Advertisement
สารสกัดจากถั่วขาว ฆาตกรฆ่า "แป้ง" "อาหารเสริม" ถึงจะเป็นเทรนด์ใหม่ในกลุ่มคนรักสุขภาพ และรูปร่าง แต่ต้องกลับมาชั่งน้ำหนักดูว่า ความผอมที่ต้องแลกด้วยความฟุ่มเฟือยนั้น คุ้มหรือ
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า "ความอ้วน" ไม่ใช่โรค แต่เมื่ออาหารเผาผลาญไม่ได้เต็มที่ ก็จะถูกสะสมในรูปของไขมัน และเป็นบ่อเกิดโรคต่างๆ มากมาย ฉะนั้นจึงต้องระงับเจ้าตัวร้ายไม่ให้มีอำนาจบงการเราได้
พวกเราจึงต้องหาวิธีต่อต้านมารร้าย ด้วยการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเช่น ข้าว ขนมปัง มันฝรั่ง เส้นก๋วยเตี๋ยวให้เหมาะสมที่ 130 กรัมต่อวัน แต่หากเผลอใจให้กับบรรดาพาสต้า พิซซ่า และเบเกอรี่จนเกินขอบเขต จนกระทั่งน้ำหนักตัวเกินค่าเฉลี่ยกว่า 10% คงต้องใช้ "ตัวช่วย" แล้ว
เมื่อเรารับประทานแป้งเข้าไป น้ำย่อยที่มีเอ็นไซม์ชื่อ อัลฟ่า-อะไมเลส จะทำหน้าที่เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อให้ร่างกายใช้เป็นพลังงาน
แต่หากบริโภคเกินความพอดี ผู้ช่วยอย่าง "สารสกัดจากถั่วขาว" ซึ่งมีสารฟาซิโอลามีน มีฤทธิ์ทำให้เอ็นไซม์ย่อยแป้งเป็นสภาพเป็นกลาง เพื่อยับยั้งกระบวนการย่อยแป้งเป็นน้ำตาลถึง 66% แล้วขับถ่ายเป็นแป้งออกไปทั้งหมด ที่เหลืออีก 34% นั้นเอ็นไซม์จะย่อยน้ำตาลอย่างอิสระเช่นเดิม
ประโยชน์ของสารสกัดจากถั่วขาวในปริมาณ 500 มิลลิกรัมต่อวัน จึงมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก ควบคุมและดูแลไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และยังช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับไตรกรีเซอไรด์ในร่างกาย
ผู้บริโภคยังต้องพิจารณาส่วนประกอบและอ้างอิงผลวิจัยที่ผลทดลองกับมนุษย์ ทำงานบล็อกเอ็นไซม์ได้จริง และสามารถควบคุมสารมีพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และถึงแม้จะมีข้อมูลว่า สารสกัดจากถั่วขาวเป็นตัวช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้ง ให้ดูดซึมแป้งและน้ำตาลน้อยลง จึงมีส่วนทำให้น้ำหนักลดลงได้ก็ตาม
หากสังเกตให้ลึกลงไปอีก เราจะพบว่าภายใต้รูปลักษณ์ผงสีขาวอาจผสมส่วนประกอบอื่นๆ นอกเหนือจากถั่วขาว ได้แก่ แคลเซียมฟอสเฟต, เซลลูโลส, วิตามิน บี3 และ โครเมียมพิโคลิเนต ส่งผลให้ "ความผอม" ที่ปรากฏขึ้นอาจไม่ใช่จากสารสกัดจากถั่วขาวเพียงอย่างเดียว
ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ จำกัดปริมาณแป้งและน้ำตาลที่จะต้องบริโภคให้น้อยลง หรือหันมาเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารจากธรรมชาติ เช่น ข้าวซ้อมมือ ซึ่งจะมีใยอาหารช่วยชะลอการย่อยและดูดซึมน้ำตาล และหนีคอมพิวเตอร์ไปออกกำลังกายบ่อยๆ แล้วไขมันจะไม่มาเยือน แถมเงินในกระเป๋าก็ไม่กระเด็นอีกด้วย
ขอเป็นหนึ่งกำลังใจให้นะคะ
ที่มากรุงเทพธุรกิจ
|
วันที่ 14 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,127 ครั้ง เปิดอ่าน 7,126 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,126 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,127 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,131 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,128 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 4,772 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,687 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,542 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,341 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,078 ครั้ง |
|
|