Advertisement
❝ การถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือที่นักถ่ายภาพบ้านเรานิยมเรียกทับศัพท์ว่า แลนด์สเคป (Landscape) เป็นหนึ่งในหมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของการถ่ายภาพ ซึ่งในการจะถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ให้ออกมาสวยงามไม่ได้มีเทคนิคอะไรที่ซับซ้อน แต่สำหรับมือใหม่ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่าย ❞
คำว่า ภาพวิวทิวทัศน์ที่ดี อาจมองได้หลายมุม บ้างว่าต้องแสงสวย บ้างเน้นที่การจัดวางองค์ประกอบของภาพ บางคนว่าต้องมีอารมณ์อยู่ในนั้น บางความเห็นว่าต้องเป็นภาพที่มีความลึก และอีกสารพันคำตอบที่จะว่าไปแล้วก็แทบไม่มีข้อได้ผิด สำหรับมุมมองในส่วนของผู้เขียนเอง เห็นว่าทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องไม่อาจละเลยได้ทั้งสิ้น ทว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ภาพวิวทิวทัศน์ภาพนั้น ๆ มีคุณค่ามีความหมาย ภาพ ๆ นั้น จะต้องสามารถแสดงความเป็นเอกลักษณ์ หรือจุดเด่นของสถานที่นั้น ๆ ออกมาให้ได้มาที่สุด และเงื่อไขอันจำเป็นที่จะเอื้อให้เกิดภาพอย่างที่ว่ามานั้นก็ขึ้นอยู่กับเรื่องของ "เวลา"
ผู้ถ่ายภาพควรต้องมีเวลาให้กับสถานที่หนึ่ง ๆ มากเพียงพอ อย่างน้อย ๆ ควรมากกว่าหนึ่งวันขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อสำรวจสถานที่ให้ละเอียด ค้นหาจุดเด่นของสถานที่ให้เจอ พร้อมกำหนดมุมภาพ กำหนดทางยาวโฟกัสของเลนส์ และกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพนั้น ๆ
เทคนิคพื้นฐานของการถ่ายภาพทิวทัศน์
โดยทั่วไปแล้วการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ไม่ค่อยมีเทคนิคอะไรที่ซับซ้อน เพียงเน้นให้ภาพมีความคมชัด และสีสันที่สดใสเป็นหลัก และเป็นภาพในลักษณะที่ต้องการช่วงความชัดค่อนข้างมากเป็นพิเศษ คือมีความชัดตั้งแต่ฉากหน้าไปจนฉากหลังที่เป็นทิวเขาหรือท้องฟ้า ดังนั้นการฝึการควบคุมช่วงความชัดให้ได้ตามใจต้องการจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ปัจจัยแรกที่ส่งผลโดยตรงต่อช่วงความชัดก็คือ ช่องรับแสง หรือ เอฟนัมเบอร์ (F-STOP) การใช้ช่องรับแสงกว้าง ระหว่าง f/1.4 – f/4 จะส่งผลให้มีช่วงความชัดเกิดขึ้นน้อยอย่างที่เรียกกันว่า "ชัดตื้น" คือมีความชัดเกิดขึ้นเฉพาะในบริเวณจุดโฟกัสเท่านั้น ที่ไกลออกไปก็จะเบลอ ตรงกันข้ามกับการใช้ช่องรับแสงแคบ ตั้งแต่ f/11 ขึ้นไปที่จะส่งผลให้มีช่วงความชัดเกิดขึ้นมาก อย่างที่เรียกกันว่า "ชัดลึก" ซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์มากกว่า
ปัจจัยตัวที่สองที่มีผลต่อช่วงความชัดก็คือ ตำแหน่งในการโฟกัสภาพ ลักษณะในการเกิดช่วงความชัดของภาพจะมีระยะเกิดขึ้นหน้าจุดโฟกัสหนึ่งส่วน และเกิดหลังจุดโฟกัสสองส่วน เป็นอัตราส่วน 1:2 อย่างนี้เสมอ หากทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้ทะลุปรุโปร่งแล้ว จะทำให้เราสามารถสร้างช่วงความชัดที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยการใช้เพียงช่องรับแสงกลาง ๆ เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ช่องรับแสงแคบ ๆ เสมอไป การโฟกัสภาพไปที่ระยะทางหนึ่งในสามของภาพนี้มีชื่อเรียกว่า "Hyper Fogus"
แสง ปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ ของการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
แสงที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์นอกเหนือช่วงเวลาที่ฟ้าเปลี่ยนสีในยามพระอาทิตย์ขึ้น-ตก ก็คือแสงเฉียง ๆ ของยามเช้า และบ่ายแก่ ๆ ในทิศทางตามแสง เนื่องจากแสงลักษณะนี้จะทำให้ภาพวิวทิวทัศน์ดูมีมิติสวยงาม ทำให้ภาพถ่ายที่เป็นสื่อสองมิติอันแบนราบดูมีมิติที่สามหรือความลึกเกิดขึ้นแก่ผู้ชมภาพได้
ทว่าสิ่งเหล่านี้มิใช่กฎเกณฑ์อันควรนำมาผูกมัดกับการถ่ายภาพอยู่ตลอดเวลา นักถ่ายภาพที่ดีควรรู้จักการพลิกแพลง เปลี่ยนแปลงนำสิ่งที่ดีที่สุดมาปรับใช้กับการถ่ายภาพของตนเอง
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการ ถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
