Advertisement
พบน้ำจริงๆ หลังนาซาส่งยาน “แอลครอส” ยิงดวงจันทร์ |
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |
15 พฤศจิกายน 2552 17:49 น. |
|
ภาพจากแสดงเศษซากฝุ่นที่กระจายฟุ้งขึ้นมาหลังถูกยานพ ุ่งชน 20 วินาที (ภาพประกอบจากนาซา) |
|
|
|
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น |
|
|
|
|
หลังปฏิบัติการยิงดวงจันทร์ ที่ทั่วโลกต่างจับตาด้วยใจระทึกผ่านพ้นไปอย่างเงียบส งัดเป็นเวลาร่วมเดือน ล่าสุดนาซาได้ออกมาเปิดเผยผลวิเคราะห์ข้อมูล ปฏิบัติการดังกล่าวว่า ดวงจันทร์เต็มไปด้วยน้ำมากมาย
นับเป็นบทเรียนใหม่ ที่จะเสริมความเข้าใจเรื่องดวงจันทร์แก่มนุษยชาติ เมื่อองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้เปิดเผยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากปฏิบัติส่งยาน “แอลครอส” (Lunar CRater Observation and Sensing Satellite: LCROSS) ยิงสำรวจน้ำบนดวงจันทร์เมื่อ 9 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่าพบน้ำจริงๆ ในถ้ำ “คาเบียส” (Cabeus) ซึ่งเป็นพื้นที่ในเงามืดถาวรบริเวณใกล้ๆ กับขั้วใต้ของดวงจันทร์
โดยยานเซนทอร์ (Centaur) ซึ่งเป็นจรวดท่อนบนของยานแอลครอสได้พุ่งตกกระทบถ้ำดั งกล่าว แล้วทำให้เกิดฝุ่นละอองของสิ่งอยู่เบื้องล่างถ้ำพวยพ ุ่งออกมาเป็นรูปดอกเห็ดที่มีอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกในมุมสูงกว่าเป็นไอน้ำและฝุ่นละเอียดที่พวยพุ ่งขึ้นมา ส่วนที่สองในมุมต่ำำกว่าเป็นม่านหมอกของสิ่งที่มีหนั กกว่า และสิ่งที่พวยพุ่งขึ้นมานี้ไม่เคยเห็นแสงตะวันมาหลาย พันล้านปีแล้ว
“เราได้ปลดล็อคปริศนาของเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ที่สุด ก่อนที่ขยายไปสู่ระบบสุริยะ ครั้งนี้ได้เผยความลับหลายๆ อย่างของดวงจันทร์ และแอลครอสก็ได้เพิ่มระดับชั้นความเข้าใจใหม่ๆ ให้เราด้วย” ไมเคิล วอร์โก (Michael Wargo) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ดวงจันทร์ในศูนย์ปฏิบัติการใหญ ่ของนาซา ณ วอชิงตัน สหรัฐฯ กล่าว
นักวิทยาศาสตร์ได้คาดเดามายาวนาน เกี่ยวกับแหล่งไฮโดรเจนปริมาณมหาศาลที่ได้ทำการสำรวจ บริเวณขั้วของดวงจันทร์ และการค้นพบของยานแอลครอสครั้งนี้ได้ฉายแสงครั้งใหม่ ให้กับคำถามเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งน่าจะกระจายอยู่ทั่วและมีปริมาณมากกว่าที่เคยคาด เดาก่อนหน้านี้
สำหรับพื้นที่ซึ่งเป็นจุดเงามืดถาวรนั้น จะเป็นกุญแจในการไขประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของระบ บสุริยะได้มากพอๆ กับที่แกนน้ำแข็งบนโลกเผยข้อมูลในยุคโบราณ มากกว่านั้น น้ำและองค์ประกอบเพิ่มเติมอื่นๆ ยังแสดงถึงแหล่งทรัพยากรที่ศักยภาพอันยั่งยืนเพื่อกา รสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต
นับแต่ที่ส่งยานยิงกระทบหลุมบนดวงจันทร์ นาซาระบุว่าทีมวิทยาศาสตร์ในปฏิบัติการแอลครอสก็ทำงา นแบบแทบไม่มีวันหยุด เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ยานแอลครอสได้รว บรวมไว้ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ได้พุ่งเป้าไปที่ข้อมูลจากเครื่ องสเปคโทมิเตอร์ (spectrometer) ของยานอวกาศ ที่จะให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุดเกี่ยวกับการมีอยู่ขอ งน้ำ ซึ่งเครื่องจะทดสอบแสงที่ปลดปล่อยออกมาจากวัตถุ แล้วจำแนกองค์ประกอบได้
