ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เมือง.???...ที่ถูกลืม.......


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,252 ครั้ง
Advertisement

เมือง.???...ที่ถูกลืม.......

Advertisement

เมืองก่อนประวัติศาสตร์  (เมืองที่ถูกลืม) 

"เจ้าน้อยคือใคร"...."เมืองเจ้าน้อย"มีความเป็นมาอย่างไร...."เมืองเจ้าน้อย"หายไปไหน?


เชื่อกันว่า"เมืองปาย"เป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ เคยเจริญรุ่งเรืองมาพร้อมกับเมืองเชียงใหม่ สมัยราชวงศ์มังราย ต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างไป และประมาณ พ.ศ.2318-2338 ได้มีกลุ่มชาติพันธ์อพยพเข้ามาอยู่ทั้งไทยใหญ่ ไทยยวน ไทยปกาเกอญอ


จากการศึกษาจากคัมภีร์ใบลานหลายเมืองได้กล่าวถึงเมืองปาย และมีหลักฐานทางโบราณคดีที่พ้องกับตำนานดังกล่าวด้วย จากการศึกษาของพระครูปลัดกวีวัฒน์ธนจรรย์ สุระมณี วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีรายงานการสำรวจวัดวาอาราม ในเขตอำเภอปายและเมืองน้อยมีโบราณคดี โบราณสถานหลายแห่งที่เชื่อว่าเมืองปายและเมืองน้อยเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อน


หลักฐานตามคัมภีร์ใบลานและโบราณคดี โบราณสถานที่เชื่อว่าเป็นหลักฐานอ้างอิงได้


1) วัดหนองบัว เป็นวัดร้างที่อยู่กลางทุ่งนาในตำบลแม่ฮี้ มีหลักฐานใบเสมาและโบราณสถานอื่น ๆที่มีให้เห็นอยู่ถึงปัจจุบัน


2) เจดีย์หลวงเมืองน้อย ตั้งอยู่รีมฝั่งน้ำปายก่อนเข้าหมู่บ้านเมืองน้อย กำลังได้รับการบูรณะ


3) ใบเสมาเล่าความเกี่ยวกับเมืองปายบางส่วน (เก็บไว้ที่ห้องสมุดโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 ปาย)


4) ถ้ำผีแมน บ้านห้วยหก ในพื้นที่บ้านเมืองน้อย (เมืองเจ้าน้อย) ตำบลเวียงเหนือ มีโครงกระดูกมนุษย์ ของใช้ โลงศพ


5) ถ้ำดอยปุ๊กตั้ง บ้านห้วยเฮี๊ยในพื้นที่บ้านเมืองน้อย (เมืองเจ้าน้อย) ตำบลเวียงเหนือ มีโครงกระดูกมนุษย์ ของใช้ โลงศพ


คำบอกเล่าของพ่อครูจันทร์  อินทสาร(ปราชย์ชาวบ้านเวียงเหนือ) ซึ่งท่านเคยเดินทางไปพม่า พบว่ามีเอกสารภาษาพม่าและไทยใหญ่ เป็นหลักฐานที่ใกล้เคียงกันด้วย


อีกส่วนเป็นบันทึกของอาจารย์โกศล  กันทะรส  อดีตรองผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 ที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเมืองปาย ขณะที่รับราชการที่อำเภอปาย


 


"เจ้าน้อยคือใคร""เมืองเจ้าน้อย"มีความเป็นมาอย่างไร"เมืองเจ้าน้อยหายไปไหน?"


เมืองน้อยน่าจะมาจากเมืองเจ้าน้อย


ที่ใช้เรียกเป็นชื่อของโอรสเจ้าเมืองเชียงใหม่ที่ได้เข้ามาครองเมืองชายแดนแห่งนี้นั่นเอง


จากภูมิหลังเมืองปายมาพอสังเขป วันนี้รู้สึกอยากเขียนถึง "เมืองเจ้าน้อย" เมืองเจ้าน้อย คือเมืองน้อยในปัจจุบัน เป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆของชาวกระเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพียงประมาณ 100 ปีที่ผ่านมานี้เท่านั้น


จากโบราณสถาน โบราณคดีที่เล่ากันมาเมืองน้อยหรือเมืองเจ้าน้อยน่าจะเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนที่จะมาเป็นเมืองปาย เพราะจากหลักฐานซึ่งส่วนใหญ่เป็นวาอารามที่ปลูกสร้างริมฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำปาย ไม่ว่าจะเป็นวัดศรีเกิด วัดหนองบัว ที่ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย ยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ยังมีสถาปัตยกรรมโบราณหลงเหลือให้เห็นเป็น"ใบเสมา"ที่วัดร้างกลางทุ่งนาบ้านแม่ฮี้


โบราณสถานวัดเจดีย์หลวงที่บ้านเมืองน้อยหรือเมืองเจ้าน้อยก็ยังมีให้เห็น และที่สำคัญคือบนเส้นทางจากบ้านเวียงเหนือ เมืองเจ้าน้อยและเมืองแหง มีวัดร้างอยู่ถึง 37 แห่ง ที่ยังไม่น่าจะมีนักโบราณคดีท่านใดมาทำการศึกษาอย่างแท้จริง?


สำคัญยิ่งคือสถาปัตยกรรมที่วัดเจดีย์หลวงที่เมืองเจ้าน้อยซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ตามหลักฐานที่เห็นปัจจุบัน มีแนวกำแพงกำหนดเขตพุทธาวาสขนาด 80x100x1 เมตร ก่อด้วยอิฐโบราณ ขนาดของชุกชีวิหารขนาด 40x60 เมตร (วัดโดยพระจันทร์  เขมกาโม เจ้าอาวาสวัดเมืองน้อย) ฐานชุกชีอุโบสถ ขนาด 4x8.50 เมตร(ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพญายอดเชียงราย อดีตเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในพ.ศ. 2048) บนอิฐโบราณที่ก่อเป็นกำแพงกำหนดเป็นเขตพุทธาวาสมีตัวอักษรเมืองเขียนอยู่


ในตำนานพื้นเมืองเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่เล่าว่าในรัชสมัยของพญาติโลกราชครองเมืองเชียงใหม่ในราว พ.ศ. 1984-2030 มีโอรสชื่อท้าวบุญเรืองหรือท้าวศรีบุญเรืองหรือที่คนทางเหนือจะเรียกท่านว่าเจ้าน้อยศรีบุญเรืองซึ่งครองเมืองเชียงราย ถูกแม่ท้าวหอมุกกล่าวโทษ จึงถูกสั่งให้มาครองเมืองชายแดน "เมืองน้อย"หรือ"เมืองเจ้าน้อย "ซึ่งก็น่าจะเป็นที่มาของคำว่า "เมืองน้อย"หรือ"เมืองเจ้าน้อย"นั่นเองครับ


สรุป "เมืองน้อยน่าจะมาจากเมืองเจ้าน้อยที่ใช้เรียกเป็นชื่อของโอรสเจ้าเมืองเชียงใหม่ที่ได้เข้ามาครองเมืองชายแดนแห่งนี้นั่นเอง"


ผมเล่ามาคร่าว ๆประมาณนี้ครับ ที่น่าสังเกตุคือ


:-ชาวกระเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ที่เมืองน้อยที่อายุมากที่สุดมากว่า 90 ปีในปัจจุบันเล่าว่าตั้งแต่เด็กเห็นวัดร้างแห่งนี้เป็นวัดร้างอยู่แล้ว??


:-สถาปัตยกรรมของโบราณสถาน วัดเจดีย์หลวง เหมือนกับวัดศรีเกิด วัดหนองบัวที่เมืองปายเป็นสถาปัตยกรรม"ล้านนา"



 


 



 



 ประวัติศาสตร์




 


 


 


 


 


         อำเภอปายเป็นเมืองเก่าแก่ มีหลักฐานว่า เจ้าเมืองคนแรกคือ ขุนส่างปายและในสมัย พระเจ้าโหตรประเทศ พระราชาธิบดี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่ง เจ้าแก้วเมือง ออกสำรวจชายแดน ได้พบว่าภูมิประเทศน่าสนใจ จึงแนะนำให้ขุนส่างปายย้ายเมืองมาตั้งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปายเพราะที่ราบกว้างขวาง ผู้คนจึงเรียกเมืองใหม่ ว่า เวียงใต้ ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า เวียงเหนือ


         พ.ศ. 2454 เมืองปายได้ยกฐานะเป็นอำเภอ โดยมีนายอำเภอคนแรกชื่อ รองอำมาตย์เอกหลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมินทร์)


         เมืองปาย  : ชุมทางชาติพันธุ์ตั้งแต่อดีต (ประวัติศาสตร์เมืองปาย)



[แก้ไข] ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์




         เมืองปาย เป็นเมืองที่มีคนตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยประวัติศาสตร์บริเวณที่ตั้งเมืองปายเป็นเมืองสำคัญของล้านนาในสมัยราชวงศ์มังรายซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ต่อมาเมืองปายได้ร้างไป พร้อมกับเมืองเชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ. 2318 – 2338 เมืองปายได้ฟื้นฟูเป็นหมู่บ้าน และพัฒนาเป็นอำเภอปาย โดยมีผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ได้แก่คนไทยวน (คนเมือง) คนไทใหญ่ ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) และชาวไทภูเขาเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากเมืองปายตั้งอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสายเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันเมืองปายเป็นเมืองชุมทางที่สำคัญเมืองหนึ่งบนเส้นทางระหว่างเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน




[แก้ไข] เมืองปาย สมัยก่อนประวัติศาสตร์


         อำเภอปาย มีร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีชุมชนโบราณที่ปรากฏชื่อในตำนาน คัมภีร์ใบลานหลายเมือง และมีประวัติสืบต่อกันมานับร้อยปี ประกอบกับมีหลักฐานโบราณคดีปรากฏอยู่ในชุมชนโบราณดังกล่าวด้วย จากการศึกษาของพระครูปลัดกวีวัตน์ธนจรรย์ สุระมณี วัดเจดีย์หลวงอำเภอเมือง เชียงใหม่มีรายงานการสำรวจว่า ในเขตเมืองน้อย อำเภอปาย มีหลักฐานโบราณคดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังนี้



         ถ้ำผีแมน บ้านห้วยหก (ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย ) อยู่ห่างจากบ้านห้วยหกไปทางทิศตะวันตก ราว 1,500 เมตร พบซากกระดูก และระแทะคล้ายรางไม้ให้อาหารสัตว์ หลงเหลืออยู่บางส่วน ถูกชาวบ้านเผาไปเกือบหมดแล้ว ถ้ำผีแมนที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นี้ ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีอยู่หลายแห่งเช่น


         - ถ้ำป่าคาน้ำฮู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน


         - ถ้ำน้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบหลักฐานของใช้ของคนถ้ำในยุคนั้นคือ กำไลแขนทำด้วยโลหะ, หม้อดินลายเชือกทาบ,ขวานหินขุด ระแทะไม้ ฯลฯ


         - ถ้ำดอยปุ๊กตั้ง อยู่ทางทิศใต้ของบ้านห้วยเฮี้ย (ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย) ใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าจากหมู่บ้าน ประมาณ 1 ชั่วโมง พบเครื่องใช้ของมนุษย์ถ้ำมีลักษณะเช่นเดียวกันกับที่พบในถ้ำผีแมนแห่งอื่น ๆ



[แก้ไข] ชุมชนโบราณเมืองน้อย




         การตั้งถิ่นฐานของปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) ชุมชนโบราณเมืองน้อยเป็นชุมชนที่พบหลักฐานทางด้านโบราณคดี และหลักฐานตำนานและศิลาจารึกที่สะท้อนให้เห็นว่าเมืองน้อยเป็นเมืองสำคัญในสมัยประวัติศาสตร์ราชวงศ์มังราย ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย แม่ฮ่องสอน ตำแหน่งละติจูดที่ 19 องศา 30 ลิปดา 58 ฟิลิปดา เหนือ และลองจิจูดที่ 98 องศา 30 ลิปดา 50 ฟิลิปดา ตะวันออก ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร จากอำเภอปายไปทางทิศเหนือ เมืองน้อย เมื่อสองร้อยปีเศษมานี้มีสภาพเป็นเมืองร้าง ปัจจุบันได้มีชนเผ่าปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) เข้าไปจับจองอาศัยตั้งบ้านเรือนที่บ้านเมืองน้อยโดยมีชื่อใหม่หลายหมู่บ้าน คือ บ้านหัวฝาย บ้านห้วยงู บ้ายห้วยเฮี้ย บ้านห้วยหก บ้านกิ่วหน่อ บ้านมะเขือคัน




[แก้ไข] เมืองน้อย : ชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์




         ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงเรื่องราวเมืองน้อยว่า ในรัชกาลของพระญาติโลกราช ปกครองเชียงใหม่ พ.ศ. 1984 – 2030 พระองค์มีโอรสชื่อท้าวบุญเรือง หรือศรีบุญเรืองครองเมืองเชียงราย ต่อมาถูกแม่ท้าวหอมุกกล่าวโทษ จึงให้ท้าวบุญเรืองไปครองน้อย ในที่สุดก็ถูกฆ่าตาย เมื่อสิ้นสมัยพระญาติโลกราชแล้ว โอรสของท้าวบุญเรือง ชื่อพระญายอดเชียงรายได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์เชียงใหม่ ปกครองได้ไม่นานถูกกล่าวหาว่า พระองค์ ราชาภิเษกวันจันทร์ ถือว่าเป็นกาลกิณีแก่บ้านเมือง ไม่ประพฤติอยู่ในขนบธรรมเนียมของท้าวพระญา ไม่ประพฤติอยู่ในทศพิธราชธรรมและยังมีใจฝักใฝ่ไมตรีกับห้อ เสนาอำมาตย์จึงได้ล้มราชบัลลังค์ และได้อัญเชิญให้ไปครองเมืองน้อย ใน พ.ศ. 2038 พระญายอดเชียงรายประทับอยู่เมืองน้อยได้ 10 ปี ก็เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2048 เมื่อพระชนมายุได้ 50 พรรษา พระญาเมืองแก้วกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ราชโอรสของพระญายอดเชียงราย ได้เสด็จมาถวายพระเพลิงพระศพของพระญายอดเชียงรายที่เมืองน้อย และสร้างอุโบสถครอบ



