ภาษาเมืองเปิ้นอู้ยากก่อ เฮาเองก็อู้บ่จ้าง แต่อยากจะฮื้อสูเขาเปิ้นฮัดอู้กำเมืองกันนัก ๆ เนอะเผื่อว่าโอกาสวันหน้าได้ไปแอ่วเหนือกันเน่อ....เสี่ยมบ่คมหื้อใส่ด้ามหนักๆ ความรู้บ่หนักหื้อหมั่นฮัมเฮียน
พืช
ผัก
กระถิน = (ใต้ = สะตอเบา ) บางถิ่นเรียก ผักหนอง (ลำปาง เชียงราย)
กำบิด = ??
คอมค่อขาว (กอมก้อขาว) = แมงลัก (อีสาน = ผักอิตู่ )
คอมค่อดำ (กอมก้อดำ) = กะเพรา (โคราช ใช้ คอมค่อ เหมือนกัน)
จีคุก (จี๋กุ๊ก) = กะทือ, กะทือดง, ดอกข่าแดง
จีจ้อ (จี๋จ้อ) = จิงจ้อ
ชักไคร (จั๊กไค) = ตะไคร้
ดอกอาวแดง = กระเจียว
ถั่วดิน = ถั่วลิสง (เหนือ = อีสาน)
ถั่วน้อย = ถั่วลันเตา
ถั่วเน่า = ถั่วเหลือง
ทองดี (ตองดี) = ทองหลางใบมน
ทูน (ตูน) = คูน (อีสาน = คูน ใต้ = เอาะดิบ, ออกดิบ )
ผักกะพึน,กำพึน (กะปึน) = คึ่นช่าย
ผักขี้ขวง = สะเดาดิน
ผักฅาวทอง (คาวตอง) = พลูคาว
ผักแฅ = ชะพลู (อีสาน = อีเลิด )
ผักแฅบ = ผักตำลึง (ใต้ = ผักหคุณ )
ผักชอยนาง (จอยนาง) = ย่านาง
ผักชี (ผักจี) = ยี่หร่า
ผักชีฝรั่ง = ผักชีฝรั่ง (อีสาน = หอมเป , ใต้ = ผักเหม็น )
ผักเซียงดา = ผัก?
ผักเต้า มะเถ้า = ชำมะเลียง (อีสาน = หวดข้าใหญ่ )
ผักปลัง (อ่าน ผักปั๋ง) = ผักปลัง ไม้เถาชนิด Basella alba Linn. ใบอวบน้ำ มียางเป็นเมือก ผลสุกสีม่วงดำ..
ผักป้อม = ผักชี
ผักปู่ย่า = ช้าเลือด
ผักเผ็ด = ผักคราด
ผักไผ่, ผักไฝ ่ = ผักกะเสิม, ผักแพว (อีสาน = ผักแผ้ว )
ผักพ่อค้าตีเมีย = ผักเฟือยนก
ผักแพม (ผักแปม) = ผัก?
ผักลิงแลว = นางแลว บางครั้งเรียก ดอกลิงแลว
ผักแว่น = ผักพรรณเพินน้ำ
ผักสาบ = เถานางนูน, เถาอีนูน (อีสาน = กระสาบ )
ผักเสี้ยว = ยอดอ่อนต้นชงโคขาว
ผักส่องแสง = โสน
ผักหนอก = บัวบก (เหนือ = อีสาน)
ผักหนอง, ผักหละหนอง, ผักหนองโป้ง = ผักกะเฉด (บางครั้งได้ยินเรียก ผักหยืดน้ำ แต่ยังไม่ได้สืบค้น)
ผักหละ = ชะอม (อีสาน = ผักขา )
ผักหม, ผักโหม = ผักขม, ผักโขม
ผักฮ้วนหมู = กระทุงหมาบ้า (ใต้ = เถาคัน )
ผักเฮือด, ผักฮี้ = ผักเลียบ
พริก = พริก (ใต้ = ดีปลี นครศรีธรรมราช, ลูกเผ็ด สุราษฏร์ธานี) พริกแต้ = พริกขี้หนู พริกน้อย = พริกไทย พริกหนุ่ม = พริกสด
พูเลย (ปูเลย) = ไพล (่คำเดิมน่าจะเป็น พลูเลย ?)
หมากเขือเครือ = ?