แม้จะเป็นการถ่ายภาพในยุคซอฟท์แวร์ครองเมือง ที่แทบทุกเรื่องสามารถแก้ไข ดัดแปลง ตกแต่ง รีทัช ราวกับจะเสกสรรค์ปั้นแต่งขึ้นมาได้จากหน้าจอและเพียงปลายนิ้วสัมผัสบนคีย์บอร์ด ทว่ายังมีอุปกรณ์ทางกายภาพบางชนิดที่ยังคงความจำเป็นในระดับ "ขาดเธอขาดใจ" อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ "ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (Polarizing Filter)
หน้าที่หลักของฟิลเตอร์ชนิดนี้คือ การตัดแสงโพลาไรซ์ หรือก็คือ แสงสะท้อนสีขาว ๆ ที่เกิดบนวัตถุที่มีผิวเรียบหรือมันวาว เช่น ผิวน้ำ ใบไม้ที่มีความมัน กระจก ฯลฯ โดยสวมฟิลเตอร์โพลาไรซ์ไว้หน้าเลนส์ หมุนหาตำแหน่งที่จะตัดแสงสะท้อนออกไปในปริมาณที่พอใจ ซึ่งผลของการใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้สามารถสังเกตได้ทันทีจากในช่องเล็งภาพ จึงเป็นเรื่องง่ายในการใช้งานและประหยัดเวลากว่าการมาแก้ไขในภายหลัง
นอกจากนี้ ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ ยังช่วยให้สีสันของท้องฟ้ามีความเข้มขึ้น ทำให้ปุยเมฆขาว ๆ มีรายละเอียด ทั้งนี้ มีข้อแม้ว่าท้องฟ้านั้นต้องเป็นสีฟ้าอยู่ก่อนแล้ว มิใช่ขาวซีดไร้สีสัน และมุมที่จะถ่ายต้องอยู่ในทิศทางตามแสง
อย่างไรก็ดี แม้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์จะช่วยตัดแสงสะท้อน และเพิ่มความเข้มของสีท้องฟ้า แต่ในอีกด้านหนึ่งมันเป็นฟิลเตอร์ที่กินแสงมากถึง 2 สตอป หมายความว่าที่ช่องรับแสงเท่าเดิม เมื่อใส่ฟิลเตอร์โพลาไรซ์เข้าไปที่หน้าเลนส์แล้ว ความไวชัตเตอร์ที่ได้จะต่ำลงมาอีก 2 สตอปนั่นเอง จึงอาจจำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพอีกอย่างหนึ่งเข้ามาช่วยเพื่อให้ได้ภาพที่มีทั้งช่วงความชัด(ลึก) และความคมชัดควบคู่กันไป
ขาตั้งกล้อง ยังคงเป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับนักถ่ายภาพผู้ฝักใฝ่ในคุณภาพสูงสุดอยู่ดี โดยเฉพาะในสภาพแสงช่วงเช้า ๆ หรือเย็น ๆ ซึ่งมีปริมาณและความเข้มของแสงน้อย เป็นเรื่องปกติที่จะให้ความไวชัตเตอร์ต่ำถึงต่ำมาก ประกอบกับที่ต้องใช้ช่องรับแสงแคบ ระบบลดความสั่นไหวในตัวกล้องหรือเลนส์จึงไม่อาจช่วยได้ทุกครั้งไป ขาตั้งกล้องจึงนับเป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ผู้หลงใหลการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์จะขาดเสียมิได้
สำหรับขาตั้งกล้องที่ดีในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ คือขาตั้งกล้องขนาดใหญ่และมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ขาตั้งขนาดใหญ่และหนักจะทำให้กล้องมีความมั่นคงและนิ่งสนิทจริง แม้เมื่อมีลมปะทะ แม้ในยามที่ต้องตั้งกล้องไว้กลางลำธาร หรือแม้ตั้องปักรับรับแรงกระแทกของคลื่นลมริมหาดทราย
พึงจำไว้ว่าขาตั้งที่เล็กและเบานั้นดีเฉพาะตอนแบก แต่มันแทบจะไร้ประโยชน์ตอนใช้งานจริง ส่วนขาตั้งกล้องที่ใหญ่และหนักแม้ว่าจะดูเทอะทะเป็นภาระ และทำให้ช้าเวลาถ่ายภาพ แต่มันจะมีประโยชน์มาก ๆ เมื่อถึงเวลาต้องใช้งานจริง
ขอบคุณข้อมูลจาก FotoInfo
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 10,005 ครั้ง เปิดอ่าน 14,643 ครั้ง เปิดอ่าน 13,552 ครั้ง เปิดอ่าน 12,343 ครั้ง เปิดอ่าน 18,079 ครั้ง เปิดอ่าน 8,804 ครั้ง เปิดอ่าน 4,018 ครั้ง เปิดอ่าน 14,016 ครั้ง เปิดอ่าน 18,734 ครั้ง เปิดอ่าน 10,394 ครั้ง เปิดอ่าน 23,380 ครั้ง เปิดอ่าน 12,940 ครั้ง เปิดอ่าน 10,045 ครั้ง เปิดอ่าน 26,769 ครั้ง เปิดอ่าน 3,428 ครั้ง เปิดอ่าน 10,202 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 635 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,027 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,092 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,627 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,466 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 2,375 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,293 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,246 ครั้ง |
เปิดอ่าน 38,344 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,983 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,752 ครั้ง |
|
|