การใส่บาตรที่ถูกต้องนั้นควรทำอย่างไร?
วิธีปฏิบัติตัวในการใส่บาตร
๑.ขณะรอใส่บาตรให้ทำจิตตั้งมั่นไว้ว่าจะใส่บาตรโดยไม่เจาะจงเมื่อพระเณรรูปใดเดินผ่านมาก็ใส่บาตรไปตามลำดับจนหมดอาหารที่เตรียมมาไม่เลือกใส่องค์นี้ไม่ใส่องค์นั้นการใส่บาตรโดยไม่เจาะจงนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่ามีผลานิสงค์มากกว่าการใส่บาตรโดยเจาะจง
๒.เมื่อพระภิกษุเดินมาใกล้จะถึงที่ที่เราอยู่พึงอธิษฐานจิตเสียก่อนโดยถือขันข้าวด้วยมือทั้งสองนั่งกระหย่งยกขันข้าวขึ้นเสมอหน้าผากกล่าวคำอธิษฐานว่า
“สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสิ้นกิเลสเถิด”
๓.จากนั้นลุกขึ้นยืนและถอดรองเท้าเพราะการสวมรองเท้าถือว่ายืนสูงกว่าพระถือเป็นการไม่สมควรเหมือนเป็นการขาดความเคารพแต่ก็ไม่กรณียกเว้นเช่นเท้าเจ็บหรือเป็นที่น้ำขังเฉอะแฉะเป็นต้นแต่ที่ไม่ควรก็คือบางคนถอดจริงแต่กลับไปยืนอยู่บนรองเท้าเสียอีกยิ่งสูงไปกันใหญ่ดังนั้นถ้าตั้งใจจะไม่ใส่รองเท้าก็จัดที่ให้พระสงฆ์ยืนสูงกว่า
๔.เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้วถ้ามีโต๊ะรองอาหารหรือรถยนต์จอดอยู่ด้วยให้วางขันข้าวบนนั้นยืนตรงน้อมตัวลงไว้พระสงฆ์แต่ถ้าตักบาตรรอยู่ริมทางควรนั่งแล้ววางขันข้าวไว้ข้างตัวยกมือไว้พระสงฆ์พร้อมกับอธิษฐานว่า
“นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ขอให้ข้าพเจ้าเจริญในพระศาสนาของศาสดา”
๕.หลังจากนั้นควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการกรวดน้ำและกล่าวว่า
“อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอบุญทั้งหลังจงสำเร็จแก่ญาติของข้าพเจ้า ขอให้ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายจงเป็นสุข เป็นสุขเถิด”
อย่าได้มีคำถามว่าการทำบุญนี้จะมีผลถึงผู้ตายหรือไม่ผู้ตายจะได้รับประทานข้าวปลาอาหารนี้หรือไม่เพราะเมื่อเราทำความดีมีความกตัญญูรู้คุณรำลึกถึงผู้ล่วงลับหรือใครก็ช่างผู้รับจะได้รับหรือไม่ไม่สำคัญเพราะหลักสำคัญอยู่ที่ว่าการทำทานช่วยให้เราเกิดปีติและสิ้นความตระหนี่เกิดความอิ่มใจว่าเราได้ทำหน้าที่ของมนุษย์ที่ดีครบถ้วนแล้วไม่มีสิ่งบกพร่องก็น่าจะเป็นการเพียงพอแล้วค่ะ
ขอบคุณที่มาข้อมูลwww.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=215