หมากเขือปู่ = มะอึก (อีสาน = หมากอืก )
หมากเขือมื่น = กระเจี๊ยบเขียว
หมากเขือส้ม = มะเขือเทศ (เหนือ = อีสาน)
หมากฅ้อนก้อม = มะรุม
หมากแฅว้ง = มะเขือพวง (อีสาน = หมากแค่ง )
หมากถั่วแปบ = ถั่วแปบ
หมากนอย = บวบงู
หมากแป (แป๋) = ถั่วแป
หมากแพยี (แปยี) = ถั่ว…
หมากแพหล่อ (แปหล่อ) = ถั่ว…
หมากห่อย = มะระ
หมากแฮะ = ถั่วแม่ตาย
หอมขาว,หอมเทียม (หอมเตียม) = กระเทียม
หอมด่วน = สะระแหน่ (อีสาน = ขะแยะ ) (ใต้ = แซแหน่ )
หอมบั่ว = หอมแดง (เหนือ = อีสาน)
หอมป้อม = ผักชี
หอมแป้น = กุ้ยช่าย
หอมย้าว (มักเขียนผิดเป็น เย้า) = กระเทียมที่ผึ่งให้พอแห้งหมาด ๆ ย้าว = หมาด
หัวละแอน = กระชาย (อีสาน = ?)
เห็ด
เห็ดไข่ห่าน = เห็ด (อีสาน = เห็ดละโงก )
เห็ดฅน = เห็ดโคน
เห็ดถั่วเน่า = เห็ดที่ขึ้นตามกองขยะจากต้นถั่วเหลือง ปัจจุบันเรียก เห็ดโคนน้อย
เห็ดถอบ = เห็ดเผาะ
เห็ดเฟือง = เห็ดฟาง (เหนือ = อีสาน)
เห็ดหล่ม = (อีสาน = เห็ดไคล )
ดอกไม้
ดอกกาแกด = ดอกการะเกด
ดอกกาสะลอง = ดอกปีบ
ดอกแก้ว = ดอกพิกุล
ดอกฅะยอม = ดอกพยอม
ดอกฅำปู้จู้ = ดอกดาวเรือง
ดอกจุมปา (จุ๋มป๋า) = ดอกจำปา
ดอกจุมปาลาว (จุ๋มป๋าลาว) = ดอกลั่นทม (ลีลาวดี)
ดอกช่อล่อ (จ้อล่อ) = ดอกตะแบก เรียกเต็มว่า ช่อล่อควายไห้ บานในหน้าฝนต้นฤดูทำนา
ดอกซอมภอ = ดอกหางนกยูงไทย
ดอกด้าย = ดอกหงอนไก่
ดอกตะหล้อม = ดอกบานไม่รู้โรย
ดอกบัวระวง = ดอกพุทธรักษา
ดอกป่านเถื่อน = ดอกรัก
ดอกส้ม = ดอกโศก?
ดอกสลิด = ดอกขจร
ดอกสะบันงา = ดอกกระดังงา
ดอกหอมไกล (หอมไก๋) = ดอกซ่อนกลิ่น?
ดอกใหม่ = ดอกชบา
ว่าน (หวาน) สมุนไพร
ชะฅ่าน ชักฅ่าน (จ๊ะค่าน, จั๊กค่าน) = สะค้าน
หวานเข้าใหม่ = เตย
หวานไฟไหม้ = หางจระเข้
หญ้า
หญ้าก่อน = หญ้าเจ้าชู้
หญ้าจิยอบ = หญ้าไมยราพ
หญ้าเมืองวาย, หญ้าเม็งวาย = หญ้าสาบเสือ
หญ้าหนิ้วหมู = หญ้าแห้วหมู
หญ้าหานไก่ = ตำแย
หมาเหยือง = หมามุ่ย
ต้นไม้
เคี๊ย(เกี๊ยะ) = สน
จี้ = ต้นคนทา ไม้พุ่มใบคล้ายมะขวิด ต้นมีหนาม มักพบหมู่บ้านชื่อ ป่าจี้, เหมืองจี้
ตาว (ต๋าว) = ลูกชิด (ใต้ = ฉก , ชก )
ทึง (ตึง) = พลวง ใบกว้างนำมาห่ออาหารเรียก ตองทึง หรือถักเป็นไพสำหรับมุงหลังคา
ปวย (ป๋วย) = ตะแบก (อีสาน= เปลือย เปือย )
ศรี (สะหลี) = โพธิ์ , ศรีมหาโพธิ์
สะเลียม = สะเดา (อีสาน = กะเดา ) (ใต้ = เทียม )
สา = กระสา, ปอสา (เหนือ = อีสาน )
หมากแขว่น = กำจัด (เหนือ เคยได้ยินจากรายการโทรทัศน์เรียก 'พริกไทยหอม' ?ไม่แน่ใจ หรืออาจบัญญัติขึ้นมาใหม่)
ไฮ = ไทร
ฮี้, เฮือด =
ไผ่ - ไม้ซาง = ไผ่ซาง ไม้ซางฅำ = ไผ่สีทอง ไม้บง = ไผ่ตง ไม้ป้าง = ไม้ไผ่ข้าวหลาม ไม้รวก (ฮวก) = ไผ่รวก ไม้ไล่ = ไผ่ในวงศ์ Gramineae แตกแขนงไม่มีหนาม นิยมใช้หน่อเป็นอาหารเรียก หน่อไล่ ไม้สีสุก = ไผ่สีสุก (เขมร-ฤสฺสีสