Advertisement
|
|
|
|
ต้นสายปลายเหตุของกิจกรรม "ไหว้พระ 9 วัด" เกิดจากการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) ได้รับมอบหมายในเชิงนโยบาย ให้จัดถวายความรู้แด่พระสงฆ์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 รูป "ในการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยว ในอนาคตที่ยั่งยืนได้อย่างไร"
โดยเดินทางไปศึกษาวัดและโบราณสถานที่มีความพร้อมในการพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ค่อนข้างสมบรูณ์ ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นตัวอย่างในการจัดกิจกรรมถวายความรู้แด่พระสงฆ์เบื้องต้นครั้งแรก จำนวน 9 แหล่ง อันประกอบด้วย ศาลหลักเมือง วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง วัดภูเขาทอง วัดบรมวงศ์อิศรวราราม วัดหน้าพระเมรุ วัดพุทไธศวรรย์ วัดโลกยสุธาราม วิหารพระมงคลบพิตร (สาเหตุที่ใช้เลข 9 เพราะเป็นหมายเลขที่เป็นสิริมงคลของคนไทยและโครงการนี้ถือว่าก่อกำเนิดในยุคสมัยรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
หลังจากการถวายความรู้แด่พระสงฆ์ในครั้งนั้น ได้มีการนำเสนอข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ททท. จัดกิจกรรม "ไหว้พระ 9 วัด" เพื่อเสริมสิริมงคลและส่งเสริมการท่องเที่ยว ต่อมาก็มีเสียงเรียกร้องจากบรรดานักท่องเที่ยวกลุ่ม ส.ว. (สูงวัยหรือสูงอายุ) มีความต้องการจะเดินทางท่องเที่ยวตามโปรแกรมไหว้ 9 วัด ตามเส้นทางที่ ททท.จัดถวายความรู้แด่พระสงฆ์มากขึ้น และได้มีบริษัททัวร์ริเริ่มจัดไหว้พระ 9 วัด ในโปรแกรมต่างๆ ในหลายทางเลือกไว้ให้บริการมากขึ้นเช่นกัน
ต่อมาปี พ.ศ. 2545 ททท.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ทำโครงการ เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน โดยเน้นการส่งเสริมการตลาดเพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ดังนั้น จึงเลือกทำกิจกรรม "ไหว้พระ 9 วัด" หรือ "ไหว้พระขอพร 9 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์" เป็นการจัดกิจกรรมนำร่องขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรกในแหล่งท่องเที่ยวรอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร เพื่อก่อให้เกิดการตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในระยะยาวตลอดทั้งปีต่อไปอย่างถาวร
ซึ่งในระยะแรกนั้น ททท. เน้นการประชาสัมพันธ์ จัดทำเอกสารคู่มือที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางด้วยตนเองพร้อมจัดทัวร์โปรแกรมพิเศษ เชิญ VIP ศิลปินดารานักแสดงต่างๆ ตัวแทนบริษัทนำเที่ยว สื่อมวลชน ร่วมเดินทางทำกิจกรรม "ไหว้พระ 9 วัด" กระตุ้นตลาดในช่วงเทศกาลสำคัญๆ เช่น งานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ งานตรุษจีน งานสงกรานต์ เป็นต้น
ในเชิงการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวชาวไทยทุกกลุ่มอายุและขยายผลสู่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ (โดยเฉพาะชาวเอเชียที่ชอบท่องเที่ยวในเชิงศาสนา-วัฒนธรรม) ระยะยาวอย่างต่อเนื่องในอนาคต ททท. จึงได้จัดทำเอกสารคู่มือทำกิจกรรม "ไหว้พระ 9 วัด" ไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวจำนวน 3 ภาษา คือไทย อังกฤษ จีน อนึ่งเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ง่ายต่อการบอกต่อๆ กันไป
สำหรับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ จึงได้สร้างจุดเด่นและจุดขาย เป็น "คติ" ของสถานที่แต่ละแหล่งที่เราเลือกขึ้นมาใช้เป็นจุดขายสร้างกระแสโน้มน้าวกระตุ้นให้คนเลือกตัดสินใจเดินทางเข้าไปท่องเที่ยว "ไหว้พระ 9 วัด" ในวัดและสถานที่ต่างๆ บริเวณเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ดังนี้