         ครั้นพระญาเมืองแก้วเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 2068 เสนาอำมาตย์ได้อัญเชิญพระอนุชาจากเมืองน้อยให้มาครองราชย์เชียงใหม่ และกทำราชาภิเษกเป็น พระญาเมืองเกส ใน พ.ศ. 2069 พระองค์ครองราชย์จนถึง พ.ศ 2081 (พระญาเมืองเกส ครองราชย์เมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2068 – 2081 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2086 – 2088) เสนาอำมาตย์ไม่ชอบใจได้ปลดพระองค์ออกจากราชบัลลังค์ และอัญเชิญท้าวชาย ราชโอรสให้ครองราชย์แทน ในปี พ.ศ. 2081 ท้าวชายประพฤติตนไม่อยู่ทศพิธราชธรรม เสนาอำมาตย์ได้รอบปลงพระชนม์ใน พ.ศ. 2086 และได้อัญเชิญพระญาเมืองเกส จากเมืองน้อยมาครองราชย์ในเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งที่สอง


         บ้านเมืองน้อยมีโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดเจดีย์หลวง” ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ มีแนวกำแพงกำหนดเขตพุทธาวาส ขนาด 80 X 100 X 1 เมตร ขนาดซุกซีวิหาร ฐานซุกซีอุโบสถขนาด 4 X 8.50 เมตร (สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระญายอดเชียงราย) ซุ้มประตูโขงด้านทิศตะวันออก เจดีย์ขนาด 11 X 11 X 17 เป็นเจดีย์แบบเชิงช้อนย่อเหลี่ยม บางส่วนยังมีลวดลายการก่ออิฐทำมุม เจดีย์ถูกสร้างขึ้นจากอิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 –21 เจดีย์ถูกขุดค้นหาสมบัติลักษณะแบบผ่าอกไก่ จากยอดถึงฐานต่ำสุด มีหลุมลึกประมาณ 1 เมตร ทำให้มองเห็นฐานรากของการก่อสร้างเจดีย์ที่ใช้ก้อนหินธรรมชาติขนาดใหญ่วางซ้อนกันเป็นฐานราก ก้อนอิฐที่ใช้ก่อสร้างมีขนาด 6 X 11 นิ้ว และในบริเวณวัดเจดีย์หลวง ยังพบ จารึกบนแผ่นอิฐ 2 ชิ้น


         จารึกหลักแรก พบในบริเวณด้านเหนือของโบราณสถาน จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยวน จำนวน 3 บรรทัด บรรทัดที่ 2-3 จารึกกลับหัว จากบรรทัดที่ 1 ความว่า “(1) เชแผง (2) เนอ เหย เหย (3) ฅนบ่หลายแล แล แล “ ความในจารึกชิ้นนี้กล่าวถึงนายเชแผง ผู้เป็นหนึ่งในผู้ปั้นอิฐในการก่อสร้างศาสนสถานแห่งนี้ รำลึกถึงคนจำนวนไม่มากนักในการสร้างศาสนสถานแห่งนี้ หรือในเมืองนี้


         จารึกหลักที่สอง พบก่อร่วมกับอิฐก้อนอื่น ๆ ในบริเวณแนวกำแพงด้านใต้ของโบราณสถานจารึกด้วยอักษรฝักขาม ภาษาไทยวน จำนวน 1 บรรทัด ส่วนครึ่งแรกหายไป ส่วนครึ่งหลังอ่านได้ใจความว่า “สิบกา (บ)” จารึกชิ้นนี้บอกผู้ปั้นว่าสิบกาบ คำว่า “สิบ” อาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางล้านนาสมัยโบราณ เรียกว่า “นายสิบ” หรือเนื่องจากอิฐส่วนหน้าที่หักหายไปบริเวณกี่งกลางของก้อนอิฐนั้น คำว่า “สิบกา(บ)” อาจสันนิษฐานได้ว่า ข้อความเต็มด้านหน้าที่หายไปเป็น “(ห้า) สิบกาบ” หรือขุนนางระดับนายห้าสิบก็อาจเป็นได้


         วิวรรณ์ แสงจันทร์ กล่าวว่า จากหลักฐานโบราณคดี ซากวัดร้าง ต่าง ๆ จำนวน 30 แห่ง ในเมืองน้อย รวมทั้งวัดเจดีย์หลวง และข้อความที่พบ สะท้อนให้เห็นว่าชุมชนที่นี่เป็นเมืองใหญ่ในอดีต มีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอที่จะสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่จำนวนมากได้



[แก้ไข] ชุมชนโบราณบ้านเวียงเหนือ




         นอกจากเมืองน้อยแล้ว เมืองปายยังพบชุมชนโบราณที่บ้านเวียงเหนือ ตำบลเวียงเหนือ ตั้งอยู่ในตำแหน่งละติจูด 19 องศา 22 ลิปดา 34 ฟิลิบดา เหนือ ลองจิจูด 98 องศา 27 ลิปดา 17 ฟิลิปดา ตะวันออก



         เมืองปายมีหลักฐานตำนานกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ในสมัยพระญาแสนพู กษัตริย์เชียงใหม่ (พ.ศ. 1868 – 1877) สร้างเมืองเชียงแสน พ.ศ. 1871 ได้กำหนดให้เมืองปายเป็นเมืองขึ้นของพันนาทับป้อง ของเมืองเชียงแสนในสมัยนั้น (พงศาวดารโยนก หน้า ตำนานเชียงแสน ว่าเมืองจวาดน้อย /จวาดน้อย/สันนิษฐานว่าเป็นคำเดียวกับคำว่า ชวาดน้อย)


         วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2028 ปีมะเส็ง สัปตศก (วันศุกร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ จุลศักราช 847 ปีดับใส้) เจ้าเถรสีลสังยมะ ให้หล่อพระพุทธรูปเวลารับประทานอาหารเช้า(ยามงาย) (ฮันส์ เพนธ์, 2542)


         พ.ศ. 2032 มหาเทวี (พระมารดาพระญายอดเชียงราย) พระราชทานที่ถวายพระมหาสามีสัทธัมมราชรัตนะ ก่อสร้างมหาเจดีย์ มหาวิหาร ผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดศรีเกิด (ปัจจุบันชาวบ้านเรียก วัดหนองบัว (ร้าง) บ้านแม่ฮี้ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย) พ.ศ. 2033 มีการถวายข้าทาสอุปฐากพระมหาสามีสัทธัมมราชรัตนะ อุโบสถ มหาวิหาร มหาเจดีย์ พระพุทธรูป ห้ามไม่ให้ผู้ใด นำข้าทาสเหล่านี้ไปทำงานอื่น หากยังเคารพนับถือพระญายอดเชียงรายอยู่ หากฝ่าฝืนขอให้ตกนรกอเวจี


         พ.ศ. 2044 ปีระกา ตรีศก เจ้าหมื่นพายสรีธัม(ม์)จินดา หล่อพระพุทธรูป หนักสี่หมื่นห้าพันทอง เดือนเจ็ด ไว้ในอุโบสถวัดดอนมูน เมืองพายแล(เมืองพาย /อำเภอปาย) (ปัจจุบันพระพุทธรูปนี้ เก็บรักษาไว้ ณ วัดหมอแปง ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดร.ฮันส์ เพนธ์ คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ่านฐานพระพุทธรูป วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 ความว่า “ในปีร้วงเร้า สักราชได้ 863 ตัว เจ้าหมื่นพายสรีธัมจินดา ส้างรูปพระพุทธะเป็นเจ้าตนนี้ สี่หมื่นห้าพันทอง ในเดือนเจ็ด ไว้ในอุโบสถวัดดอนมูน เมืองพายแล” (ดร.ฮันส์ เพนธ์ กล่าวว่า หมื่น เป็นตำแหน่งเจ้าเมืองพาย ตำแหน่งใหญ่เทียบเท่าเมืองเชียงแสน เมืองลำปาง/ 1 ทอง เท่ากับ 1.1 กรัม)


         พ.ศ. 2124 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า พระญาลำพูนมาครองเมืองปาย (พลาย)


         พ.ศ. 2283 ปรากฏชื่อวัดป่าบุก ตั้งอยู่ทิศใต้ของเมืองปาย (พลาย) ช้างตัวผู้ ดังความว่า “วัดป่าบุก ใต้เมืองพายช้างพู้” (คัมภีร์ ธัมมปาทะ (ธรรมบท) ปัจจุบันเก็บไว้ที่วัดดวงดี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่)


         พ.ศ. 2330 เมืองปายรวมตัวกับเมืองพระเยา เมืองเชียงราย เมืองฝาง เมืองปุ เมืองสาด กันขับไล่พม่า แต่เมืองพระเยาทำการไม่สำเร็จ


         พ.ศ. 2412 ขณะที่พระเจ้ากาวิโลรสสุริยงวงศ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2399-2413) ลงไปถวายบังคมกราบทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพ ฯ ฟ้าโกหล่านเมืองหมอกใหม่ ยกกองทัพมาตีเมืองปาย ซึ่งสมัยนั้นมีฐานะเมืองขึ้นของเชียงใหม่ เจ้าราชภาคีไนย นายบุญทวงศ์ นายน้อยมหาอินท์ รักษาการเมืองเชียงใหม่ ทำหนังสือถึง เจ้าเมืองลำปาง และเมืองลำพูน ให้มาช่วยเมืองปาย หลังจากนั้นเจ้านายและกองทัพจากสามเมือง ยกกำลังมาช่วยเมืองเชียงใหม่รบกับกองทัพของฟ้าโกหล่าน โดยทีนายบุญทวงศ์ นายน้อยมหาอินท์ คุมกำลัง 1000 คน จากเมืองลำปาง มีนายน้อยพิมพิสาร นายหนายไชยวงศ์ คุมกำลัง 1000 คน จากเมืองลำพูนมีนายอินทวิไชย นายน้อยมหายศ คุมกำลัง 500 คน แต่ไม่สามารถป้องกันเมืองปายได้ กองทัพฟ้าโกหล่าน จุดไฟเผาบ้านเรือน ในเมืองปาย และกวาดต้อนผู้คนและครอบครัวไปอยู่เมืองหมอกใหม่ กองทัพทั้งสามเมืองจึงได้ติดตามไปถึงฝั่งแม่น้ำสาละวิน แต่ตามไม่ทันจึงได้เดินทางกลับ


         พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองปาย ตั้งแต่ถูกฟ้าโกหล่านตีแตก จุดไฟเผาบ้านเมือง กวาดต้อนผู้คนไปเมืองหมอกใหม่แล้ว เมืองปายมีสภาพเป็นร้างบางส่วน ไม่มีผู้รักษาเมือง ยังถูกกองทัพเงี้ยว และลื้อ กวาดต้อนครอบครัวไปอยู่เป็นประจำ จึงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้ง พระยาชัยสงคราม (หนานธนันไชย บุตรราชวงศ์มหายศ) เป็นพระยาเกษตรรัตนอาณาจักร ไปปกครองเมืองปาย ให้ยกเอาคนจากเมืองเชียงใหม่ไปตั้งเมืองปาย ให้เป็นภูมิลำเนาบ้านเรือนเหมือนเดิม เพื่อจะได้ป้องกันรักษาด่านเมืองเชียงใหม่


         พ.ศ. 2438 พระยาดำรงราชสิมาผู้ว่าราชการเมืองปายถูกพวกแสนธานินทร์พิทักษ พ่อเมืองแหง ปล้นแล้วแสนธานินทร์พิทักษประกาศเกลี้ยกล่อมคนเมืองปั่น เมืองนาย เมืองเชียงตอง เมืองพุ มารบเมืองปายและจะเก็บริบเอาทรัพย์สิ่งของให้หมด พระยาทรงสุรเดช พร้อมด้วยเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ประชุมเจ้านายหกตำแหน่งมอบหมายให้เจ้าอุตรโกศลออกไปปราบปราม


         วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ส่างนันติคนในบังคับอังกฤษ ใช้ดาบฟันส่างสุนันตา และเนอ่อง คนในบังคับสยาม ตาย ณ ตำบลกิ่วคอหมา แขวงเมืองปาย และนำทรัพย์สินไปมูลค่าประมาณ 1,000.-บาท ศาลต่างประเทศ เมืองนครเชียงใหม่ ได้ตัดสินประหารชีวิต (คำพิพากษาที่ 25/125 ศาลต่างประเทศ เมืองนครเชียงใหม่ วันที่ 24 สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 อ้างในศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2535/คำพิพากษานี้เป็นคำพิพากษาในสมัยที่สยาม (ไทย) ตกอยู่ภายใต้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตตามสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398) และจำเลยได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์กรุงเทพ ได้ยกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย และให้ประหารชีวิตตามคำพิพากษาศาลล่าง (คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 20 ปี ค.ศ. 1906 อ้างใน ศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2536)


         พ.ศ. 2454 กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกการปกครองเมือง เปลี่ยนฐานะเมืองปายเป็นอำเภอปาย และได้แต่งตั้งหลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมมินทร์) เป็นนายอำเภอคนแรกระหว่าง พ.ศ. 2454 – 2468 [10]



