ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี
การพัฒนาประเทศไทยในสี่ทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าจะได้รับผลสำเร็จหลายประการดังเห็นได้จากการขยายบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบายมากขึ้น แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่สังคมไทยประสบอยู่ในปัจจุบัน พบว่าภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินของประเทศที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๔๐ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกลไกและการบริหารจัดการในประเทศของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน มีความไม่เหมาะสมหลายประการ เมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมและกระแสโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยที่อ่อนแอ จึงนำไปสู่การพัฒนาที่ขาดความสมดุลและไม่ยั่งยืน
การบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสมของภาคส่วนต่างๆ ของสังคมไทย ปรากฏให้เห็นในลักษณะต่างๆ กล่าวคือ ภาครัฐหลายหน่วยงานใช้จ่ายงบประมาณอย่างฟุ่มเฟือยและ
ลงทุนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อย่างไม่โปร่งใส ระบบราชการขาดการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะกฎระเบียบต่างๆ ที่ยังล้าสมัยขาดความยืดหยุ่น เอื้อต่อการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก ข้าราชการขาดจิตสำนึกถึงความ
รับผิดชอบต่อสาธารณะ รัฐวิสาหกิจดำเนินกิจการที่ไม่มีประสิทธิภาพขาดความโปร่งใส ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่รุนแรงในสังคมไทย ในขณะที่ธุรกิจเอกชนบริหารกิจการอย่างขาดความระมัดระวัง เช่น การปล่อยกู้แก่โครงการที่มีความเสี่ยงสูง การแสวงหากำไรโดยมิชอบ เป็นการทำลายความเข้มแข็งของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของชาติโดยส่วนรวม และนำมาซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจของไทยในที่สุด
ในขณะเดียวกัน ความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ภายใต้ระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลก ได้กดดันให้มีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการในภาครัฐ ภาคการเมือง และภาคธุรกิจเอกชน ให้เน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ อีกทั้งทิศทางการพัฒนาของสังคมโลกที่หันมาผสมผสานยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นการพึ่งพาตนเอง ควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์การพัฒนากระแสหลัก ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาท้องถิ่นและการกระจายอำนาจอย่างกว้างขวางทั่วโลก
การแก้ไขวิกฤตและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องแก้ปัญหาพื้นฐานของการบริหารจัดการที่ด้อยประสิทธิภาพ โดยอาศัยสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยทั้งภายในและภายนอก เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี มีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ปรับบทบาทภาครัฐและลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน พัฒนาระบบข้อมูลและเสริมสร้างขีดความสามารถในการวางแผนและวิเคราะห์ ควบคู่กับการกระจายภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจเอกชน เพื่อวางรากฐานระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็ง สนับสนุนภาคการผลิตให้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเป็นการวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยในระยะยาว
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงกำหนดแนวทางพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดีอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ และนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐานการพัฒนาทั้งการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง การยึดถือหลักความพอเพียง การนำความรู้ต่างๆ มาใช้อย่างรอบคอบ และการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้เกิดมโนสำนึกใน
คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต พร้อมทั้งนำหลักบริหารจัดการที่ดี คือ หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส ที่สามารถตรวจสอบได้ หลักนิติธรรม และหลักคุณธรรม มากำหนดเป็นแนวทางการพัฒนาให้สามารถใช้เป็นภูมิคุ้มกันของภาคเศรษฐกิจและสังคม พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ
๑.๑ เพื่อเสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกภาคส่วนของสังคมไทย ทั้งภาค
การเมือง ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัว ให้เป็นพื้นฐานสำคัญในการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน
๑.๒ เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน โปร่งใส และพร้อมที่จะได้รับการตรวจสอบจากประชาชนและสังคมโดยรวม
๑.๓ เพื่อสนับสนุนกระบวนการกระจายอำนาจ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐
๑.๔ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลบนพื้นฐานของสิทธิและหน้าที่ในทุกภาคส่วนของสังคมไทย
๒.๑ ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไกการทำงานรวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ สามารถวัดผลงานและผลการให้บริการของภาครัฐ ทั้งด้านความพอใจของประชาชนและต้นทุนการดำเนินงานได้
๒.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีระบบและกลไกสนับสนุนการกระจายอำนาจอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใส
๒.๓ การดำเนินงานของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคการเมือง โปร่งใส มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและสังคมสูงขึ้น
๒.๔ ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
๒.๕ ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่
รวดเร็ว
เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ปราศจากการทุจริต บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคม ดังนั้น การพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จำเป็นต้องให้ความสำคัญลำดับสูงกับการปฏิรูปภาครัฐให้เป็นองค์กรขนาดเล็กที่มีคุณภาพ การปรับเปลี่ยนระบบการจัดทำงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว สอดคล้องกับนโยบายและแผนชาติ และการปรับระบบและกลไกเพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจ ควบคู่กับการปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างจริงจัง โดยผนึกกำลังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แนวทางการพัฒนาที่ควรดำเนินการ ดังนี้
๓.๑ ปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐไปสู่แนวทางการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถเอื้ออำนวยต่อการทำงานของทุกภาคส่วนในการฟื้นฟูประเทศและการสร้างความ
แข็งแกร่งของระบบเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กับการกระจายผลการพัฒนาสู่ประชาชนอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ จัดให้มีระบบการทำงาน ระบบข้อมูล และระบบงบประมาณแบบมุ่งผลลัพธ์ ปรับปรุงระบบกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคม โดยจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนา ดังนี้
(๑) ปรับบทบาทภารกิจและวิธีบริหารงานของระบบราชการแนวใหม่ โดย
(๑.๑) ปรับโครงสร้าง ลดขนาด และเพิ่มประสิทธิภาพของภาครัฐหนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244
https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,191 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,200 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,359 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง