ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สวนพฤกษศาสตร์...รวบรวมพันธุ์ไม้..หลากหลายชนิด..ที่สวนนงนุช..พัทยา


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,431 ครั้ง
สวนพฤกษศาสตร์...รวบรวมพันธุ์ไม้..หลากหลายชนิด..ที่สวนนงนุช..พัทยา

Advertisement

   



การเก็บรวบรวมพรรณไม้
สวนนงนุช มีปณิธานที่จะเก็บรวบรวมพันธุ์พืชปลูก ซึ่งทางสวนยังมีสถาบันที่ร่วมมือกันหลายแห่ง ได้ปฏิบัติการร่วมกันในอันที่จะอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรพืชปลูก พร้อมกับการขยายพันธุ์ของพืชที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์    ยิ่งไปกว่านั้น   สวนนงนุช ยังได้ช่วยสนับสนุนความพยายามในการเก็บรักษาพันธุ์ไม้ไว้ในธรรมชาติ ในโครงการระดับโลกเพื่อการเก็บรักษาพืชในท้องถิ่น
ป่าฝนเขตร้อน เป็นดินแดนที่มีปริมาณชนิดของพืชต่อพื้นที่ มากกว่าในส่วนอื่น ๆ ของโลก แต่ก็เป็นดินแดนที่มีการตัดไม้ทำลายป่า ในระดับหนึ่งในสิบสุดยอดของพื้นที่ทั้งหลาย ซึ่งมีพื้นที่ป่าถูกทำลายไป มากกว่าปีละ 4,000 ตารางกิโลเมตร 
         ภารกิจของการรวบรวมพันธุ์ไม้ ก็คือการบำรุงรักษา และจัดการกับบรรดาพันธุ์พืชที่หลากหลายซึ่งได้เก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ การรวบรวมพันธุ์ไม้นี้ เริ่มจากการรวบรวมพันธุ์ไม้ประดับ ซึ่งเริ่มแรกก็ไม่ได้ให้ความความสนในการติดป้ายชื่อและการบันทึกข้อมูล แต่ในปัจจุบัน สถานที่นี้ ได้พัฒนาขึ้นเป็นการรวบรวมพันธุ์พืชที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
 
 
เฮลิโคเนียและพืชในสกุลขิง
          เฮลิโคเนีย เป็นพืชที่เป็นที่นิยมปลูกกันทั่วโลก เพราะมีดอกที่สวยงาม สำหรับใช้ในการปรับภูมิทัศน์ของสวน สวนนงนุชได้เก็บรวมรวมชนิดและพันธุ์ต่าง ๆ ของเฮลิโคเนียนับเป็นจำนวนกว่าร้อยชนิด เฮลิโคเนีย เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกา ที่มีการกระจายพันธุ์แบบเป็นหย่อม ๆ อยู่บนเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก หลายชนิดมีสีของดอกที่สดใส ที่ล่อนกฮัมมิงเบิร์ด ซึ่งเป็นตัวการผสมพันธุ์หลัก
พืชกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง คือพืชในอันดับ Zingiberales ซึ่งรวมทั้งขิง(ธรรมดา) ขิงประดับ (Torch Ginger) และพืชในสกุลข่า (Alpinia) รวมทั้งพืชในสกุลอื่น ๆ  หลายชนิดเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปเอเชียและของประเทศไทย ที่มีสกุลใหญ่ ๆ หลายสกุลและหลายชนิด ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก พืชเหล่านี้หลายชนิดได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและในประเทศในเอเชียอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร และเป็นเครื่องปรุงรส  ประมาณ 10 ปีมาแล้ว นักเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ของสวนนงนุชคนหนึ่ง ได้เก็บรวบรวมขิงที่มีลักษณะแปลกมาจากป่าในประเทศไทย และได้มอบตัวอย่างให้แก่สถาบันทางพฤกษศาสตร์อื่น ๆ และเมื่อมันออกดอก ก็ได้ทราบว่า มันเป็นสกุลใหม่ของพืชในวงศ์ขิง จึงได้รับการตั้งชื่อสกุลว่า Siamanthus เพื่อแสดงถึงประเทศที่ค้นพบ คือประเทศไทย ความสนใจที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ในพืชวงศ์ขิง ได้กระตุ้นให้ผู้ปลูกสนใจในการเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ในวงศ์ขิง ซึ่งประกอบไปด้วยพืชที่ไม่ได้เก็บรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานของสวนนงนุชเอง แต่โดยนักวิจัยที่มาเยี่ยมเยือนจากต่างแดนเป็นจำนวนมาก
 
 
 
 
การจัดการข้อมูลและฐานข้อมูล
         การเก็บรักษาและการจัดการข้อมูลอย่างถูกต้องของพันธุ์ไม้ เป็นงานที่สำคัญมากในการเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ โดยการเก็บรักษาข้อมูล ที่จะช่วยให้เราตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้อย่างง่ายดาย เช่นจำนวนชนิด หรือว่าเรามีพืชชนิดนี้อยู่หรือไม่ และพืชนี้ปลูกอยู่ที่ไหน? แต่ที่สำคัญกว่านั้น ก็คือ เราได้เก็บรักษาข้อมูลที่น่าสนใจจำนวนหนึ่งของแต่ละตัวอย่างพืช (accession) คำว่าตัวอย่างพืช หมายถึง พืชต้นหนึ่งหรือหลายต้นของชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ได้รับมาจากบุคคลคน ๆหนึ่ง ซึ่งได้เก็บตัวอย่างนั้น ๆ มาจากสถานที่หนึ่ง ในวันที่ที่ระบุไว้  นี่หมายความว่าพืชชนิดหนึ่ง อาจจะมีหลายตัวอย่าง ถ้าหากว่าข้อมูลที่กล่าวถึงข้างต้นไม่เหมือนกัน การเก็บข้อมูลอันนี้ สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างสถานที่เก็บตัวอย่างพืช ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง และติดตามการถ่ายทอดยีนในขณะที่เราดำเนินการขยายพันธุ์และผสมพันธุ์กับพืชชนิดอื่น แต่เดิม สวนนงนุช มีฐานข้อมูลขนาดย่อม แต่ภายหลังได้ตระหนักว่า การที่จะเก็บรักษาฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ในการดำเนินการวิจัย เราจำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลระบบสวนพฤกษศาสตร์ (BG - Base) ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยพนักงานของสวนนงนุช ที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ทั่วโลก และในระยะเวลาที่ผ่านมา ก็ได้พัฒนาขึ้นเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหึมา เพื่อการใช้ภายในสวนเอง และระหว่างสวนพฤกษศาสตร์ด้วยกัน ในอันที่จะตอบสนองความต้องการของเจ้าหน้าที่    และนักวิจัยที่มาเยี่ยมเยือน สวนนงนุชได้จัดตั้งห้องสมุด ซึ่งมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจำนวนมาก
 
