Advertisement
ในชีวิตประจำวันของคนเรามีการใช้สำนวนไทยอย่างมาก โดยเฉพาะไนการสื่อสารของมนุษย์ ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับสำนวนไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในที่นี้จะได้ทราบถึง สาเหตุ ของการเกิดสำนวนไทยมีความเป็นมาอย่างไร สำนวนไทยมีลักษณะของคำเป็นอย่างไร และสำนวน ไทยมีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อมนุษย์มากน้อยเพียงใ ดในชีวิตประจำวัน
ลักษณะสำนวนไทย
ข้อความที่เป็นสำนวนไทยมีลักษณะดังนี้ คือ
1. มีความหมายโดยนัย คือความหมายไม่ตรงตัวตามความหมายโดยอรรถ พูดอย่างหนึ่งมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น
กินปูนร้อนท้อง - รู้สึกเดือดร้อนเพราะมีความผิดอยู่
ขนทรายเข้าวัด - ร่วมมือร่วมใจกันทำบุญ
ฤษีเลี้ยงลิง - เลี้ยงเด็กซุกซน เป็นต้น
2. ใช้ถ้อยคำกินความมาก การใช้ถ้อยคำในสำนวนส่วนใหญ่เข้าลักษณะใช้คำน้อยกินค วามมาก เนื้อความมีความหมายเด่น เช่น ก่อหวอด ขึ้นคาน คว่ำบาตร ขมิ้นกับปูน คมในฝัก กิ้งก่าได้ทอง ใกล้เกลือกินด่าง เด็ดบัวไว้ใย ซึ่งล้วนมีความหมายอธิบายได้ยืดยาว ส่วนที่ใช้ถ้อยคำหลายคำ แต่ละคำก็ล้วนมีความหมายและช่วยให้ได้ความกระจ่างชัด เจน
3. ถ้อยคำมีความไพเราะ การใช้ถ้อยคำในสำนวนไทยมักใช้ถ้อยคำสละสลวยมีสัมผัสค ล้องจอง เน้นการเล่นเสียงสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ให้เสียงกระทบกระทั่งกัน เกิดความไพระน่าฟังทั้ง สัมผัสภายในวรรคและระหว่างวรรค มีการจัดจังหวะคำหลายรูปแบบ เช่น เป็นกลุ่มคำซ้อน 4 คำ อย่าง ก่อกรรมทำเข็ญ ก่อร่างสร้างตัว คู่ผัวตัวเมีย คู่เรียงเคียงหมอน คำซ้อน 6 คำ เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น ยุให้รำตำให้รั่ว ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง คำซ้อน 8 คำ หรือมากกว่าบ้าง เช่น ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง กำแพงมีหูประตูมีตา เป็นต้น
ลักษณะสัมผัสคล้องจองเป็นร้อยกรองง่ายๆ หลายรูปแบบ มีทั้งคล้องจองกันในข้อความตอน เดียว เช่น ตื่นก่อนนอนหลัง ต้อนรับขับสู้ ผูกรักสมัครใคร่ โอภาปราศรัย และคล้องจองในข้อ ความที่เป็น 2 ตอน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากและในข้อความมากกว่า 2 ตอน เช่น น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง เป็นต้น
4. สำนวนไทยมักมีการเปรียบเปรย หรือมีประวัติที่มา ส่วนใหญ่มาจากการเปรียบเทียบกับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ประเพณี ศาสนา นิยาย นิทานต่างๆ กิริยาอาการ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตัวอย่างเช่น กลับหน้ามือเป็นหลังมือ นอนตาไม่หลับ ใจดีสู้เสือ กินไข่ขวัญ ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง เป็นต้น
บ่อเกิดสำนวนไทย
ที่เกิดสำนวนไทยมีมูลเหตุจากหลายทางด้วยกัน เป็นต้นว่า เกิดจากธรรมชาติ เกิดจากการ กระทำ ความประพฤติ การกินอยู่ของคน เกิดจากแบบแผนประเพณีและวัฒนธรรม เกิดจาก ศาสนา เกิดจากนิยาย นิทาน ตำนานหรือประวัติวัติศาสตร์ เกิดจากกีฬา การละเล่นหรือการ แข่งขันละมูลเหตุอื่นๆอีกซึ่งพอสรุปประการสำคัญ ๆ เป็นตัวอย่างได้ดังนี้
1. เกิดจากธรรมชาติ เช่น