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
มีคติว่า
"แก้วแหวนเงินทองไหลมาเทมา"
หรือ
"เพื่อจิตใจสะอาด ดุจรัตนตรัย"
ททท
วัดกัลยาณมิตร
มีคติว่า
"เดินทางปลอดภัย มีมิตรไมตรีที่ดี"
วัดชนะสงคราม
มีคติว่า
"มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง"
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
มีคติว่า
"ร่มเย็นเป็นสุข"
วัดระฆังโฆสิตาราม
มีคติว่า
"มีคนนิยมชมชื่น"
วัดสุทัศนเทพวราราม
มีคติว่า
"มีวิสัยทัศนกว้างไกลมีเสน่ห์แก่บุคคลทั่วไป"
วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)
มีคติว่า
"ชีวิตรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน"
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
มีคติว่า
"ตัดเคราะห์ต่อชะตาเสริมวาสนาบารมี"
ศาลเจ้าพ่อเสือ
มีคติว่า
"เสริมอำนาจบารมี"
วัดบวรนิเวศวิหาร
มีคติว่า
"พบแต่สิ่งที่ดีงามในชีวิต"
วัดสระเกศ
มีคติว่า
"เสริมสร้างความคิดอันเป็นสิริมงคล"
ในลำดับมาได้มีการปรับเปลี่ยนสถานที่ไปบ้างบางแห่งเพื่อเอาใจสำหรับกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวชาวไทย จึงได้ปรับเลือกใช้วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดสระเกศ แทน ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร และศาลเจ้าพ่อเสือ เพื่อเป็นการต่อยอดและสร้างทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการ "ไหว้พระ (จริงๆทั้ง) 9 วัด" ททท. จึงได้ปรับเปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้ดูยิ่งใหญ่และขลังขึ้นกว่าเดิม เป็น "ไหว้พระขอพรเก้าพระอารามหลวง"
กิจกรรม "ไหว้พระ 9 วัด" ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาขยายผลและต่อยอดการจัดกิจกรรมลักษณะนี้อย่างจริงจังหลายรูปแบบ โดยเจ้าของสถานที่และหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ทำการจัดกิจกรรมไหว้พระ 9 วัด กระจายตัวไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศและสร้างจุดขายเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวมีสีสันความเชื่อและมีเสน่ห์แตกต่างกันออกไป
มักจะพบเห็นเด็กๆ วัยรุ่น หนุ่ม สาว ในปัจจุบันจูงมือกันเข้าวัดทำบุญบริจาคทานทำให้จิตใจสุขสงบเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนั้นหมายถึงการท่องเที่ยว "ไหว้พระ 9 วัด" ก่อให้เกิดมิติการเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ สร้าง-เสริม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในการปลูกฝังวัฒนธรรมไทย และค่านิยมให้กับเด็กๆ วัยรุ่น วัยทำงาน สนใจเดินทางเข้าวัดมากขึ้นกว่าเดิมแทนที่จะมีแต่เพียงกลุ่ม (สูงวัย หรือ สูงอายุ) เข้าวัดเท่านั้น
ทั้งนี้ทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดรูปแบบการท่องเที่ยวในเชิงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และโบราณสถาน เพื่อแสวงหาความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ชำระจิตใจให้ผ่องแผ้ว ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างสรรค์กิจกรรมอันเป็นพรชัยแก่การเริ่มต้นที่ดีพบแต่สิ่งที่ดีงามให้กับชีวิตในการก้าวต่อไปในอนาคต...ทำให้ท่องเที่ยวแล้วมีความสุข (อิ่มบุญ)...นี่คือความเป็นมาของ "ต้นตำรับ...ไหว้พระ 9 วัด"
ข้อมูลและภาพประกอบจาก
|
|
|
|
|
|
|
วันที่ 15 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,178 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 32,181 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,461 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,751 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,207 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,889 ครั้ง |
|
|