 
การเยี่ยมเยือนแปลงรวบรวมพันธุ์ไม้
         บริเวณสวนนงนุช และส่วนหนึ่งของแปลงรวบรวมพันธุ์ไม้ เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างอิสระ  อย่างไรก็ตาม แปลงรวบรวมพันธุ์หลักนั้น ไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม ทั้งนี้เพราะมีหลายเหตุผลด้วยกัน โดยเฉพาะในเรื่องการเกรงว่าจะถูกลักขโมย การทำอันตรายต่อพืช และการรบกวนโครงการวิจัยและการผสมพันธุ์ เป็นเรื่องปกติที่สวนพฤกษศาสตร์ ต้องการที่จะเก็บรักษาพันธุ์ไม้โดยไม่มีการรบกวนตามวัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์แบบนอกท้องถิ่น (ex situ conservation) และการขยายพันธุ์  อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ พันธุ์ไม้ที่เก็บรวบรวมไว้ ทั้งที่ปลูกในกระถางหรือในดิน ไม่มีความสวยงามพอที่จะเป็นที่ชื่นชมของประชาชนทั่วไป แต่ก็เป็นการเก็บรักษาที่สะดวก และง่ายดาย
 
 
สวนพฤกษศาสตร์ (Hortus Botanicus)
           ชื่อนี้ เป็นการตั้งชื่อมาจากแนวความคิดอันเก่าแก่ โดยการจัดจำแนกพืชให้อยู่ตามสกุล วงศ์  ฯลฯ ตามระบบการจำแนกพืชโดยลินเนียส (Linneaus) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้จำแนกพืชและสัตว์ไว้มากมาย และได้ตั้งชื่อชนิดของพืชและสัตว์เท่าที่พบในครั้งนั้นเป็นภาษาละติน คำว่า Hortus Botanicus ก็เป็นภาษา    ละติน แปลว่าสวนพฤกษศาสตร์ จากความตื่นตัวที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ และการลดน้อยลงของมันในระดับโลก ทำให้สวนพฤกษศาสตร์หลายแห่ง ได้จัดตั้งธนาคารเชื้อพันธุ์พืชของพืชสกุลใดสกุลหนึ่งหรือชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยการเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ ที่ไม่ใช่เฉพาะต้นเดียว แต่เป็นการรวบรวมความหลากหลายทางพันธุกรรมของแต่ละชนิด จากประชากรที่เป็นที่รู้จักหลายประชากร การเก็บรักษาพันธุ์ไม้เป็นจำนวนมากของพืชทั้งวงศ์ และการที่จะนำออกแสดงในเวลาเดียวกัน เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้เพราะขาดพื้นที่และเงินทุน  การรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม และสิ่งที่ได้รับการจัดเอกสารอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ของประชากรของพืชที่หายากและกำลังจะสูญพันธุ์ที่เก็บไว้นอกท้องถิ่นเป็นเรื่องใหม่ แต่ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ถ้าเราต้องการที่จะรักษามันไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง แทนที่จะพยายามอย่างเปล่าประโยชน์ที่จะนำเอาตัวอย่างของพืชในหลายวงศ์ และหลายสกุลมาเก็บรักษาไว้ให้มากที่สุดในสวนพฤกษศาสตร์ อันเป็นการเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้แบบเก่า สวนนงนุชมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงศ์ของพืช เช่น ปรง ปาล์ม พืชวงศ์ขิง  พืชวงศ์คล้า และพืชวงศ์เฮลิโคเนีย  เพื่อที่จะให้พืชต่างๆเหล่านี้อยู่ภายใต้หลังคาเรือนโรงอันเดียวกัน เราได้ออกแบบพื้นที่เพื่อให้แต่ละวงศ์ ให้ได้รับแสงและน้ำ แตกต่างกัน เช่น เรามีตาข่าย  การให้น้ำ แสงแดด และพื้นที่สำหรับแปลงรวบรวมพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่  เรามีภัณฑรักษ์ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาตลอดเวลา มิฉะนั้น พันธุ์ไม้เหล่านั้น ก็จะสูญพันธุ์ไปตามกาลเวลา  ทั้งนี้ เพราะเราทำพื้นที่นี้ เป็นพื้นฐานแต่มีความสมบูรณ์ทำให้ง่ายต่อการเก็บรักษาพันธุ์ไม้ที่ได้เก็บรวบรวมไว้ให้อยู่ได้นานที่สุด
 
 
 
การวิจัย
การวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ที่สวนนงนุชทำอยู่นั้น เน้นไปที่ 3 สาขา ได้แก่ (1) การศึกษาทางด้านการจำแนกชนิดพืชและสาขาที่ใกล้เคียง (2) การศึกษาทางด้านพืชสวน และ (3) การผสมพันธุ์เพื่อที่จะปรับปรุงหรือสร้างพันธุ์ไม้ประดับใหม่ ๆ ขึ้นมา
การศึกษาทางด้านการจำแนกชนิดพืชนั้น มีเป้าหมายเพื่อที่จะจำแนกพืชอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ พืชแต่ละชนิดจะได้รับการศึกษา แก้ไขชื่อวิทยาศาสตร์ หรือกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ให้ใหม่ การจัดจำแนกพืชนั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนิด และระหว่างกลุ่มของชนิด
การศึกษาทางด้านพืชสวนนั้น ก็มุ่งไปสู่การขยายพันธุ์ที่ดีขึ้น และการปรับปรุงดินและสภาพการปลูกทั่วๆไป
สำหรับในโครงการผสมพันธุ์นั้น เราได้ดำเนินการอยู่ในกลุ่มกล้วยไม้ พุทธรักษา และชวนชม เรามีเรื่องเด่นเป็นพิเศษเรื่องหนึ่ง คือการปรับปรุงพันธุ์อินทผลัมที่ต้องใช้เวลาอันยาวนาน โครงการนี้ดำเนินการโดย  คุณประมนต์ ธรรมศักดิ์ ผู้ที่ได้ทำการผสมพันธุ์อินทผลัม ทั้งเพื่อเป็นไม้ประดับ และเป็นอาหาร โดยการแลกเปลี่ยนละอองเกสร และเมล็ดพันธุ์กับสถาบันนานาชาติทั่วโลก ทำให้เขาสามารถผสมพันธุ์จนได้พันธุ์ลูกผสมที่มีความสวยงามเป็นไม้ประดับอย่างวิเศษ ที่สวนนงนุชได้ใช้ในการจัดภูมิทัศน์ ตลอดจนนำไปใช้ทั่วไปในประเทศไทย แม้ว่าอินทผลัมต้นใหญ่ที่ผลรับประทานได้ คือ Phoenix dactylifera จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง แต่เราก็สามารถสร้างพันธุ์ใหม่ โดยได้รับละอองเกสรชั้นเยี่ยมมาจากประเทศมอร็อคโค และซาอุดิอาราเบีย โดยมีวัตถุประสงค์ที่ผลิตอินทผลัมที่มีผลขนาดใหญ่ ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการอีกอันหนึ่งซึ่งสำเร็จลุล่วงไปแล้วเกี่ยวกับพุทธรักษา ต้นพุทธรักษาได้ถูกนำมาใช้เพื่อที่จะเพิ่มสีสันให้กับสวน โดยตอนแรก เราได้ดำเนินการรวบรวมพันธุ์เป็นการใหญ่ ซึ่งได้พันธุ์มาจากทั่วโลก ลูกผสมที่สวนนงนุชสร้างขึ้นได้ถูกส่งไปยังราชสมาคมพืชสวนที่เมืองวิสลีประเทศอังกฤษ เพื่อการประเมินผล พันธุ์พืชที่ได้รับมา ได้ถูกใช้ประโยชน์ ทั้งโดยนักวิจัยชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีการศึกษาทั้งระดับแพทยศาสตร์ และระดับปริญญาเอก ที่นักวิจัยมาใช้วัสดุในการศึกษาที่สวนนงนุชรวบรวมไว้ มีเอกสารทางวิชาการและเอกสารทั่วไปจำนวนมาก ที่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของสวนนงนุช ได้เรียบเรียง และตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก
 
 
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
สวนนงนุชได้อุทิศตัวเพื่อที่จะอนุรักษ์พันธุ์ไม้ โดยมีความหวังว่า จะได้ช่วยเพิ่มปริมาณของพันธุ์ไม้เหล่านี้ ในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กรสวนพฤกษศาสตร์นานาชาติ ที่ว่าด้วยการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ สวนนงนุชทำหน้าที่เป็นศูนย์เก็บรักษาเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ให้แก่สมาคมเฮลิโคเนียนานาชาติ และเจ้าหน้าที่ของสวนนงนุช ก็ได้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารของสมาคมดังกล่าว นักวิชาการของเราได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาคมฯ และยังได้เป็นสมาชิกปัจจุบันของกลุ่มพิเศษของสหพันธ์การอนุรักษ์ธรรมชาตินานาชาติ (IUCN) สำหรับการอนุรักษ์พันธุ์ปาล์มและปรง การประชุมระดับนานาชาติ เช่นของสมาคมปาล์มนานาชาติ สมาคมเฮลิโคเนียนานาชาติ และการประชุมทางด้านชีววิทยาของปรงนานาชาติ ก็ได้จัดขึ้นที่สวนแห่งนี้  พร้อม ๆ กันนั้น ก็มีการประชุมย่อยที่เกี่ยวกับพืชอื่น ๆ อีกหลายครั้ง
 
 
ศูนย์อนุรักษ์นานาชาติของสมาคมเฮลิโคเนีย
ตั้งแต่เริ่มต้นเป็นต้นมา ศูนย์นี้ได้ก่อตั้งสถานที่เก็บรวบรวมพันธุ์ ซึ่งได้รับการขนานนามในภายหลังว่า เป็นศูนย์อนุรักษ์เพื่อการรวบรวมและรักษาเชื้อพันธุ์ของพืชในวงศ์ขิง ได้มีการใช้กฎระเบียบในด้านการกักกันพืชอย่างเข้มงวด เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าโรคและแมลงไม่ได้ติดเข้ามากับพืชที่ได้รับการส่งจากที่อื่น เมื่อพืชใดได้เข้ามาอยู่ในศูนย์ฯ อย่างปลอดภัยและอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบแล้ว พืชเหล่านั้น ก็จะได้รับการขยายพันธุ์ เพื่อที่จะแบ่งให้สถาบันอื่น ๆ ภายในประเทศ และส่งมอบให้แก่ศูนย์รวบรวมพันธุ์อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ก็มีตัวอย่างที่ซ้ำกันบ้าง แต่การซ้ำกันนี้ ก็เป็นวัตถุประสงค์และความคิดของการจัดการของศูนย์เหล่านี้ แต่ละศูนย์ ก็มีวิธีการของตนเองในการกระจายพันธุ์ เราไม่ควรคิดว่าศูนย์เหล่านี้เป็นเพียงแหล่งรวมสำหรับการได้มาซึ่งพันธุ์ไม้เหล่านี้ ไม่มีศูนย์ใดศูนย์หนึ่งที่จะสามารถรักษาทั้งกลุ่มของพืชวงศ์ขิงได้อย่างปลอดภัยได้และอย่างถูกต้อง เพราะแต่ละศูนย์ ก็เชี่ยวชาญเฉพาะในเรื่องสภาพสิ่งแวดล้อมที่นักวิชาการสนใจ
วัตถุประสงค์ของศูนย์อนุรักษ์ได้ขยายขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ การอนุรักษ์พันธุ์ไม้นอกถิ่นอาศัย (ex situ conservation) เพื่อที่จะพัฒนาและส่งเสริมเครือข่ายของสถาบันทางพฤกษศาสตร์ และผู้รวบรวมพันธุ์พืชเอกชน ที่สามารถจัดหาความสะดวกและพันธุ์พืชที่ต้องการ ที่จะให้แก่ผู้รวบรวมพันธุ์ที่สนใจ
โดยที่ประจักษ์ว่า พืชนับจำนวนหมื่นทั่วโลก กำลังเผชิญกับการสูญพันธ์ในศตวรรษที่กำลังจะมาถึง การดำเนินการนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการแก่ “ยุทธการโลกว่าด้วยการอนุรักษ์พันธุ์พืช” (Global Strategy for Plant Conservation – GSPC) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จัดการประชุมทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity – CBD) เพื่อที่จะหยุดยั้งความสูญเสียความหลากหลายของพืช ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน หน่วย GSPC นี้ มีจุดมุ่งหมาย 16 ประการที่จะต้องทำให้ได้ภายในปี 2010 ซึ่งรวมทั้งการมีจุดมุ่งหมายที่เจาะจงที่จะ อนุรักษ์พันธุ์ไม้นอกถิ่นอาศัย นั่นคือ การเก็บรักษาพันธุ์ไม้ ที่กำลังเสี่ยงต่อการถูกทำลายไว้ในแปลงรวบรวมพันธุ์นอกถิ่นอาศัย โดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมือง ให้ได้ 60 % และอีก 10% เป็นพันธุ์ไม้ที่โครงการนี้ฟื้นฟูขึ้นมา  ภายหลังที่ได้จัดตั้ง GSPC ขึ้นมา หลายประเทศทั่วโลก ตลอดจนองค์การอนุรักษ์และสถาบันต่าง ๆ ได้ร่วมกันพัฒนาความต้องการที่เจาะจงสำหรับ GSPC
เนื้อหาและภารกิจของศูนย์อนุรักษ์ของสมาคมเฮลิโคเนียนานาชาติ มีดังต่อไปนี้
-  สวนพฤกษศาสตร์ ทั้งของรัฐและเอกชน ที่ประสงค์ที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์อนุรักษ์ของสมาคมเฮลิโคเนียนานาชาติ ควรแจ้งให้คณะกรรมการบริหาร ทราบถึงโครงการ ที่มา วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ตลอดจนเหตุผลที่สวนนั้น ๆ เป็นสถานที่ ที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะทำที่จะใช้ในการดูแลสิ่งที่ได้เก็บรวบรวมไว้อย่างพอเพียง
-  ศูนย์นี้ ควรเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ในอันดับ Zingiberales เฉพาะชนิดที่ได้คัดเลือกไว้ และที่ติดป้ายชื่อและจดข้อมูลอย่างถูกต้อง
-  ควรจะให้ศูนย์พิจารณา ขนาดและขอบเขตของการเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ ตามสภาพของทรัพยากรและวิธีการดำเนินงาน
-  ควรจะเก็บรักษาพันธุ์ไม้ป่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ทางการค้าเอาไว้ด้วย เพิ่มเติมจากชนิดปลูกที่มีความสำคัญทางการค้า อีกทั้งให้รวมหน่วยอนุกรมวิธาน (taxa) พร้อมข้อมูล หลาย ๆ หน่วยไว้ด้วย เพื่อรักษาระดับความหลากหลายทางพันธุกรรมเอาไว้
-  ตัวอย่างที่ได้รับการจดเอกสารแล้ว    ควรได้รับการสนับสนุนเพื่อที่จะรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม
-  ควรจะมีการเก็บรักษาข้อมูลอย่างถาวรของแต่ละตัวอย่าง   โดยเฉพาะในฐานข้อมูลที่มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบการถ่ายมูลสากล (International Transfer Format – ITF) ที่เสริมด้วยแผ่นพิมพ์ ข้อมูลเหล่านี้ ควรจะเก็บรักษาไว้ ให้ทันสมัยตลอดเวลา
-  ส่งรายงานประจำปีไปให้กรรมการบริหาร
-  ศูนย์อนุรักษ์ทั้งหมดจะต้องส่งรายชื่อของพันธุ์พืชที่เก็บรวบรวมได้ไปยังผู้ประสานงาน (รายชื่อนี้จะเก็บไว้เป็นความลับ และอาจแบ่งรายชื่อทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ให้แก่บุคคลที่สามหลังจากที่ได้รับการอนุญาตจากศูนย์ที่เป็นเจ้าของเท่านั้น)
-  ควรจะส่งมอบเชื้อพันธุ์พืชที่เก็บรวบรวมไว้ให้แก่ศูนย์อื่นหากมีการร้องขอ และโดยเฉพาะเพื่อการแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์พืช
-  ควรเก็บรักษาเชื้อพันธุ์พืชที่ได้เก็บรวบรวมได้ โดยที่ไม่ปลูกพืชเหล่านั้นร่วมกัน และควรจดบันทึกแผนผังสถานที่ปลูกไว้ด้วย
-  ควรถอนต้นอ่อนที่เกิดขึ้นจากการผสมตัวเองออกจากแปลงรวบรวมพันธุ์หลัก แต่อาจจะนำไปปลูกต่างหาก ถ้าต้องการ
-  ควรดูแลตัวอย่างพืชที่แสดงถึงแนวโน้มที่จะกลายเป็นวัชพืชอย่างระมัดระวัง หรือไม่ก็ทำลายเสีย
-  จัดการเก็บข้อมูล และถ่ายรูปสิ่งที่เก็บรวบรวมไว้ เพื่อที่จะเพิ่มคุณค่าสำหรับนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่จะใช้ประโยชน์ของการรวบรวมพันธุ์นี้
 
 
สวนแคคตัส
พืชปลูกที่ไม่ได้มีกำเนิดในประเทศ จัดเป็นพืชต่างแดน (Exotics) สำหรับประเทศที่ค่อนข้างจะชื้นและร้อนอย่างประเทศไทย แคคตัส ก็เป็นพืชต่างแดน เราไม่มีสวนแสดงพันธุ์แคคตัสในประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไป นางนงนุช ตันสัจจา ซึ่งเป็นเจ้าของสวนนงนุช มีความรักแคคตัสและพืชอวบน้ำเป็นพิเศษ เธอได้จัดทำสวนบนพื้นที่ราบเรียบที่ล้อมรอบไปด้วยทางเดินคอนกรีตแคบๆ ที่ทำให้เกิดเป็นพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละพื้นที่สี่เหลี่ยมระหว่างทางเดินถูกจัดให้สูงขึ้น แล้วปลูกแคคตัสที่หลากหลายในที่โล่งแจ้ง  การออกแบบอย่างยอดเยี่ยมนี้ยังถูกเก็บรักษาไว้จนกระทั่งบัดนี้ เพียงแต่ได้เปลี่ยนไปเป็นสวนแสดงพันธุ์แคคตัส (Variety Garden) แม้ว่าบางชนิดของแคคตัสจะต้องการสภาพที่มีความแห้งแล้งตามฤดูกาล แต่บางชนิดก็สามารถที่จะอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างชื้นได้ จึงเป็นการลองผิดลองถูก และ 10 ปีหลังจากนั้น นายกัมพล ตันสัจจา ก็ได้สะสมประสบการณ์เกี่ยวกับแคคตัสที่สามารถเจริญอยู่ได้ในสภาพชื้นที่ประเทศไทยเรามีอยู่ เขาได้สร้างสถานที่ใหม่สำหรับแคคตัส ที่มีหลังคาพลาสติกเป็นรูปสี่เหลี่ยมสามหลังคา ครอบคลุมแปลงปลูกแคคตัสอย่างสวยงามในสภาพที่เป็นสวนหินธรรมชาติขนาดใหญ่ วัสดุปลูกในแต่ละแปลงประกอบไปด้วยดินทรายผสมที่ระบายน้ำได้เป็นอย่างดี เพื่อใช้ปลูกแคคตัสเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังขาดพันธุ์ที่สะดุดตา คุณกัมพลจึงได้เดินทางไปแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีแคคตัสปลูกอยู่ในที่โล่งแจ้งเพื่อให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ที่สุด เขาเดินทางกลับมาพร้อมด้วยแคคตัสจำนวน 50 กล่องใหญ่ พืชเหล่านี้ ซึ่งแต่เดิมมาจากประเทศเม็กซิโก เป็นพืชที่มีขนาดใหญ่และมีลำต้นสีเขียวเข้ม ล้อมรอบไปด้วยหนามอ้วนสีเหลืองอ่อน สวนทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยก้อนหินแกรนิตขนาดใหญ่ เพื่อสร้างให้เป็นสวนหิน มีพันธุ์ใหม่ๆที่ปลูกเพิ่มเติมในระหว่างปีที่ผ่านมา  อีกทั้งยังมีพันธุ์ที่ต้องการความความแห้งแล้งอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก
 
 
 