ข้าวคอยฝน ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
คลื่นใต้น้ำ น้ำซึมบ่อทราย
ไม้งามกระรอกเจาะ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
2. เกิดจากสัตว์ เช่น
ไก่แก่แม่ปลาช่อน ขี่ช้างจับตั๊กแตน
ปลากระดี่ได้น้ำ วัวแก่เคี้ยวหญ้าอ่อน
เสือซ่อนเล็บ หมาหยอกไก่
3. เกิดจากการกระทำ ความประพฤติ การปฏิบัติและการกินอยู่ของคน เช่น
ขึ้นต้นไม้ปะรังแตน ขึ้นต้นไม้ช่วยแรงคาถา
ไกลปีนเที่ยง ปิดทองหลังพระ
ชักใบให้เรือเสีย พายเรือคนละที
นอนตาไม่หลับ หาเช้ากินค่ำ
4. เกิดจากอวัยวะต่างๆ เช่น
ใจลอย ตาเล็กตาน้อย
ตีนเท่าฝาหอย ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม
มืออยู่ไม่สุข หัวรักหัวใคร่
5. เกิดจากของกินของใช้ เช่น
ข้าวแดงแกงร้อน ไข่ในหิน
ฆ้องปากแตก ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
ลงเรือลำเดียวกัน บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน
6. เกิดจากแบบแผนประเพณีและวัฒนธรรม เช่น
ช้างเท้าหลัง ตื่นก่อนนอนหลัง
เข้าตามตรอกออกตามประตู เป็นทองแผ่นเดียวกัน
ฝังรกฝังราก คนตายขายคนเป็น
7. เกิดจากศาสนา เช่น
กรวดน้ำคว่ำขัน ขนทรายเข้าวัด
ตักบาตรถามพระ บุญทำกรรมแต่ง
เทศน์ไปตามเนื้อผ้า ผ้าเหลืองร้อน
8. เกิดจากนิทาน ตำนาน วรรณคดี หรือประวัติศาสตร์ เช่น
กระต่ายหมายจันทร์ กบเลือกนาย
ชักแม่น้ำทั้งห้า ฤษีแปลงสาร
ดอกพิกุลจะร่วง ปากพระร่วง
9. เกิดจากการละเล่น กีฬาหรือการแข่งขัน เช่น
ไก่รองบ่อน งงเป็นไก่ตาแตก
รุกฆาต ไม่ดูตาม้าตาเรือ
ลูกไก่ ว่าวขาดลมลอย
ประโยชน์ในการศึกษาสำนวนโวหาร
1. ทำให้ใช้ภาษาในการเขียน ความเรียงต่างๆ ได้ดีขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับความ
เรียงที่เขียนขึ้น
2. ทำให้ได้คติสอนใจ ในด้านต่างๆ เช่น
- ด้านการเรียน ตัวอย่างๆ “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” “ความรู้ท่วม หัวเอาตัว
ไม่รอด”
- ด้านการคบค้าสมาคม ตัวอย่าง “คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ” “คบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้าน
สร้างเมือง”
- ด้านการครองเรือน ตัวอย่าง “ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า” “ปลูกเรือนตามใจผู้
อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน”
- ด้านความรัก ตัวอย่าง “ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน” “รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ” “รักวัวให้ผูก รัก
ลูกให้ตี”
3. ทำให้ทราบความเป็นอยู่ของคนในสังคม ในสมัยที่เกิดสำนวนโวหารนั้น ว่ามีความเป็นอยู่
อย่างไร เช่น “อัฐยายซื้อขนมยาย”
“แบ่งสันปันส่วน” “หมูไปไก่มา”
4. เป็นการรักษาวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นมรดกที่ล้ำค่าของ ไทยไว้ให้ลูกหลานภาคภูมิใจ
ตัวอย่างสำนวนไทย
อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้หลานท่านเล่น
-เมื่ออาศัยอยู่บ้านใคร ก็อย่าอยู่เปล่า ควรช่วยทำงานทำการให้เป็นประโยชน์ต่อเขาบ้าง
เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
