Advertisement
ศิลปะการจัดสวนขนาดเล็กในภาชนะมีมายาวนานแล้ว สมัยก่อนในบ้านเราเอง ก็มีการจัดสวนซึ่งจำลองธรรมชาติ
แบบย่อส่วนมาไว้ในกระถางที่เรียกว่า “เขามอ” ส่วนต่างประเทศนิยมจัดลงในขวดหรือภาชนะแก้วเรียกว่า
“Terrarium” การจัดสวนแบบนี้ต้องใช้ความอดทนค่อยๆใช้เครื่องมือจัดวางอย่างระมัดระวัง
เมื่อจัดเสร็จแล้วสามารถนำมาวางประดับตามที่ต่าง ๆในบ้านได้
แต่ก็ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ เพื่อให้สามารถอยู่ได้ยาวนานที่สุด
ครั้งนี้เราจะพาไปดูเทคนิคการจัดสวนขนาดเล็กในภาชนะซึ่งต้องอาศัยหลักการดังกล่าว
หากแต่เปลี่ยนจากขวดหรือกระถางมาเป็นตู้ปลาใส ๆ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าสามารถจัดสวนได้หลากหลายรูปแบบ
และดูแลได้ไม่ยาก บ้านใครมีตู้ปลาเก่า ๆที่ไม่ได้ใช้ เตรียมไว้ใกล้มือ แล้วลองมาทำพร้อม ๆกันได้เลยค่ะ
มืออาชีพ อาจารย์พลอย น้ำดี ผู้เชี่ยวชาญการจัดสวนในตู้ปลา
เคยได้รับรางวัลพระราชทานจากการจัดประกวดตู้ปลาในงานประมงน้อมเกล้าฯ
ปัจจุบันเปิดร้านต้นไม้และเป็นนักจัดสวนอิสระ
รูปแบบของสวนในตู้
การจัดสวนลักษณะนี้ก็คล้ายกับการจัดสวนขวดหรือสวนถาด
เพียงแต่เปลี่ยนจากภาชนะมาเป็นตู้ปลาแทน สามารถจัดตกแต่งได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. สวนบก เหมือนกับการจัดสวนถาดทั่วไปคือ
จัดวางต้นไม้ให้เกิดจังหวะเหมือนสวนหย่อมขนาดเล็ก โดยใช้พรรณไม้ที่ชอบสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน
เช่น ใช้พืชกลุ่มแคคตัสจัดสวนแบบทะเลทราย หรือใช้ไม้ในร่มจัดในรูปแบบสวนป่า
2. สวนกึ่งบกกึ่งน้ำ
จัดตกแต่งโดยมีการทำระบบน้ำตกขนาดเล็กหมุนเวียนน้ำภายในตู้ หรืออาจทำบ่อน้ำเล็ก ๆไว้ในตู้
เหมาะสำหรับปลูกต้นไม้ที่ต้องการความชื้นสูง อาจเลี้ยงสัตว์ประเภทครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างเต่าได้
3. สวนไม้น้ำ
เป็นการจัดตกแต่งไม้น้ำสำหรับตู้ปลา โดยใช้ไม้น้ำมาจัดองค์ประกอบทำให้เกิดเรื่องราว
หรือใช้สีสัน รูปทรงและผิวสัมผัสที่แตกต่างกันของไม้น้ำช่วยทำให้เกิดมิติ มีน้ำเป็นตัวทำให้เกิดความเคลื่อนไหว
อาจเลี้ยงปลาหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ความชอบ
หากเลี้ยงปลาควรใส่ใจในเรื่องระบบกรองให้มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนปลา ต้นไม้ และขนาดของตู้
ขั้นตอนการจัดสวนตู้
1. เช็ดตู้ปลาเปล่าให้สะอาด
2. ใช้กระดาษแข็งหรือพลาสติกติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมกะขนาดให้พอเหมาะกับต้นไม้ที่ต้องการปลูก
จากนั้นวางลงในตู้ให้อยู่บริเวณกึ่งกลาง และโรยกรวดรอบนอกกรอบสี่เหลี่ยมที่ทำไว้
เพื่อป้องกันดินปลูกต้นไม้ทลายลงมา และช่วยบังดินด้านใน
3. ใส่สารพอลิเมอร์ที่แช่น้ำจนอุ้มน้ำเต็มที่รองก้นตู้บริเวณช่องสี่เหลี่ยมที่เตรียมไว้
จากนั้นใส่ดินผสมทับลงไป หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร
4. ถอดต้นไม้ออกจากกระถาง ค่อย ๆแกะวัสดุปลูกออกจากรากจนเหลือตุ้มรากเล็กที่สุด
ควรระมัดระวังไม่ให้รากขาดเสียหาย จากนั้นจัดต้นไม้ลงในช่องสี่เหลี่ยม ค่อย ๆเรียงให้ได้จังหวะตามต้องการ