 
แคคตัสและพืชอวบน้ำ
แม้ว่าจะเป็นพืชท้องถิ่นในทวีปอเมริกา แต่แคคตัสก็ปรับตัวได้เป็นอย่างดีในภูมิอากาศของประเทศไทย สวนนงนุชมีสวนแคคตัสสำหรับจัดแสดงขนาดใหญ่ จุดที่เป็นจุดศูนย์กลางของความสนใจ (centerpiece) เป็นกลุ่มของแคคตัสรูปถัง สีทองจากเม็กซิโก และยังมีชนิดอื่นๆที่มีขนาดเล็กอยู่ด้วย หากว่าท่านได้ไปเยี่ยมเยียนในเวลาที่เหมาะสมของปี ท่านจะพบว่าท่านมีโชคดีที่ได้เห็นดอกสีขาวขนาดใหญ่ของแคคตัสที่ชื่อ Echinopsis หรือ Lobivia  นอกจากนั้น ยังมีไม้อวบน้ำอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกันกับแคคตัส รวมทั้งอากาเว่สีน้ำเงิน ที่บางครั้งก็มีนวลขึ้น และที่เป็นที่ชื่นชมมากก็คือลูกผสมของ Euphorbia milli ที่มาจากอลาสก้า และที่มีดอกสีขาวรูปร่างประหลาด ๆ ที่ชื่อ Pachypodium เมล็ดที่เก็บรวบรวมได้จากที่มาจัดแสดงในที่นี้ ได้นำไปเพาะในเนิสเซอรี่ แล้วนำต้นอ่อนมาขายในสวนนี้ สวนนงนุชยังมีแคคตัสขนาดเล็กที่หายาก รวมทั้งไม้อวบน้ำ แต่ไม่อนุญาตให้เข้าชม
 
 
 
 
ปรง
แปลงรวบรวมพันธุ์ปรงชนิดต่าง ๆ ของสวนนงนุช เป็นแปลงรวบรวมพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและหลากหลายที่สุดในโลก เรามีเป้าหมายที่จะรวบรวมพันธุ์จากประเทศในเอเชียอาคเนย์ อเมริกาเขตร้อน และในแอฟริกาตอนกลาง แต่เราก็มีแปลงรวบรวมพันธุ์แทบทุกชนิด ณ ที่นี้
ปรงเป็นพืชโบราณที่มีอายุอยู่ในสมัยไดโนเสาร์ และปัจจุบันก็เกิดอยู่เฉพาะในเขตร้อนของโลก ซากเหลือ (fossil) ที่ค้นพบ แสดงว่าปรงเป็นกลุ่มของพืชที่มีกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก แม้กระทั่งในเขตอาร์คติกในสมัยครีเตเชียส หลายชนิดกำลังถูกคุกคามจนกระทั่งสูญพันธุ์ บางชนิดก็หายาก เหลือเพียงไม่กี่ต้น สวนนงนุชกำลังดำเนินการเก็บรวบรวมพันธุ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันของชนิดที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ แรงกดดันที่ยิ่งใหญ่ในหลาย ๆ กรณีก็คือ ผู้รวบรวมพันธุ์ที่กระหายที่จะขุดเอาต้นทุกต้นที่สามารถจะขุดได้ เราจึงได้ปลูกปรงพื้นเมืองของไทยเพื่อใช้ผสมพันธุ์เป็นจำนวนมาก ณ ที่นี้ และบัดนี้ ก็มีเมล็ดพร้อมที่จะแจกจ่ายไปให้แก่ผู้ที่สนใจอื่น ๆ และเพื่อที่จะให้มันอยู่รอดไปถึงอนาคต เรามีปรงพื้นเมืองของไทย 2 ชนิดที่อยู่ในสภาวะวิกฤตที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ต้นหนึ่งเพิ่งจะค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เอง และได้รับการตั้งชื่อโดยภัณฑรักษ์ของสวนเรา ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยร่วมกับนักวิจัยในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทยและนานาชาติ
 
 
 
 
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง - ปรง
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง – ปรง (Cycad Specialist Group - CSG) ได้ถูกตั้งขึ้น และได้พัฒนาขึ้นมาโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องปรง ของสหพันธ์นานาชาติว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ในแผนการดำเนินงานของปี 2003 เป้าหมายของการอนุรักษ์พันธุ์พืชนอกถิ่นอาศัย และโครงการฟื้นฟูให้กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ เป็นการตอบสนองความต้องการที่จะอนุรักษ์พันธุ์ปรงนอกถิ่นอาศัย เพื่อที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายของสถาบันทางพฤกษ์ศาสตร์ ซึ่งจะ (1) ทำให้เชื่อมั่นว่า หน่วยอนุกรมวิธาน (taxa) ของปรงซึ่งใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ จะต้องมีตัวอย่างอยู่ในธนาคารเชื้อพันธุ์ปรงภายใน 3 ปี และประเภทที่อยู่ในอันตรายภายใน 5 ปี และ  (2) จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและตัวอย่างพันธุ์ปรงที่ต้องการ เพื่อที่จะสนับสนุนเนิสเซอรี่ของชุมชน และโครงการนำปรงกลับเข้าไปปลูกในป่าธรรมชาติ
วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คือ
1. เก็บรวบรวมหน่วยอนุกรมวิธานของปรงไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชให้ครบถ้วนที่สุด
  แม้ว่าจะมีสวนปรงบางสวน ได้เก็บรวบรวมพันธุ์ปรงที่กำลังจะสูญพันธุ์ไว้เป็นจำนวนมากแล้ว แต่ก็ยังมีปรงอีกหลายชนิดที่ไม่ได้อยู่ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและไม่มีอยู่ในการรวบรวมพันธุ์ที่อื่นอย่างพอเพียง มีจึงความจำเป็นที่จะให้มีแปลงรวบรวมพันธุ์ปรงเพื่อที่จะต่อสู้กับภัยพิบัติทางธรรมชาติและเหตุการณ์วิปริต มีความจำเป็นที่จะสร้างสวนปรงเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้พัฒนาให้เป็นธนาคารเชื้อพันธุ์พืช แม้ว่ามันจะมุ่งศึกษาหรือเก็บรวบรวบเฉพาะพืชเพียงหนึ่งชนิดหรือไม่กี่ชนิด มีความจำเป็นอย่างพิเศษที่จะพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชของปรง เพราะว่ามันง่ายในการรักษาให้อยู่ร่วมกัน และยังก่อให้เกิดโครงการอนุรักษ์ในสภาพท้องถิ่นอีกด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกและความชำนาญที่มีอยู่ในเครือข่ายปัจจุบันของสวนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พันธุ์ปรง สามารถที่จะสร้างเป็นแกนกลางสำหรับเครือข่ายของสวนที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
การก่อตั้งธนาคารเชื้อพันธุ์พืชสำหรับหน่วยอนุกรมวิธานที่มีความสำคัญอันดับแรกๆ ควรเน้นการรวบรวมพันธุ์เพิ่มเติม สำหรับชนิดซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤตที่จะสูญพันธุ์ ที่ไม่มีอยู่ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช
พัฒนาแนวทางปฏิบัติ เพื่อเก็บรวบรวมพันธุ์ที่ซ้ำกัน และแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชระหว่างสวนที่สะสมพันธุ์ปรง
ขยายจำนวนสวนที่อนุรักษ์พันธุ์ปรง โดยชี้ให้เห็นถึงช่องว่าง และการติดต่อกับสวน พฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะในอาณาเขตการแพร่พันธุ์
 2. พัฒนาโครงการเพื่อการฟื้นฟูชนิดที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมพันธุ์นอกถิ่นอาศัย
ธนาคารเชื้อพันธุ์พืชนอกถิ่นอาศัย ที่ตั้งอยู่ในสวนพฤกษศาสตร์ มีพันธุ์พืชที่ดีเยี่ยม ที่จะใช้ในการฟื้นฟูประชากรที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วหรือใกล้สูญพันธุ์ให้กลับฟื้นคืนมา สวนพฤกษศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงการรื้อฟื้นชนิดที่เหมาะสม ที่ระบุขบวนการที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ รวมทั้งอุปสรรคที่เกี่ยวข้องในการนำพืชไปสู่ป่าดั้งเดิมของมัน
มีการตรวจข้อมูลการดำเนินงานในอดีตที่จะนำปรงกลับเข้ามาใหม่ เพื่อที่จะหาวิธีการที่จะประสบความสำเร็จ
จัดทำโครงการทดลองเพื่อที่จะทดสอบความสำเร็จของวิธีการต่างๆที่นำพืชกลับไปสู่ป่า    
ในการทำให้วัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์นอกถิ่นอาศัยมีความสำเร็จนั้น โครงการนี้จะต้องเกี่ยวข้องกับความริเริ่มอื่น ๆ เช่น
1. การอนุรักษ์ถิ่นอาศัยของปรง  
เพื่อจัดทำมาตรการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพที่จะรักษาประชากรปรงและถิ่นอาศัยที่ยังเหลืออยู่ โดยเฉพาะในทวีปเอเชียและโลกใหม่
2.  พัฒนาการเชื่อมโยงกับองค์กรที่มุ่งศึกษาถึงจุดวิกฤตของความหลากหลายทางชีวภาพ
การอนุรักษ์พันธุ์ปรง มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการอนุรักษ์ถิ่นอาศัยโดยเฉพาะในทวีปเอเซียและโลกใหม่  ดินแดนเหล่านี้ มักจะเป็นพื้นที่เดียวกันกับที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืช (ดังเช่นในประเทศแม็กซิโก จีน เวียดนาม) นั่นคือ องค์กรอนุรักษ์ต่างๆ ที่มุ่งที่จะศึกษาจุดวิกฤตของโลก ต่างก็จะพยายามอนุรักษ์ถิ่นอาศัยบางแห่งซึ่งเป็นแหล่งเดียวกัน เราจึงต้องทำให้แน่ใจว่าการกระทำใดๆที่จะอนุรักษ์พันธุ์ปรง จะเสริมกับการกระทำอื่นๆที่จะรักษาถิ่นอาศัยที่กำลังได้รับอันตราย  เราอาจจะใช้ปรง เป็นพืชตัวอย่างในบางท้องที่อย่างมีประสิทธิภาพ
 จัดทำรายชื่อของปรงที่เกี่ยวข้องกับจุดวิกฤตทางชีวภาพที่กำหนดไว้
 พัฒนารายชื่อของชนิดของปรงที่จะนำไปใช้โดยกลุ่มอนุรักษ์นานาชาติ (Conservation International) กองทุนสัตว์ป่า (WWF) และ IUCN ในการเป็นพืชตัวอย่างสำหรับจุดวิกฤตของความหลากหลายทางชีวภาพ   ชนิดของสัตว์ได้ถูกนำมาใช้ในกรณีนี้ และปรง ก็น่าจะถูกนำมาใช้เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาในแต่ละจุดวิกฤตที่เจาะจง
3. การประเมินและการสนับสนุนเนิสเซอรีปรงที่เกี่ยวข้องกับประชากรในธรรมชาติ
            เหตุผลหลักในการสนับสนุนเนิสเซอรี่ปรงในท้องถิ่น ก็เพื่อที่จัดหาสิ่งจูงใจสำหรับชุมชนท้องถิ่น ที่จะรักษาถิ่นอาศัยของปรง   เนิสเซอรี่ ที่มีอยู่ ได้แสดงให้เห็นว่า ประชาชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ต่างก็ได้รับผลประโยชน์ แต่ก็มีกิจกรรมหลักอื่นๆอีกมากที่จำเป็นต้องสนับสนุนกิจกรรมนี้
ควรดำเนินการประเมินอย่างวิกฤต เกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลวของโครงการนำร่องในประเทศแม็กซิโกและแอฟริกาใต้ เพื่อที่จะให้ทราบว่าเนิสเซอรี่ได้ให้ผลประโยชน์ที่ยั่งยืนแก่ชุมชนท้องถิ่นหรือเปล่า
ระบุพันธุ์ปรงที่เหมาะสมสำหรับเนิสเซอรี่ท้องถิ่น โดยอาศัยหลักของการขยายพันธุ์อย่างง่ายๆความต้องการของตลาด และอัตราตอบสนองที่มีศักยภาพ
พัฒนารายการที่จะให้เครดิตแก่เนิสเซอรี่ปรง รายการต่างๆนั้นควรจะขึ้นอยู่กับขอบเขตของแต่ละเนิสเซอรี่ที่จะอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชากรปรงในธรรมชาติ และควรจะรวมกันเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธทางการตลาดสำหรับพืช ที่ยังประโยชน์อย่างยั่งยืนให้แก่เนิสเซอรี่
พัฒนากลยุทธทางด้านการตลาดสำหรับเนิสเซอรี่ชุมชน สิ่งนี้เป็นจุดอ่อนของโครงการเนิสเซอรี่ในปัจจุบัน ซึ่งเนิสเซอรี่จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับประชากรของปรงในธรรมชาติที่จะต้องไปต่อสู้กับเนิสเซอรี่ทุกหนทุกแห่ง
พัฒนาเนิสเซอรีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยการวิเคราะห์หน่วยอนุกรมวิธานที่เหมาะสม และผลของการประเมินเนิสเซอรี่ ที่มีอยู่
4.  การสนับสนุนงานวิจัยทางด้านพืชสวน เพื่อเพิ่มปริมาณ
            เป็นเรื่องที่แจ่มชัดแล้วว่า เมื่อมีความต้องการพันธุ์พืชมากกว่าปริมาณที่จะหาได้จากการเพาะปลูก จะมีความกดดันที่จะนำเอาพืชนั้นออกมาจากในป่า งานวิจัยล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่ามันเป็นไปได้ที่จะปรับปรุงการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตของกล้า และการสร้างต้นอ่อนโดยใช้วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสำหรับที่มีติดเมล็ดน้อย ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มปริมาณของพืชเหล่านั้นในการเพาะเลี้ยง กิจกรรมงานวิจัยเหล่านี้ ได้รับการประสานต่อ โดยเฉพาะชนิดซึ่งกำลังถูกคุกคามในธรรมชาติ และผลที่ได้ควรจะได้รับการขยายออกให้กว้างขวางโดยกลุ่มผู้ปลูกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์
ชี้ให้เห็นถึงวิธีที่ดีที่สุดในการขยายพันธุ์และการเพาะเลี้ยงของชนิดซึ่งกำลังจะถูกคุกคามโดยการค้า
ถ่ายทอดผลงานวิจัยทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเกี่ยวกับการขยายพันธุ์และการเพาะปลูกปรง ให้แก่ผู้ที่สนใจรวมทั้งผู้ปลูกอื่นๆ สวนพฤกษศาสตร์ และองค์กรอนุรักษ์
 