[แก้ไข] ภูมิศาสตร์




         เป็นที่ราบแอ่งกะทะ ล้อมล้อมด้วยภูเขา มีแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำปาย และ แม่น้ำของ




[แก้ไข] ลักษณะภูมิอากาศ


         อ.ปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมีหมอกปกคลุมเกือบตลอดทั้งปี ทั้งนี้ มีสาเหตุเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาสูง มีพื้นที่อยู่บนที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้มีอุณหภูมิสูงในตอนกลางวัน เนื่องจากถูกแสงแดด ส่วนในตอนกลางคืน จะได้รับอิทธิพลจากลมภูเขา ทำให้อากาศเย็นลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อความร้อนในตอนกลางวัน ลอยตัวขึ้นปะทะกับความชื้นของอากาศ จึงทำให้เกิดหมอกปกคลุม โดยทั่วไปในตอนกลางคืน สภาพภูมิอากาศจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้ง 3 ฤดูกาล เอาเป็นว่าไม่ว่าฤดูไหน ถ้าเป็นตอนกลางคืน ก็ได้นอนห่มผ้ากันทุกคืนเชียว



[แก้ไข] ฤดุร้อน


         เริ่มตั้งแต่ช่วงระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม (แต่บางปี เดือนมีนาคมยังหนาวอยู่เลย ไม่น่าเชื่อ) จะมีอากาศร้อนอบอ้าว ในเวลากลางวัน ช่วงนี้นักท่องเที่ยวจะไม่หนาแน่น จะมีบ้างในวันเสาร์อาทิตย์ หรือมีวันหยุดเทศกาล ราคาที่พักหลายๆ ที่มีการลดราคา ปายอาจจะสวยน้อยหน่อย แต่ก็เป็นการเที่ยวที่ประหยัดเงินมากขึ้น



[แก้ไข] ฤดูฝน


         เริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้อากาศชุ่มชื้นฝนจะตกชุกมาก ซึ่งจะมีปริมาณมากที่สุดในเดือนสิงหาคม มีผลทำให้บางที่พักที่ใกล้แม่น้ำ ต้องคอยลุ้นกันว่า น้ำจะท่วมมั้ยกันทุกๆ ปีๆ ละหลายๆ ลุ้น สะพานไม่ไผ่ข้ามแม่น้ำปายที่สร้างกันไว้ก็จะทยอยกันพัง แต่ฤดูนี้จะตรงกับซัมเมอร์ของทางยุโรป จึงจะมักพบเห็นชาวยุโยป เด็กนักเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองหนาตาในฤดูนี้ กิจกรรมที่นิยมในช่วงนี้ จะเป็นการล่องแพยางในแม่น้ำปาย



[แก้ไข] ฤดูหนาว


         เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และความกดอากาศสูงจากประเทศจีน อากาศจะหนาวเย็นมาก และยิ่งหนาวเย็นก็จะยิ่งมีคนมาเที่ยวมาก ถึงมากๆ จนถึงมากโคด โดยเฉพาะเดือนธันวาคม จะมีนักท่องเที่ยวมามาก แต่ก็เป็นเดือนที่อากาศดี และปายก็สวยที่สุดในเดือนนี้ ปัญหาไม่มีที่พักก็จะวุ่นในเดือนนี้ เป็นประจำทุกปี จนเป็นที่มาของคำว่า“ปายเปลี่ยนไป ปายเป็นถนนข้าวสาร” ก็เพราะนักท่องเที่ยว มาเจอกับนักท่องเที่ยว เจอกันไปมา



[แก้ไข] สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอปาย



[แก้ไข] น้ำพุร้อนปาย




         อยู่ในป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนท้องที่ตำบลแม่ฮี้ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) ข้ามสะพานแม่น้ำปายถึงบริเวณหลักกม.ที่ 87-88 แยกซ้ายเข้าไปอีก 2 กม. ตามทางเข้าบ้านท่าปาย เป็นทางราดยางตลอดทั้งสาย สภาพของโป่งน้ำร้อนเป็นบ่อน้ำร้อนน้ำกำลังเดือนเป็นฟองๆ และมีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ พร้อมทั้งมีน้ำร้อนไหลเรื่อยๆ ทั่วบริเวณกว้างมีบ่อใหญ่สองบ่อ นอกนั้นมีลักษณะเป็นน้ำผุดบางจุดความร้อนประมาณ 80 องศาเซลเซียส และรอบๆ โป่งร้อนเป็นไม้สักที่สมบูรณ์มาก



         ทุกวันจะมีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะวันหยุด เสาร์อาทิตย์ จะมีคนมาเที่ยวที่นี่มาก นอกจากการอาบน้ำแร่ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพแล้ว หลายคนที่มาแช่น้ำพุร้อนเชื่อกันว่าจะทำให้โรคภัยไข้เจ็บบางอย่างหายหรืออาการดีขึ้นอีกด้วย



[แก้ไข] วัดกลาง อ.ปาย


         ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงใต้ ภายในวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปไทยใหญ่แท้ประดิษฐานอยู่กลางลานวัด มีเจดีย์ทรงมอญรายล้อมโดยรอบใต้เจดีย์ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน เหนือฐานเจดีย์องค์ใหญ่ทำเป็นมณฑปยอดมงกุฎ ภายในวัดมีวัตถุโบราณ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ในตัวเมืองปาย



[แก้ไข] เจดีย์พระธาตุแม่เย็น


         อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ตามเส้นทางสายแม่ฮ่องสอน-ปาย เป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยใด ไม่ปรากฎ ตั้งอยู่บนเนินสูง และเมื่อขึ้นไปนมัสการ องค์พระธาตุแม่เย็น จะมองเห็นทิวทัศน์ ของอำเภอปายโดยทั่วถึง เป็นจุดสังเกต ของผู้โดยสารเครื่องบิน ว่าเข้าเขตอำเภอปายแล้ว



[แก้ไข] วัดน้ำฮู


         ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กม. เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่ออุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 28 นิ้ว สูง 30 นิ้ว พระพุทธรูปองค์นี้พระเศียรกลวง ส่วนบนเปิดปิดได้และมีน้ำขังอยู่ เป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม อายุประมาณ 500 ปี เมื่อ พ.ศ. 2515 มีพระธุดงค์จากอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มานมัสการและสงสัยว่าข้างในพระจะมีน้ำจึงเปิดดูพบว่ามีน้ำจริงๆ ข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีผู้คนหลั่งไหลมาขอน้ำไปสักการะพอน้ำในพระเศียรหมดก็จะมีไหลออกมาอีกในลักษณะซึกออกมาตลอดเวลา น้ำตกอยู่ระหว่างทางไป น้ำตกหมอแปง


ด้านหลังมีองค์พระเจดีย์ ตามประวัติเล่าว่า พระสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเพื่อบรรจุพระอัฐิของพระพี่นางสุพรรณกัลยา