โดยเรียงไม้ระดับต่ำไว้ด้านหน้า ไม้ระดับสูงกว่าอยู่ด้านหลัง
และเลือกต้นไม้ที่มีใบละเอียดบ้างใหญ่บ้าง และต้นไม้ที่มีสีสันปลูกผสมกัน
5. เมื่อเรียงได้จังหวะตามต้องการแล้วจึงใส่ดินผสมลงไปตรงโคนต้นและกดเบาๆ เพื่อให้รากต้นไม้ยึดกับดิน
จากนั้นโรยกรวดนอกกรอบสี่เหลี่ยม เพื่อป้องกันดินกระจายออกมา
6. รวบต้นไม้ขึ้นมาอย่างเบามือ แล้วค่อย ๆดึงกรอบสี่เหลี่ยมออก และเกลี่ยดินให้เรียบร้อย
จากนั้นโรยปุ๋ยละลายช้าบางๆ
7. โรยกรวดปิดทับดิน (อาจเลือกใช้กรวดสลับสีกันได้ตามต้องการ) และจัดต้นไม้ให้ได้จังหวะ
เก็บรายละเอียดต่าง ๆให้เรียบร้อย โดยใช้กรรไกรด้ามยาวเล็มกิ่งหักหรือเน่าเสียออก
อาจจัดตกแต่งด้วยกิ่งไม้ หรือตุ๊กตาสัตว์เพิ่มเติม
8. สเปรย์น้ำให้ชุ่ม หากนำไปวางในอาคารควรติดตั้งหลอดไฟ เพื่อให้ต้นไม้ได้รับแสงสว่างเพียงพอที่จะนำไปใช้
สังเคราะห์แสง แต่หากวางไว้ในบริเวณที่แสงส่องถึงก็ไม่จำเป็นต้องติดหลอดไฟ
*อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดสวนตู้กระจกทั้งหมดหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร ร้านจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์
เกี่ยวกับตู้ปลา แหล่งใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้แก่ ตลาดนัดสวนจตุจักร ตลาดธนบุรี-สนามหลวง 2 เป็นต้น
ระบบภายในตู้
เนื่องจากสวนในตู้กระจกจะเห็นตั้งแต่พื้นตู้ด้านล่างขึ้นไป ดังนั้นจึงต้องใช้กรวดปกปิดให้ดูเรียบร้อย
สิ่งสำคัญคือเรื่องการระบายน้ำ การจัดสวนในตู้จะไม่มีการระบายน้ำที่ดี จึงจำเป็นต้องมีการให้น้ำอย่างเหมาะสม
โดยสามารถให้น้ำวันละครั้งแต่ให้จนชุ่ม
หรืออีกวิธีง่าย ๆสำหรับผู้ไม่มีเวลาคือ ปักเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในดินและดูอุณหภูมิ
หากอุณหภูมิต่ำประมาณ 22 องศาเซลเซียส สันนิษฐานได้ว่าความชื้นพอเหมาะ
และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจึงรดน้ำเพิ่มเติม ดังนั้นการใส่พอลิเมอร์ในดินตั้งแต่แรกมีส่วนช่วยได้มาก
เพราะหากรดน้ำเกินพอลิเมอร์จะดูดซับน้ำไว้ ขณะเดียวกันก็ยังเก็บกักความชื้นไว้ได้นาน
กรณีที่ติดตั้งระบบให้น้ำ สามารถใช้ตัวตั้งเวลาให้น้ำอัตโนมัติ โดยให้น้ำวันละ 3 เวลา ครั้งละ 2 นาที
และใช้หัวสปริงเกลอร์แบบพ่นหมอก สำหรับสวนกึ่งบกกึ่งน้ำที่มีการติดน้ำตกในตู้ควรต่อมายังระบบกรองและ
หมุนเวียนน้ำต่อไปยังสปริงเกลอร์เพื่อรดน้ำต้นไม้ในตู้ได้
สำหรับสวนไม้น้ำให้ใช้ระบบเดียวกับตู้ปลาคือต้องมีระบบกรองน้ำและติดเครื่องผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และควรเลี้ยงปลาซักเกอร์เพื่อช่วยกินตะไคร่และขมวนน้ำ ทั้งยังช่วยทำความสะอาดตู้ปลาด้วย
เรื่อง : “บุหลัน”
ภาพ : ราสิเกติ์ สุขกาล
ที่มา บ้านและสวน
วันที่ 16 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,941 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,437 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,245 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,200 ครั้ง |
เปิดอ่าน 56,588 ครั้ง |
|
|