 
จั๋งญี่ปุ่น
        สมาคมจั๋งญี่ปุ่น หรือชื่อในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า  “Kannsochilu” สมาคมนี้ตั้งขึ้นมาในประเทศญี่ปุ่นนานกว่า  400  ปีมาแล้ว , สมาชิกทั้งหมดของสมาคมจะเป็นชาวญี่ปุ่นที่เกิดในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น  แต่ปัจจุบันสมาคมได้ทำการยอมรับสมาชิกที่เป็นชาวต่างประเทศแค่เพียง  3  ท่านเท่านั้น นั้นคือ
            1.  Mr.  Zig  Karas
            2.  คุณ  กัมพล  ตันสัจจา
            3.  Mr.  Micheal  D. Ferrero
โดยทางสมาคมได้มอบใบวุฒิบัตรรับรองบุคคลทั้งสามไว้ เพื่อเป็นเกียรติด้วย
            จั๋งด่างญี่ปุ่นสายพันธุ์  R. subtitis (จั๋งลาว - กำเนิดที่อินโดจีน)  ได้ถูกค้นพบที่สวนนงนุช  โดยวิธีการสุ่มต้นกล้าซึ่ง มีความด่างตามส่วนต่างของใบ  โดย มร.ไมเคิล  เฟอเรโร เป็นผู้ได้สังเกตุค้นพบ และได้ส่งให้กับ Mr. Zig  Karas และ Mr. Zig  Karas  ก็รู้สึกได้ทันทีว่า  จั๋งลาวใบด่างนี้ มีความพิเศษในตัวมันเองและเหมาะสมที่จะได้รับการตัดสินให้ได้รับการลงทะเบียนภายใต้ชื่อ  Nongnoochishima” ในปี  ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา
             และภายหลังจากการตรวจสอบวิธีการปลูกอย่างเข้มงวดโดยสมาชิกของสมาคมจั๋งด่างแห่งญี่ปุ่น จึงได้ออกวุฒิบัตรรับรองเพื่อเป็นเกียรติ แก่ คุณกัมพล  ตันสัจจา  ซึ่งถือเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้รับการรู้จักและ ได้รับการจดทะเบียนการเป็นเจ้าของต้นจั๋งนี้ รวมทั้งเป็นชาวต่างประเทศและเป็นคนไทยคนแรกและเป็นครั้งแรกของสมาคม ที่ได้มีการยอมรับให้เป็นสมาชิกของสมาคมจั๋งญี่ปุ่น
            สมาคมจั๋งญี่ปุ่น มีการนัดประชุม เป็นประจำทุกปี เพื่อจะพิจารณา และทำการตัดสินอย่างเป็นทางการ ในการจัดอันดับความแตกต่างของความด่างในลวดลายที่ต่างสายพันธุ์ของจั๋งญี่ปุ่น ซึ่งในการจัดอันดับนั้นก็จะมีการพิจารณาทางด้าน  1.  ความสวยงาม  2.  ความเป็นที่หายาก  3.  ความเป็นที่นิยมมากที่สุด  หรือ 4. ความเป็นจั๋งที่ได้รับการจดทะเบียนล่าสุด ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะถูกเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น และได้ทำการเขียนและเรียบเรียงบนแผ่นโปสเตอร์  ขนาด  60 ซม. X 40  ซม.  ปาล์มจั๋งที่ได้รับการจัดอันดับ  1 – 4  นี้  จะถูกนำไปจัดพิมพ์ในรูปแบบประกาศนียบัตร  ซึ่งจะถูกแปลโดยสมาชิกของสมาคมจั๋งญี่ปุ่นเท่านั้น  ทุก ๆ ปี การจัดลำดับจะเปลี่ยนไปรวมทั้งชนิดที่มีอยู่ในการจัดลำดับด้วย  สถานะจะจัดให้อยู่ในลำดับที่สูงหรือถูกลดลงจะปรากฏอยู่ในลำดับในโปสเตอร์ ซึ่งทำให้ทราบถึงการคงอยู่ของจั๋งญี่ปุ่นแต่ละชนิดด้วย และสวนนงนุชเองได้รวบรวมจั๋งญี่ปุ่นได้มากกว่า 250 ชนิด และได้รับการยอมรับจากสมาคมจั๋งญี่ปุ่น ในประเทศญี่ปุ่นว่าเป็นที่ที่รวบรวมจั๋งญี่ปุ่นไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แม้แต่ที่ญี่ปุ่นเองก็ไม่มีจำนวนมากเท่า
 
