Advertisement
ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี จะเกิดปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonid Meteor shower) หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกอยู่บริเวณตำแหน่งหัวของสิงโต มีลักษณะเป็นริ้วสีขาวพาดผ่านท้องฟ้า และเกิดลูกไฟควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเกิดจากเศษซากหลงเหลือของ "ดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล" มีวงโคจรรอบ "ดวงอาทิตย์" เป็นวงรี โดยหนึ่งรอบใช้เวลา 33.2 ปี และทุก ๆ 33 ปี ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า "พายุฝนดาวตก" (Meteor Storm) ซึ่งการโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 และจะเข้าใกล้ครั้งต่อไปในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2556
สำหรับ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลกมากบ้างน้อยบ้าง โดยปีที่มองเห็นสูงสุดต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2541 และ 2544 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับในปี 2552 นักดาราศาสตร์พยากรณ์ว่า คนไทยทั่วทุกพื้นที่ของประเทศจะมีโอกาสชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์ นับร้อยดวงแบบชัด ๆ อีกครั้ง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 ต่อเนื่องไปจนถึงรุ่งเช้า 18 พฤศจิกายน เหตุเพราะเวลาเกิดปรากฏการณ์ตรงกับ "คืนเดือนมืด" พอดิบพอดี
โดยช่วงเวลาที่คาดว่าจะมองเห็น ฝนดาวตก ปะทะโลกสูงสุดในประเทศไทยมี 2 ช่วง คือในเวลา 04.43 น. และในเวลา 04.50 น. ของเช้าวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งจะเป็นได้มากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง แต่ถ้าโชคดีชาวโลกอาจได้เห็น ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ร่วม ๆ 500 ดวง พุ่งสว่างวาบบนฟากฟ้า แต่ประเทศไทยจะเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่คืนวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2552 โดยเริ่มในเวลาประมาณ 00:30 น. (เข้าสู่วันที่ 18) และหลังจากนั้นจึงลดลงและสิ้นสุดในราววันที่ 21 พฤศจิกายน
"นับเป็นความโชคดีที่จะได้ชมปรากฏ การณ์ฝนดาวตกในปีนี้ เนื่องจากวันที่ 17-18 พฤศจิกายน เป็นคืนเดือนมืด ท้องฟ้าค่อนข้างมืดสนิท แต่เหตุการณ์ฝนดาวตกช่วงที่ตกมากนั้นค่อนข้างสั้น และเกิดก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้น 1 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนการถ่ายภาพควรตั้งความไวแสง ISO 400-800 ถ้าใช้กล้องสองตาควรมีหน้าเลนส์ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร และกำลังขยาย 7 เท่าขึ้นไป" ประณิตา เสพปันคำ เจ้าหน้าที่สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. ระบุ
สถานที่ที่เหมาะสมกับการดู ฝนดาวตก ถ้าจะให้ดีควรเป็นจุดที่ไม่มีแสงไฟรบกวน หรือห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หันหน้าไปทางดาวเหนือ ซึ่งสถานที่ที่สามารถไปชมปรากฎการณ์ ฝนดาวตก นี้ได้แบบอิงแอบธรรมชาติ ได้แก่...
จังหวัดเพชรบูรณ์ ณ ลานชมดาวอุทยานแห่งชาติตากหมอก, ภูทับเบิก, เขาค้อ, อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และบริเวณลานดูดาว อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ในคืนวันที่17 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงเช้ามืดวันที่ 18 พฤศจิกายน
จังหวัดปราจีนบุรี ณ อุทยานเขาอีโต้ เหนือสันเขื่อนเก็บน้ำจักรพงษ์ ติดกับสนามแข่งจักรยานเสือภูเขา ตำบลบ้านพระ ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเช้ามืดของวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552
จังหวัดลพบุรี ณ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และแหล่งท่องเที่ยวอ่างซับเหล็ก ในวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเช้ามืดของวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552 เนื่องจากเป็นที่โล่ง กว้าง ไม่มีแสงไฟรบกวน และยังมีการตั้งกล้องดูดาวอยู่ที่วัดเขาจีนแล (วัดเวฬุวัน) ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา ห่างจากอ่างซับเหล็กประมาณ 2 กิโลเมตร นอกจากนั้น ยังเป็นช่วงเดียวกับดอกทานตะวันที่กำลังบานเต็มทุ่งอยู่สองข้างทาง โดยเฉพาะบริเวณหลังอ่างซับเหล็ก หรือบริเวณวัดเขาตะกร้า เช่นเดียวกับเส้นทางมุ่งสู่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก็มีดอกทานตะวันบานแล้วหลายทุ่งเช่นกัน
จังหวัดอุบลราชธานี โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี ขอเชิญชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552 นี้ โดยฝนดาวตก ลีโอนิดส์เห็นได้ 2 ช่วง คือวันที่ 16 - 17 และ 18 - 19 เห็นได้เฉลี่ยชั่วโมงละ 10 - 20 ดวง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดมหกรรมดาราศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ที่วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2552 โดยจัดกิจกรรมนิทรรศการต่าง ๆ มากมาย เช่น 400 ปีแห่งการค้นพบทางดาราศาสตร์ วิวัฒนาการกล้องโทรทรรศน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นิทรรศการภาพถ่ายทางดาราศาสตร์โดยฝีมือคนไทย นอกจากนี้ กิจกรรมสาธิตการประกอบนาฬิกาแดด การประกวดวาดภาพทางดาราศาสตร์ และโดยเฉพาะในคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน จะมีกิจกรรมให้ประชาชนได้เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิสต์ จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้
อย่างไรก็ตาม สำหรับในภูมิภาคต่าง ๆ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้ร่วมมือกับหน่วยงาน และมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั่วประเทศ จัดกิจกรรมติดตาม "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" หลายแห่ง เช่น...
ภาคกลาง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาคตะวันออก : อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ อ.เมือง จ. ปราจีนบุรี, โรงเรียนชลราษฎรอำรุง อ.เมือง จ. ชลบุรี, โรงเรียน เบญจมราชรังสฤษฏิ์ อ.เมือง และโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา อ.แปลงยาว จ. ฉะเชิงเทรา
ภาคเหนือ : มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
ภาคใต้ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ , มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
รายละเอียดต่าง ๆ สามารถดูได้ที่ www.narit.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ สดร. 053-225569 ต่อ 11 หรือ 086-4290674
Advertisement
เปิดอ่าน 10,371 ครั้ง เปิดอ่าน 16,461 ครั้ง เปิดอ่าน 17,635 ครั้ง เปิดอ่าน 19,126 ครั้ง เปิดอ่าน 16,613 ครั้ง เปิดอ่าน 9,063 ครั้ง เปิดอ่าน 29,253 ครั้ง เปิดอ่าน 13,428 ครั้ง เปิดอ่าน 14,050 ครั้ง เปิดอ่าน 18,778 ครั้ง เปิดอ่าน 14,388 ครั้ง เปิดอ่าน 11,206 ครั้ง เปิดอ่าน 13,964 ครั้ง เปิดอ่าน 10,346 ครั้ง เปิดอ่าน 16,262 ครั้ง เปิดอ่าน 14,540 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 12,786 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,089 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,793 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,127 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,078 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,590 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,334 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 6,362 ครั้ง |
เปิดอ่าน 106,483 ครั้ง |
เปิดอ่าน 207,817 ครั้ง |
เปิดอ่าน 44,141 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,806 ครั้ง |
|
|