ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เตรียมความพร้อม..!! กับ "ฝนดาวตก ลีโอนิดส์" 17 พ.ย.กลับมาอีกครั้ง


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,164 ครั้ง
Advertisement

เตรียมความพร้อม..!! กับ "ฝนดาวตก ลีโอนิดส์" 17 พ.ย.กลับมาอีกครั้ง

Advertisement

"ฝนดาวตก ลีโอนิดส์" 17 พ.ย.กลับมาอีกครั้ง

ภาพปรากฎการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์เมื่อปี 2544 ซึ่งบันทึกภาพโดย นายสุเมธี เพ็ชร์อำไพ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ของ สดร.เมื่อปี 2551

 

กลับมาอีกครั้งหวังว่าจะยิ่งใหญ่ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" ตั้งแต่กลางดึกของวันที่ 17 ถึงเช้าตรู่ 18 พ.ย.นี้ คาดมีปริมาณมากถึงชั่วโมงละ 100-500 ดวง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเห็นได้ดีสุดในโลก แนะชมตั้งแต่ 5 ทุ่มจะเห็นภาพสวยกว่าช่วงเกิดฝนดาวตกสูงสุด

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา

       
       ระหว่างแถลงข่าวกิจกรรม "Winter Sky มหัศจรรย์ปรากฏการณ์และกิจกรรมดาราศาสตร์แห่งปี" เมื่อวันที่ 9 พ.ย.52 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กล่าวว่า ระหว่างเดือน พ.ย.52-ก.พ.53 มีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าติดตามหลายปรากฏการณ์ และเป็นช่วงทีท้องฟ้าในประเทศไทยเหมาะแก่การดูดาว เนื่องจากมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดความเย็นและอากาศแห้งมายังภูมิภาคต่างๆ ของไทย
       
       สำหรับวันที่ 17-18 พ.ย.นี้มีปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่เคยได้รับความสนใจมากในช่วงปี 2541 และปี 2544 โดยฝนดาวตกดังกล่าวเกิดจากสายธารฝุ่นดาวหาง 55พี/เทมเพล-ทัทเทิล (55p/tempel-Tuttle) และจากการคำนวณของนักดาราศาสตร์หลายคน ซึ่งรวมถึงนักดาราศาสตร์จาก
องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) พบว่า ฝนดาวตกลีโอนิดส์จะเกิดจากสายธารฝุ่นที่ดาวหางทิ้งไว้เมื่อปี พ.ศ.2009 และ 2076
       
       ปีนี้นักดาราศาสตร์หลายสำนักคำนวณตรงกันว่าจะมีฝนดาวตกเป็นร้อยดวง แต่ก็มีความแตกต่างกันบ้างโดยอยู่ในช่วง 100-500 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งจะเกิดฝนดาวตกมากที่สุดประมาณ 04.00-05.30 น.ของวันที่ 18 พ.ย.
       
       อย่างไรก็ตาม ดร.ศรันย์กล่าวว่า จากที่ได้สังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตกมากกว่า 20 ปี
พบว่าช่วงเวลา 23.00 น.เป็นช่วงเวลาที่เห็นฝนดาวตกได้สวยที่สุด
       

       เหตุผลที่ฝนดาวตกในช่วงเวลาดังกล่าวสวยที่สุด เพราะฝุ่นดาวหางจะผ่านชั้นบรรยากาศโลกแบบเฉียดๆ ไม่วิ่งเข้าตรงๆ เหมือนช่วงที่เกิดฝนดาวตกสูงสุด โดยจะเห็นดาวตกเป็นสายเหมือนขบวนรถไฟ และวิ่งผ่านชั้นบรรยากาศช้ากว่า ขณะที่ช่วงเกิดดาวสูงสุดซึ่งมีความเร็วถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที
       
       “ฝนดาวตกลีโอนิดส์นี้น่าทึ่งตรงที่เมื่อเกิด "ฝนดาวตกลูกไฟ" (fireball) จะเกิดความร้อนสูงมาก และเกิดแสงสีเขียว ซึ่งเกิดจากความร้อนที่ถูกทิ้งไว้และทำให้ออกซิเจนในอากาศเกิดการเรืองแสง ส่วนบางครั้งที่เห็นแสงสีเขียวเป็นทางหยึกหยักนั้นเนื่องจากอากาศที่ถูกลมพัด" ดร.ศรันย์กล่าว
       
       สำหรับฝนดาวตกลีโอนิดส์ครั้งนี้ ดร.ศรันย์บอกว่า ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่หลายคนจะได้เห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ปริมาณมาก อีกทั้งทางเอเชียตะวันออกจะเห็นได้ดีที่สุด
       
       อีกทั้ง นักดาราศาสตร์ที่วิจัยฝนดาวตกจะเดินทางมาศึกษาในภูมิภาคนี้ โดยการศึกษาฝนดาวตกทำให้ทราบสภาพแวดล้อมรอบโลก และการกระจายของฝุ่นละอองรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งที่สุดจะนำไปสู่ความเข้าใจกำเนิดระบบสุริยะ แต่สำหรับเมืองไทยยังไม่มีใครวิจัยฝนดาวตกอย่างชัดเจนนัก
       