 
เฟื่องฟ้า (Bougainvillea)
               เฟื่องฟ้าเป็นพันธุ์ไม้ที่โดดเด่นของสวนพฤกษศาสตร์นงนุช  เพราะมีสีที่สะดุดตาที่สุดสำหรับที่จะปลูกประดับพื้นที่  มีสีต่างๆ ตั้งแต่สีม่วงแก่  สีม่วงอ่อน  สีแดง  สีชมพู  สีส้ม  จนกระทั่งถึงสีเหลืองและสีขาว  แต่ไม่มีสีน้ำเงิน  มีเฉดสีต่างๆ มากมาย  และแตกต่างกันในเรื่องของรูปทรงของใบ  ซึ่งประกอบด้วยใบด่างขาว  ด่างเหลือง  จนกระทั่งด่างสีครีม  ยิ่งกว่านั้น  ยังมีรอยริ้ว  และจุด  รวมทั้งใบหยิกงอหรือเป็นคลื่น  จึงเป็นพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในลักษณะต่างๆ  โดยเฉพาะสีของใบประดับ  ที่คนทั่วไปคิดว่าเป็นกลีบดอก  เฟื่องฟ้ามีกำเนิดอยู่ในอเมริกาใต้  และส่วนใหญ่แล้ว  มันก็เป็นไม้เลื้อยที่มีหนาม  แต่ได้นำมาปลูกเป็นไม้ประดับในเอเชีย  โดยเฉพาะในอินเดีย  ที่สนใจที่จะเปลี่ยนลักษณะเหล่านี้ให้สามารถปลูกเป็นไม้ประดับในสวนได้ง่ายๆ เทคนิคในการบังคับให้ออกรูปทรงเป็นแสตนดาร์ด  (Standard)  เป็นพุ่ม  และโดยเฉพาะในการทาบกิ่ง  แล้วดัดให้เป็นไม้ดัด  (Topiary)  เป็นสิ่งที่ทำให้มันมีความพิเศษ  จนทำให้ภูมิทัศน์ของสวนพฤกษศาสตร์นงนุชได้รับความนิยมชมชื่นอย่างมาก  การตัดแต่งกิ่ง  และทาบกิ่งเฟื่องฟ้าลงบนต้นตอ  เพื่อทำให้ต้นแคระลงไป  โดยปกติเราจะปลูกเฟื่องฟ้าในภาชนะ  เพื่อที่จะขนย้ายไปยังจุดต่างๆ  ในสวนได้สะดวก  และทำให้เกิดมีสีสันในบริเวณนั้นอย่างทันใจ  เป็นที่น่าประหลาดใจที่ดอกแท้ๆ  ของมันไม่ได้เด่นอะไร  แต่ใบประดับของมันมีสีสันฉูดฉาด  ทำหน้าที่เป็นใบพิเศษที่ล้อมรอบดอกที่มันอยู่ด้วย  ดอกจริงของเฟื่องฟ้านั้น  มีขนาดเล็กแทบจะมองไม่เห็น  และในบางพันธุ์ที่เราเรียกว่าพันธุ์ซ้อนนั้น  อย่างเช่นพันธุ์  มาฮาร่า  (Mahara)  ไม่มีแม้กระทั่งดอก
 
 
 
 
วัลยชาติ หรือไม้เลื้อย

                สวนพฤกษศาสตร์นงนุชได้รวบรวมไม้เลื้อยเขตร้อนเพื่อที่จะตกแต่งภูมิทัศน์ของสวนซึ่งนับเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวชื่นชมมาก  ไม้เลื้อยเหล่านี้  เจริญเติบโตอยู่บนร้านที่มีป้ายบอกชื่อสีเขียวไว้  ซึ่งอยู่บนถนนซึ่งตัดตรงกลางถนนหลักของสวน  มีจำนวนไม้เลื้อยอยู่ประมาณ  380  ชนิด/พันธุ์  ที่ได้รวบรวมมาจากทั่วโลก  และในไม่ช้า  ก็น่าจะถึง  500   ชนิด  ทำให้สวนพฤกษศาสตร์นงนุชเป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์ไม้เลื้อยที่ใหญ่ที่สุดในโลก
                โดยทั่วๆ ไป  พืชใดก็ตามที่มีแนวโน้มที่จะเลื้อยและมีลักษณะที่มีการออกดอกที่เด่นชัดมีความหอมหรือมีใบที่มีลักษณะพิเศษ  โดยเฉพาะในด้านของชาติพันธุ์พฤกษศาสตร์  ตลอดจนการใช้เป็นสมุนไพร  จะได้รับการนำมาปลูกในแปลงรวบรวมพันธุ์ไม้เลื้อยของสวน  เป็นที่หวังว่าโดยการนำเข้าอย่างต่อเนื่องและการส่งเสริมให้เกิดพันธุ์ใหม่ขึ้นมา  ในที่สุดไม้เลื้อยจะเป็นที่ยอมรับของสวนทั่วเมืองไทย

 
 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3113 วันที่ 14 พ.ย. 2552


สวนพฤกษศาสตร์...รวบรวมพันธุ์ไม้..หลากหลายชนิด..ที่สวนนงนุช..พัทยา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สื่อการสอนภาษาอังกฤษ(18)

สื่อการสอนภาษาอังกฤษ(18)


เปิดอ่าน 6,413 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

กินก๋วยเตี๋ยว...เสี่ยงมะเร็ง!!

กินก๋วยเตี๋ยว...เสี่ยงมะเร็ง!!

เปิดอ่าน 6,410 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เปิดตัว....นิ้วไบโอนิกครั้งแรกของโลก
เปิดตัว....นิ้วไบโอนิกครั้งแรกของโลก
เปิดอ่าน 6,392 ☕ คลิกอ่านเลย

เพื่อสุขภาพ คนไทยกินปลาน้อย แนะกินปลาน้ำจืดแหล่งโอเมกา 3 ไม่แพ้ปลาทะเล
เพื่อสุขภาพ คนไทยกินปลาน้อย แนะกินปลาน้ำจืดแหล่งโอเมกา 3 ไม่แพ้ปลาทะเล
เปิดอ่าน 6,391 ☕ คลิกอ่านเลย

สังคมย่อยยับ..... เพราะคนจับผิด
สังคมย่อยยับ..... เพราะคนจับผิด
เปิดอ่าน 6,429 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องแปลกๆของสัตว์ ที่น่ารู้๑
เรื่องแปลกๆของสัตว์ ที่น่ารู้๑
เปิดอ่าน 6,750 ☕ คลิกอ่านเลย

แปลกดีนะ
แปลกดีนะ
เปิดอ่าน 6,399 ☕ คลิกอ่านเลย

9 ไอเดียรัก แฮปปี้เอนดิ้ง
9 ไอเดียรัก แฮปปี้เอนดิ้ง
เปิดอ่าน 6,393 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คำอธิบายการหาคะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ตามแบบ ก.ค.ศ.3/1
คำอธิบายการหาคะแนนทีเฉลี่ย (Average T score) ตามแบบ ก.ค.ศ.3/1
เปิดอ่าน 220,409 ครั้ง

คนไทย80% กินอาหารเกินจำเป็นร่างกาย
คนไทย80% กินอาหารเกินจำเป็นร่างกาย
เปิดอ่าน 9,684 ครั้ง

Professor Switch ชั้นเรียนสุดอลังการ เวทีหมุนเปลี่ยนคลาสเรียน
Professor Switch ชั้นเรียนสุดอลังการ เวทีหมุนเปลี่ยนคลาสเรียน
เปิดอ่าน 8,941 ครั้ง

นั่งหน้าคอมฯ นาน ๆ อาจตายได้!
นั่งหน้าคอมฯ นาน ๆ อาจตายได้!
เปิดอ่าน 17,012 ครั้ง

ไมโครซอฟท์ประกาศ ยุติโปรแกรม Paint แล้ว หลังอยู่คู่วินโดวส์มา 32ปี!
ไมโครซอฟท์ประกาศ ยุติโปรแกรม Paint แล้ว หลังอยู่คู่วินโดวส์มา 32ปี!
เปิดอ่าน 15,848 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