[แก้ไข] น้ำตกหมอแปง อ.ปาย


         น้ำตกหมอแปง เป็นน้ำตกขนาดกลาง อยู่ในบริเวณ หมู่บ้านหมอแปง ทางทิศเหนือของตัวอำเภอ ใช้เส้นทางสายปาย แม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากตัวอำเภอปาย ก.ม. เส้นทางเป็นถนนคอนกรีต และเป็นถนนลูกรังในช่วงสุดท้ายที่จะถึงทางขึ้นน้ำตก ทางช่วงนี้ไม่สามารถนำรถยนต์ขึ้นได้ นอกจากเป็นรถขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ มอเตอร์ไซด์สามารถนำขึ้นไปได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการขับขี่ น้ำตกมีบริเวณสำหรับกางเต้นท์ แต่ไม่มีร้านค้า



[แก้ไข] กอแล ( ปาย แคนย่อน)


         อยู่ในเขตบ้านร้องเหย่ง ห่างจากอำเภอประมาณ 7 กม. สามารถเดินทางได้โดยทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) บริเวณหลักกม.ที่ 88 อยู่ทางด้านขวามือ และต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร ลักษณะเป็นผืนดินที่ถูกกัดเซาะเป็นร่องลึกคล้ายหน้าผาติดต่อกันเป็นบริเวณกว้างประมาณ 5 ไร่เศษ (คล้ายกับแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่) สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล



[แก้ไข] กิจกรรมที่น่าทำ



 




[แก้ไข] ปั่นจักรยานชมเมืองปาย


         เส้นทางปั่นจักรยานสาย เชียงใหม่-แม่มาลัย-ปาย เป็นเส้นทางที่ท้าทายนักปั่นเสือภูเขา เส้นทางคดเคี้ยว เลาะเลี้ยวไปตามหุบเขา สองข้างทางรายล้อมไปด้วยพืชพรรณไม้และป่าเขาลำเนาไพร เขตติดต่อระหว่าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แวะชื่นชมทิวทัศน์อัน สวยงามของทะเลหมอกที่ ห้วยน้ำดัง จักรยาน จะมาหาเช่าใน อำเภอปาย ก็ได้ ซึ่งก็มีร้านจักรยานให้เช่าแก่นักท่องเที่ยวอยู่หลายร้าน



[แก้ไข] นั่งช้าง ชมไพรใน อ.ปาย


         กิจกรรมที่บริการให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินในการชมธรรมชาติ อีกอย่างหนึ่งคือ นั่งช้าง ท่านสามารถติดต่อบริการนั่งช้างได้ที่ ปางช้างบ้านท่าปาย ใกล้กับท่าปายสปาแค้มปิ้งรีสอร์ท เป็นเส้นทางเดียวกับการไปน้ำพุร้อนบ้านท่าปาย ค่าบริการนั่งช้าง ชั่วโมงละ 500 บาท นั่งได้สองคนต่อช้าง 1 เชือก



[แก้ไข] ล่องแก่ง แม่น้ำปาย


         แม่น้ำปายเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีต้นกำเนิดมาจากทิวเขาถนนธงชัย และแดนลาว แล้วไหลผ่าน 3 อำเภอในจังหวัดเดียว คือ อ.ปาย-อ.ปางมะผ้า-อ.เมือง ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน แต่ละช่วงมีทิวทัศน์ที่สวยงาม


         การล่องแก่งแม่น้ำปาย รวมระยะทางประมาณ 50 กิดลเมตร ความยากของแก่งมีตั้งแต่ระดับ 1-4 ช่วงฤดูฝนอาจจะถึงระดับ 5 ซึ่งมีความยากมาก และระดับน้ำรุนแรง นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสธรรมชาติที่สวยงามและความสนุกสนานตลอดสายน้ำ เช่น เล่นน้ำตกซู่ซ่า ผจญภัยแช่ตัวในบ่อดคลน กระโดดหน้าผาสูง ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการล่องแก่ง คือ เดือนมิถุนายน-กุมภาพันธ์ของทุกปี การล่องแก่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่น



[แก้ไข] ล่องแพยาง


         อำเภอปาย นับว่าเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้ริเริ่มกิจกรรมนี้ การล่องแพยางไปตามสายน้ำ แม่น้ำปาย เป็นแม่น้ำที่มีเกาะแก่งมากที่สุดและสวยงาม มาก เป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองนี้มักจะไม่พลาด การล่องแพท่านสามารถเลือกได้ ในโปรแกรม 1 วัน หรือ 2 วัน โดยส่วนใหญ่โปรแกรมการล่องแก่งจะไปเริ่มที่ลำน้ำของ ในเขต อ.ปางมะผ้า และไปสิ้นสุดที่ลำน้ำปายในพื้นที่ของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ น้ำตกแม่สุรินทร์ บ้านปางหมู อ.เมือง แม่ฮ่องสอน ในระหว่างการล่องแก่งท่านจะได้พบกับความสนุกตื่นเต้น การตั้งแค้มป์ในป่า การแช่โคลนจากบ่อน้ำพุร้อนตามธรรมชาติ เพื่อผิวพรรณเปล่งปลั่ง กิจกรรมการล่องแก่ง จะมีในช่วงเดือน ต้นเดือนมิถุนายนและไปสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ของปีต่อไป ในช่วงถดูแล้งน้ำน้อยจะไม่สามารถล่องแก่งได้ ก่อนการล่องแพท่านจะได้รับการฝึกการพายเรือ และการแนะนำ วิธีการปฏิบัติในการพายแพยางอย่างละเอียดจากผู้คัดท้ายเรือ หรือที่เรียกว่า กัปตัน การล่องแพควรจะนัดแนะกับเพื่อนเพราะแพยางลำหนึ่งต้องมีผู้ร่วมพายอย่างน้อย 4 คน



[แก้ไข] การเดินทาง



 




[แก้ไข] รถโดยสารประจำทาง



  • จากกรุงเทพฯ

         - มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศของบริษัทเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร ทุกวันๆ ละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เมืองเหนือยานยนต์โทร. 0 2936 3587-8 จากเชียงใหม่


         - มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทาง คือ


         1. สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา (ทางหลวงหมายเลข 108) 06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอำเภอ แม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง


นครเขลางค์ นครลำปาง

          เมื่อพุทธศักราชได้ ๑๒๐๒ พระนางจามเทวีได้รับการอัญเชิญให้มาครองราชย์ที่นครหริภุญไชย พระนางมีราชบุตร ๒ พระองค์ คือ เจ้ามหันตยศ และเจ้าอินทวร หรืออนันตยศก็เรียก พระนางจามเทวีทรงให้เจ้าชายอนันตยศไปครองเมืองเขลางค์นคร

          ในสมัยพระเจ้าเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย พระองค์ทรงขยายอาณาจักรยกกองทัพลงมาตีเมืองหริภุญไชย มีพระเจ้ายี่ยาเป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ กองทัพพระเจ้ายี่บาไม่สามารถต่อสู้กองทัพอันใหญ่หลวงของพระเจ้าเม็งรายได้ จึงถอยทัพหลบหนีไปอยู่กับราชบุตรนามพระยาเบิก เจ้าผู้ครองเขลางค์นคร ต่อมารวบรวมกำลังทัพได้ จึงยกกองทัพจากเขลางค์นครมาชิงเมืองหริภุญไชยคืน เจ้าขุนคราม ราชบุตรเจ้าเม็งรายผู้ครองเชียงราย ยกกองทัพมาช่วยรบพระยาเบิกสิ้นชีพในสนามรบ พระยายี่บาถอยทัพไปนครเขลางค์ ถูกกองทัพเจ้าขุนครามนำกำลังติดตามต่อสู้ พ่ายแพ้ต้องหนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารเจ้าเมืองพิษณุโลก จากชัยชนะในการรบครั้งนี้ เจ้าขุนครามได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชัยสงคราม

          ข้าราชบริพารนำพระแก้วมรกตจากเชียงรายเดินทางไปนครพิงค์เชียงใหม่ รถที่บรรทุกพระแก้วมรกตไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ด้วยความมหัศจรรย์เป็นยิ่งนัก ข้าราชบริพารจึงต้องนำพระแก้วมรกตไปนครเขลางค์เพราะเมืองเขลางค์นี้ พระฤาษีเคยนิมิตไว้แล้วว่า สถานที่เมืองนี้ตั้งอยู่มีพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าบรรจุอยู่ตั้ง ๕ แห่ง เป็นที่เกิดศรีและเดชะมาก ด้วยเหตุนี้จึงขนานนามเมืองนี้ว่าศรีนครไชยเขลางค์ วัดที่พระแก้วมรกตไปประดิษฐาน คือวัดพระแก้วดอนเต้า

          พระแก้วมรกตประทับอยูที่เขลางค์นครจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๐๑๙ พระเจ้าติโลกราชโปรดให้เสนาบดีชื่อสีหโคตร (หมื่นด้ามพร้าคด) ก่อเสริมราชกูฏ (เจดีย์หลวง) องค์เก่าที่เจ้าแสนเมืองมาทรงสร้างไว้ ทรงบูรณะพระเจดีย์หลวงใหม่ เป็นฐานกว้าง ๓๕ วา สูง ๔๕ วา มียอดเจดีย์เป็นองค์เดียวงามมากในนครพิงค์เชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราชทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ในเจดีย์หลวงแห่งนี้

          ต่อมาพระเจ้าติโลกราชทรงยกกองทัพไปตีเมืองหลวงพระบาง แต่หลวงพระบางมีชัยภูมิแน่นหนามั่นคง ตั้งรับเป็นสามารถไม่สามารถตีเมืองให้แตกได้ต้องยกทัพกลับ ส่วนเมืองเชียงรุ้ง พระองค์นำทัพเข้าทำสงครามยึดได้ พระองค์เสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๑ มีราชโอรสองค์เดียวพระนามว่าท้าวศรีบุญเรือง ครองเมืองเชียงราย ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดทางอาญา จึงถูกปลงพระชนม์ ท้าวศรีบุญเรืองมีราชบุตรคือท้าวยอดเชียงราย เสนามาตย์ราชวงศานุวงศ์ประชุมปรึกษาหารือกันแล้วจึงอัญเชิญท้าวยอดเชียงรายขึ้นเถลิงราชสมบัติในนครพิงค์เชียงใหม่

          พระยอดเชียงรายมีราชบุตรองค์หนึ่งทรงนามว่ารัตนราชกุมาร และมีราชบุตรบุญธรรมองค์หนึ่งนามว่าเพลาสง ด้วยเป็นบุตรจีนฮ่อ พระยอดเชียงรายจึงให้ไปครองเมืองพร้าว ส่วนรัตนราชกุมารยังทรงพระเยาว์อยู่ ต่อมาพระยอดเชียงรายเสด็จทิวงคต รัตนราชกุมารจึงทรงครองราชย์ที่นครพิงค์เชียงใหม่แทน พระองค์ทรงพระนามใหม่ว่าพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช พระองค์สิ้นพระชนม์ ไม่มีราชบุตรสืบแทน บรรดาเสนามาตย์จึงได้อัญเชิญท้าวเกษแก้วกุมาร ผู้เป็นอนุชา คือราชบุตรพระยอดเชียงรายเช่นกัน ครองเมืองนครพิงค์เชียงใหม่ พระนามว่าพระเมืองเกษเกล้าเจ้านครพิงค์เชียงใหม่

          พระเมืองเกษเกล้ามีราชบุตรองค์หนึ่งพระนามว่าเจ้าชายคำราชบุตร คิดการใหญ่กับเสนามาตย์ จับกุมพระราชบิดาแล้วปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้านครพิงค์เชียงใหม่ ส่วนพระเมืองเกษเกล้าถูกเนรเทศไปอยู่เมืองน้อย แต่ในสมัยเจ้าชายคำครองนครพิงค์ สร้างความเดือดร้อนทุกข์ยากแก่ราษฎรเป็นอันมาก ราษฎรจึงก่อกบฏ ถอดพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ ไปอัญเชิญพระเมืองเกษเกล้าขึ้นครองราชย์นครพิงค์เชียงใหม่เป็นคำรบสอง แต่พระองค์ทรงฟั่นเฟือน จึงถูกลอบปลงพระชนม์

          บรรดาเสนามาตย์ประชุมปรึกษากันแล้ว จึงได้ไปทูลขอพระเจ้าโพธิสารราช เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ซึ่งมีมเหสีเป็นราชธิดาพระเมืองเกษเกล้ามีราชบุตรคือพระอุปโยวราชล้านช้าง ทรงขึ้นครองราชย์ที่นครพิงค์เชียงใหม่

          พระอุปโยวราชล้านช้าง พระนามเดิมว่าเจ้าเชษฐวงษ์ ต่อมาพระเจ้าโพธิสารราชสิ้นพระชนม์ พระเจ้าเชษฐวงษ์จึงเสด็จไปจัดงานศพพระราชบิดาแต่พระองค์คิดว่าเสร็จพิธีศพพระราชบิดาแล้ว คงประทับครองราชย์ที่หลวงพระบางสืบไป พระองค์จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระแก้วขาว (พระจันทรแก้วขาวกรุงละโว้) พระพุทธสิหิงค์ พระแทรกคำ และพระพุทธรูปอื่นอีกหลายองค์ นำไปประดิษฐานไว้ที่นครหลวงพระบาง พระองค์ขึ้นเถลิงราชสมบัติกรุงศรีสัตนาคนหุต เฉลิมพระนามว่าพระอภัยพุทธบวรไชยเชษฐาธิราช พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง

          พระไชยเชษฐาธิราชล้านช้างทรงใช้อำมาตย์มาขอสมาพระธรรมสังฆเจ้าเมืองเชียงใหม่ ว่าไม่เสด็จมาครองราชย์ที่นครพิงค์อีกแล้ว ขอให้พระมหาเทวีเจ้าจิรประภารักษาเมืองไว้ด้วย เสนามาตย์ทั้งหลายทราบเรื่องแล้วปรึกษากันอัญเชิญพระเมกุฎซึ่งอยู่เมืองนาย อันมีเชื้อสายสืบมาแต่ขุนเครือราชบุตรพระยาเม็งรายผู้สร้างนครพิงค์เชียงใหม่ มาครองราชย์ที่เชียงใหม่สืบขัตติยวงศ์ต่อไป

          พระเมกุฎรับเชิญมาครองราชย์ที่นครพิงค์ ได้รับเฉลิมพระนามว่าพระเจ้าสุทธิวงศ์ดำรงนครเชียงใหม่
          เมื่อพระเมกุฎสุทธิวงศ์ทรงเป็นกษัตริย์ครองนครเชียงใหม่แล้ว เสนาบดีมนตรีมาตย์ในนครพิงค์ได้มากันไปเฝ้าพระไชยเชษฐาธิราช ณ กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ทูลขอพระแก้วมรกต พระสิงห์ พระแทรกคำ พระประจำนครเชียงใหม่คืนมา พระองค์คืนให้แต่พระสิงห์นอกนั้นหาคืนไม่

          ต่อมาพระเจ้าหงสาวดียกกองทัพมาตีนครพิงค์เชียงใหม่ พระเมกุฎสุทธิวงศ์สู้ไม่ได้ จึงเสียเมือง แต่พระเจ้าหงสาวดีทรงให้ครองนครพิงค์ดังเดิม แต่พระเมกุฎเจ้านครพิงค์เชียงใหม่ กับพระยากมล ผู้ครองเมืองเชียงแสนร่วมกันแข็งเมืองไม่ขึ้นต่อกรุงหงสาวดี พระเจ้ากรุงหงสาวดียกกองทัพมาปราบปรามนครพิงค์เชียงใหม่มีชัยชนะอีก จึงนำพระเมกุฎและพระยากมลไปไว้เป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี พระองค์แต่งตั้งให้พระราชเทวี อันมีเชื้อสายราชวงศ์เชียงใหม่ ครองนครพิงค์ ทรงนามว่าพระวิสุทธิเทวี ทรงเป็นราชินีครองนครพิงค์สืบไป

          เข้า พ.ศ. ๒๑๐๗ พระไชยเชษฐาย้ายราชธานีจากหลวงพระบางไปตั้งนครหลวงที่เวียงจัน ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต พระแทรกคำ (พระบาง) ไปประดิษฐานที่พระนครใหม่ ทรงสร้างปราสาทสามยอดเป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกต พระบาง และพระพุทธรูป

          หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ พระเจ้าตากสินทรงกู้ชาติรวบรวมกำลังต่อสู้กับกองทหารพม่า พระองค์สามารถมีชัยชนะ จึงสามารถกู้ชาติได้สำเร็จ ทรงครองราชย์ที่กรุงธนบุรี พระองค์ทรงให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงนำทัพไปตีเวียงจัน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมีชัยชนะต่อนครเวียงจัน จึงนำพระแก้วมรกต พระบาง มาไว้ที่กรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินทรงสร้างที่ประทับให้พระแก้วมรกต ที่อุโบสถวัดอรุณราชวราราม

          ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเสวยราชย์ต่อมาจากพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงย้ายราชธานีมาสร้างใหม่ที่กรุงเทพมหานคร สร้างวัดใหม่เพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต เรียกว่าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชทานนามพระนครใหม่สอดคล้องกับนามพระแก้วมรกตว่า กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยาบรมราชธานี


 


โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3113 วันที่ 15 พ.ย. 2552

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


เมือง.???...ที่ถูกลืม.......

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

กราบหมอนก่อนนอน...

กราบหมอนก่อนนอน...


เปิดอ่าน 7,318 ครั้ง
ทำนายนิสัยจากลายนิ้วมือ...

ทำนายนิสัยจากลายนิ้วมือ...


เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง
วาทะ....คำคม.....จากมัทนะพาธา

วาทะ....คำคม.....จากมัทนะพาธา


เปิดอ่าน 7,477 ครั้ง
ลี้ลับ.....ในลับแล

ลี้ลับ.....ในลับแล


เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง
one Day in Bangkok...

one Day in Bangkok...


เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เพชรเม็ดใหญ่ที่สุดในจักรวาล

เพชรเม็ดใหญ่ที่สุดในจักรวาล

เปิดอ่าน 7,181 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
***การพับของเล่นต่าง ๆ จากกระดาษ ***
***การพับของเล่นต่าง ๆ จากกระดาษ ***
เปิดอ่าน 7,286 ☕ คลิกอ่านเลย

ครูยอมดีกว่าจ้ะ
ครูยอมดีกว่าจ้ะ
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย

ลำไย.....ผลไม้ที่ให้ทั้งคุณและโทษ
ลำไย.....ผลไม้ที่ให้ทั้งคุณและโทษ
เปิดอ่าน 7,191 ☕ คลิกอ่านเลย

คำเตือน!!!เรื่อง การส่งต่อ --->Forward Mail
คำเตือน!!!เรื่อง การส่งต่อ --->Forward Mail
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย

(Beauty Tips) เลือกเสื้อผ้าให้เหมาะกับรูปร่าง
(Beauty Tips) เลือกเสื้อผ้าให้เหมาะกับรูปร่าง
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย

   วิสาขมาส  พุทธศาสน์ร่วมใจ  เพ็ญเดือน ๖  ฟ้าใส  เชิญชาวไทยทำบุญ
วิสาขมาส พุทธศาสน์ร่วมใจ เพ็ญเดือน ๖ ฟ้าใส เชิญชาวไทยทำบุญ
เปิดอ่าน 7,176 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ตรวจสอบฮวงจุ้ยที่บ้านคุณ
ตรวจสอบฮวงจุ้ยที่บ้านคุณ
เปิดอ่าน 12,034 ครั้ง

3 steps พุงยุบใน 2 weeks
3 steps พุงยุบใน 2 weeks
เปิดอ่าน 21,887 ครั้ง

นวดศีรษะและต้นคอก่อให้เกิดอันตรายจริงหรือ?
นวดศีรษะและต้นคอก่อให้เกิดอันตรายจริงหรือ?
เปิดอ่าน 42,040 ครั้ง

การขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล)
การขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล)
เปิดอ่าน 114,518 ครั้ง

การกำหนดวงเงินการจัดหาพัสดุ
การกำหนดวงเงินการจัดหาพัสดุ
เปิดอ่าน 16,500 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