" เบี้ย " ในสมัยก่อนเป็นพวกหอยชนิดหนึ่งเรียกว่า " เบี้ยจั่น " ใช้เป็นเงินแลกเปลี่ยนซื้อของได้ แต่มีราคาต่ำแปลตามตัวอักษรนี้ก็ว่าเก็บเบี้ยที่ตกอย ู่ตามใต้ถุนร้าน หรือแผงลอยวางของขายซึ่งตกหล่นอยู่บ้าง เพราะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเบี้ยกับของโดยไม่เห็นว่ าจะเป็นเบี้ยมีราคาต่ำ สำนวนนี้จึงแปลความหมายว่าถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อย ๆ ทำให้มีผลได้แม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดีกว่าปล่อยให้หลุดลอยไป
หมูจะหาม เอาคานเข้ามาสอด
- การที่เข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ หรือกิจการของคนอื่นที่เขากำลังจะสำเร็จอยู่แล้ว
หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว
- การทำประชดหรือทำแดกดันที่กลับเป็นผลร้ายแก่ตนเอง
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
หมายความว่า ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น เป็นทำนองว่าผล
ประโยชน์ที่ ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน หรือทำให้เป็นการใหญ่โตเลย หรือแปลความหมายสั้น ๆ " ทำงาน
ใหญ่เกิน
จุดไต้ตำตอ
สำนวนนี้ หมายถึงการพูดกล่าวขวัญหรือทำอะไรสักอย่าง โดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้จักคนผู้นั้นครั้นพอรู้ความ จริง ผู้พูดหรือผู้ทำกลายเป็นคน " ห้าแต้ม " ไปเลย ถ้าเป็นการพูดกล่าวขวัญในทางร้ายหรือนินทาด่าคนผู้นั ้นเข้า ดีไม่ดีก็ต้องเคราะห์ร้ายเปรียบเหมือนจุดไต้ไปตำเข้า กับตอถึงไฟดับ สำนวนนี้เข้าใจว่า มาจากการจุดไต้ให้ไฟสว่างของคนสมัยโบราณ ซึ่งใช้เป็นไฟฉายส่องทาง แล้วเอาไต้ไฟไปชนเข้ากับต่อถึงดับ.
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
สำนวนนี้ โบราณมักใช้พูดกันมาก หมายถึงการกระทำอะไรสักอย่างที่ไม่เหมาะสมหรือได้สมด ุลกัน หรือใช้จ่ายทรัพย์ลงทุนไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไ รเลย เช่นลงทุนเล็กน้อยเพื่อทำงานใหญ่ซึ่งต้องใช้เงินมาก ๆ ย่อมไม่อาจสำเร็จได้ง่าย ต้องสูญทุนไปเปล่า ๆ เปรียบเหมือนตำน้ำพริกเพียงครกเดียว เอาไปละลายในแม่น้ำกว้างใหญ่ เมื่อละลายไปก็จะสูญหายไปหมดสิ้นไปทำให้แม่น้ำเกิดอะ ไรผิดปกติขึ้น เสียน้ำพริกไปเปล่า ๆ.
รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี
ถ้ารักวัวก็ให้ผูกล่ามขังไว้ มิฉะนั้นวัวจะถูกลักพาหรือหนีหายไปส่วนรักลูกให้เฆี่ ยน ก็หมายถึงให้อบรมสั่งสอนลูกและทำโทษลูกเมื่อผิด.
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
เป็นสำนวนที่หมายถึง คนที่ไม่ช่วยเขาทำงานแล้ว ยังไปทำตัวให้เป็นที่กีดขวางเกะกะแก่งานของเขาอีกด้วย เพราะเมื่อเอาเท้าหรือตีนไปราน้ำเวลานั่งเรือที่เขาพ ายอยู่ด้วยนั้น ก็ย่อมจะทำให้เท้าไปต้านน้ำไว้ ทำให้เรือแล่นช้าลงอีก
ขอบคุณที่มา ไทยกู๊ดวิว
วันที่ 16 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,387 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,186 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,583 ครั้ง |
เปิดอ่าน 51,406 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,124 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,622 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,147 ครั้ง |
|
|