“เรายินดีเหลือล้น เส้นกราฟหลักฐานแสดงให้เห็นว่า มีน้ำปรากฎอยู่ทั้งในมุมสูงของพวยที่พุ่งออกมาและม่า นฝุ่นขนาดใหญ่จากการพุ่งชนของยานเซนทอร์ ความเข้มข้นและการกระจายตัวของน้ำและสสารอื่นๆ นั้นยังต้องได้รับการวิเคราะห์อีก แต่ก็โอเคที่จะพูดว่าคาเบียสมีน้ำอยู่” แอนโธนี คอลาพรีท (Anthony Colaprete) นักวิทยาศาสตร์ในโครงการแอลครอสกล่าว
ทีมวิเคราะห์ได้ใช้สัญญาณของน้ำกับวัตถุอื่นๆ ในย่านรังสีอินฟราเรดใกล้ แล้วเปรียบเทียบกับสัญญาณที่ได้จากยานแอลครอสในย่านอ ินฟราเรดใกล้เช่นกัน แล้วพบว่าสัญญาณของน้ำกับสัญญาณของยานแอลครอสนั้นตรง กัน ส่วนโอกาสที่ยานเซนทอร์จะเกิดการปนเปื้อนนั้นถูกตัดอ อกไป
นอกจากนี้การยืนยันเพิ่มเติมยังมาจากการปลดปล่อยสเปก ตรัมของรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งเป็นลักษณะของ “ไฮดรอกซีล” (hydroxyl) อันเป็นหนึ่งในผลผลิตที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำเมื่อ ได้รับแสงอาทิตย์ เมื่ออะตอมและโมเลกุลถูกกระตุ้นก็จะปลดปล่อยพลังงานใ นย่านของความยาวคลื่นเฉพาะ แล้วถูกตรวจจับได้ด้วยเครื่องสเปคโตมิเตอร์ ซึ่งเครื่องตรวจจับสัญญาณได้หลังจากไอน้ำกระทบกับแสง อาทิตย์
ขณะที่ข้อมูลอื่น จากเครื่องมือของแอลครอสยังได้รับการวิเคราะห์เพื่อห านัยยะเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะและการกระจายตัวของวั ตถุต่างๆ ในบริเวณที่ยานพุ่งชน ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์ของยานแอลครอสและคณะได้เพ่งพิจ ารณาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจการพุ่งชนครั้งนี้ทั้งหม ด ตั้งแต่แสงที่วาบสว่างขึ้นไปจนถึงตัวถ้ำเอง ด้วยเป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการเข้าใจการกระจายตัวของ วัตถุและสารระเหยภายในดินบริเวณที่เกิดการพุ่งชน
“การทำความเข้าใจข้อมูลของยานแอลครอสทั้งหมดอาจต้องใ ช้เวลา มีข้อมูลอยู่มากมายจริงๆ นอกจากน้ำในถ้ำคาเบียสแล้ว ยังมีสัญญาณของวัตถุอื่นๆ ที่มีอยู่เต็ม ในบริเวณเงามืดถาวรของดวงจันทร์นั้นเป็นกับดักที่หนา วเย็นของจริง ซึ่งเก็บรวบรวมและรักษาวัตถุต่างๆ ไว้นานหลายพันล้านปี” โคลาพรีทกล่าว
ยานแอลครอสถูกส่งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.52 จากฐานปล่อยจรวดในศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ในฟลอริดา ของนาซา โดยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการยานสำรวจดวงจันทร์ลูนา ร์รีคอนเนซองส์ออบิเตอร์ (Lunar Reconnaissance Orbiter) หรือแอลอาร์โอ (LRO) เมื่อแยกจากแอลอาร์โอแล้ว แอลครอสและเซนทอร์ก็ใช้เวลาเดินทางเป็นระยะทาง 9 ล้านกิโลเมตรในเวลา 113 ก่อนที่ยานทั้งสองจจะแยกจากกัน แล้วเซนทอร์ก็มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์
พร้อมกันนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ของยานแอลครอสยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมนักวิทยาศาสตร์ของยานแอลอาร์โอ ซึ่งยานแอลอาร์โอก็ยังคงบินผ่านบริเวณที่เกิดการพุ่ง ชน เพื่อให้ทีมแอลครอสได้เห็นสัญญาณของกลไกการพุ่งชนและ หลุมที่เกิดจากการพุ่งชนด้วย
|
|
|
|
|
|
|
วันที่ 16 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 90,456 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,057 ครั้ง |
เปิดอ่าน 38,320 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,550 ครั้ง |
เปิดอ่าน 57,141 ครั้ง |
|
|