       "มีการศึกษาว่าทุกๆ กว่า 30 ปีจะมีฝนดาวตกลีโอนิดส์ปริมาณมหาศาลที่เป็น "พายุฝนดาวตก" และมีรายงานกว่าในปี 2376 ที่สหรัฐฯ ได้เห็นฝนดาวตกมากถึง 100,000 ดวงต่อชั่วโมง และเมื่อปี 2541 ก็คำนวณว่าจะเกิดพายุฝนดาวตก แต่ก็ผิดคาด จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มคำนวณเก่งขึ้นและพยากรณ์ว่าปี 2544 จะเกิดพายุฝนดาวตกอีกครั้ง 17-18 พ.ย.ตอนนั้นคาดว่าจะได้เห็นเยอะสุดในวันที่ 18 แต่ปรากฎว่ากลับเห็นเยอะในวันที่ 17” ดร.ศรันย์กล่าว
       
       อย่างไรก็ดี ดร.ศรันย์บอกว่า การเกิดฝนดาวตกนั้นมีความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจไม่เกิดฝนดาวตกปริมาณ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าน่าจะมีโอกาสมากถึง 50%
       
       นอกจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่สวยงามแล้ว ยังมีฝนดาวตกเจมินิดส์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 13-14 ธ.ค. โดยปีนี้เป็นโอกาสดีที่จะได้ติดตาม เพราะปีนี้ไม่มีแสงรบกวนจากดวงจันทร์ โดยฝนดาวตกชนิดนี้มีปริมาณมากถึง 100 ดวงต่อชั่วโมง แต่เป็นฝนดาวตกที่สว่างไม่มากนัก มีความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อนาที ซึ่งมีเวลาพอที่จะชี้ชวนกันดูได้ ไม่เหมือนฝนดาวตกลีโอนิดส์

 

ภาพจำลองการเกิดฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่มีจุดเรเดียนท์ (Radiant)

หรือจุดกระจายฝนดาวตกอยู่ที่กลุ่มดาวสิงโต
       
       สำหรับข้อแนะนำในการชมฝนดาวตกนั้น ดร.ศรันย์บอกว่า ให้นอนดูโดยช่วงเกิดฝนดาวตกสูงสุดจุดศูนย์กลางจะอยู่กลางศรีษะพอดี ส่วนการถ่ายภาพนั้นไม่อาจบอกได้ว่าจะถ่ายมุมไหน ต้องอาศัยการเดาหรือเปิดหน้ากล้องเพื่อรอให้ดาวตกวิ่งผ่านหน้ากล้อง เนื่องจากฝนดาวตกมีอัตราเร็วสูงมาก
       
       เป็นที่น่าเสียดายที่ระหว่างเดือน พ.ย.จนถีง ก.พ.ปีหน้ายังมีปรากฎการณ์ดาราศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจและประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตได้ อาทิ ปรากฎการณ์จันทรุปราคารับปีใหม่ในวันที่ 1 ม.ค.53 ในเวลา 01.52-02.52 น. แต่เกิดคราสบังเพียงแค่ 10% เท่านั้น
       
       จากนั้นเป็นปรากฎการณ์สุริยุปราคาบางส่วนวันที่ 15 ม.ค.53 ซึ่งทางจังหวัดในภาคเหนือ อย่าง จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่จะเห็นการบดบังของคราสได้มากที่สุดในพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ และเห็นส่วนหนึ่งของปรากฎการณ์สุริยุปราคาวงแหวนที่เกิดคราสเริ่มต้นที่แอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย อินเดียตอนใต้ ศรีลังกาตอนบน พม่าและสิ้นสุดที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
       
       ส่วนปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายฤดูหนาวคือการเข้าใกล้ของดาวอังคารในเดือน ม.ค.-ก.พ.53 ซึ่ง ดร.ศรันย์กล่าวว่า จะเห็นดาวสีแดงบนท้องฟ้าเด่นชัดมาก และในวันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดคือช่วงเช้าของวันที่ 28 ม.ค.เป็นระยะทาง 99,331,411 กิโลเมตร มีขนาดปรากฏ 14.11 ฟิลิปดา หรือประมาณหลุมเล็กๆ บนดวงจันทร์ โดยดวงจันทร์มีขนาดปรากฏ 30 ลิปตา ซึ่ง 1 ลิปคาเท่ากับ 60 ฟิลิปดา
       
       ทั้งนี้ในวันที่ 30 ม.ค.53 เป็นที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาิทตย์ ซึ่ง ดร.ศรันย์กล่าวว่าเราจะได้เห็นดาวอังคารในช่วงพร้อมกับที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และจะเห็นชัดตลอดทั้งคืนจนกว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าในตอนเช้า และในช่วงนี้เราจะได้สังเกตพื้นผิวและปรากฏการณ์ฟ้าหลัว (Haze) บนดาวอังคารได้ชัดเจนขึ้น
       
       ปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกนี้เกิดขึ้นทุกๆ 26 เดือน โดยครั้งที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดคือเมื่อ 28 ส.ค.46 ซึ่งเป็นการเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 5,000 ปี โดยดาวอังคารมีขนาดปรากฏ 25 ฟิลิปดา และเนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารเป็นวงรี โอกาสที่ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกโดยมีขนาดใกล้เคียงกับ 25 ฟิลิปดานี้ จะเกิดขึ้นทุกๆ 18 เดือน
       
       ปรากฏการณ์นี้ ยังทำให้เกิดการส่งฟอร์เวิร์ดเมลที่มีข้อมูลคลาดเคลื่อนว่า เราจะได้เห็นดาวอังคารขนาดเท่าดวงจันทร์ เวียนมาถึงกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของเราทุกๆ 2 ปีด้วย

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ 

 ขอบคุณ อ. น้องhttp://blog.eduzones.com/webter/36646


โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 2614 วันที่ 16 พ.ย. 2552

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


เตรียมความพร้อม..!! กับ "ฝนดาวตก ลีโอนิดส์" 17 พ.ย.กลับมาอีกครั้ง เตรียมความพร้อม..!!กับฝนดาวตกลีโอนิดส์17พ.ย.กลับมาอีกครั้ง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

หย่ากาแฟ...ไม่ให้ปวดหัว

หย่ากาแฟ...ไม่ให้ปวดหัว


เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
ภาพสุดยอด เห็นแล้วเสียว

ภาพสุดยอด เห็นแล้วเสียว


เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
ประโยชน์ของพริกป่น

ประโยชน์ของพริกป่น


เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง
ไม่มีอะไรยาก

ไม่มีอะไรยาก


เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง
{ 7 เคล็ดลับชะลอความแก่ }

{ 7 เคล็ดลับชะลอความแก่ }


เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
อยากจีบสาว.....ควรทำไงดี ?

อยากจีบสาว.....ควรทำไงดี ?


เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง
 :: ตาบอดคลำหมา

:: ตาบอดคลำหมา


เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
10 นาทีก็ทำได้

10 นาทีก็ทำได้


เปิดอ่าน 7,192 ครั้ง
วิธีการเจริญสติ....

วิธีการเจริญสติ....


เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

Comtoon การ์ตูนล้อเลียนสังคม...ดีจัง

Comtoon การ์ตูนล้อเลียนสังคม...ดีจัง

เปิดอ่าน 7,184 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
น้ำผึ้งช่วยรักษาโรคกระเพาะ
น้ำผึ้งช่วยรักษาโรคกระเพาะ
เปิดอ่าน 7,167 ☕ คลิกอ่านเลย

เครื่องพิมพ์บัตร พีวีซี การ์ด PCV card EDIsecure® DCP 360i
เครื่องพิมพ์บัตร พีวีซี การ์ด PCV card EDIsecure® DCP 360i
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำบุญครั้งเดียว....ได้ผลบุญสามครั้ง
ทำบุญครั้งเดียว....ได้ผลบุญสามครั้ง
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย

ปริศนาธรรม...3 นิ้ว!
ปริศนาธรรม...3 นิ้ว!
เปิดอ่าน 7,167 ☕ คลิกอ่านเลย

..น้ำสี..ดำ
..น้ำสี..ดำ
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย

มือถือ...กับมะเร็งดวงตา
มือถือ...กับมะเร็งดวงตา
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

5 สเต็ปคิดสักนิดก่อนตัดสินใจกู้
5 สเต็ปคิดสักนิดก่อนตัดสินใจกู้
เปิดอ่าน 12,331 ครั้ง

อันดับเมืองน่าอยู่
อันดับเมืองน่าอยู่
เปิดอ่าน 14,079 ครั้ง

ใช้ร้านเน็ตให้ปลอดภัย
ใช้ร้านเน็ตให้ปลอดภัย
เปิดอ่าน 9,079 ครั้ง

Franck Muller นาฬิกาไม่เรียงเลข โดดไปมา คลิกดูซิว่าทำงานยังไง
Franck Muller นาฬิกาไม่เรียงเลข โดดไปมา คลิกดูซิว่าทำงานยังไง
เปิดอ่าน 23,417 ครั้ง

ศาสนา เรื่องที่ไม่เคยรู้ ตอนที่ 1 สาระน่ารู้ตามหลักศาสนาพุทธ  เรื่อง การถวายสังฆทาน
ศาสนา เรื่องที่ไม่เคยรู้ ตอนที่ 1 สาระน่ารู้ตามหลักศาสนาพุทธ เรื่อง การถวายสังฆทาน
เปิดอ่าน 2,411 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