครั่ง!!!


เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

บันไดแห่งชีวิต.....ฤาจะใช่ลิขิตจากพรหม...

บันไดแห่งชีวิต.....ฤาจะใช่ลิขิตจากพรหม...

เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปรับสมดุลร่างกายด้วยผลไม้และธัญพืชไทย
ปรับสมดุลร่างกายด้วยผลไม้และธัญพืชไทย
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

ตลึง!!...โกง400ล้านหนุ่มแบงค์..(อีกแล้ว)....เสวยสุข...
ตลึง!!...โกง400ล้านหนุ่มแบงค์..(อีกแล้ว)....เสวยสุข...
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย

อ่านใจชายจากการมองกระจก
อ่านใจชายจากการมองกระจก
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

วันใหม่..เดือนใหม่..ปีใหม่ : สร้างสิ่งใหม่ๆๆ มาเพิ่งสิ่งเก่าให้มาขึ้น  สิ่งนั้นคือ......
วันใหม่..เดือนใหม่..ปีใหม่ : สร้างสิ่งใหม่ๆๆ มาเพิ่งสิ่งเก่าให้มาขึ้น สิ่งนั้นคือ......
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

เจาะลึกการศึกษาไทย และการศึกษาต่างประเทศ
เจาะลึกการศึกษาไทย และการศึกษาต่างประเทศ
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย

"หวย 00 โผล่ครั้งที่ 3 ในรอบ 13 ปี"
"หวย 00 โผล่ครั้งที่ 3 ในรอบ 13 ปี"
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วันออกพรรษา
วันออกพรรษา
เปิดอ่าน 18,217 ครั้ง

ทำไงดีหนอ…กับอาการแพ้ท้อง?
ทำไงดีหนอ…กับอาการแพ้ท้อง?
เปิดอ่าน 13,011 ครั้ง

อนาคต 10 อย่างที่กำลังจะหายไป
อนาคต 10 อย่างที่กำลังจะหายไป
เปิดอ่าน 18,143 ครั้ง

ปลิงหรือทากกัด
ปลิงหรือทากกัด
เปิดอ่าน 35,151 ครั้ง

เลเซอร์รักแร้ IPL vs YAG เลือกยังไงให้เหมาะกับผิวและได้ผลดีในระยาว
เลเซอร์รักแร้ IPL vs YAG เลือกยังไงให้เหมาะกับผิวและได้ผลดีในระยาว
เปิดอ่าน 2,425 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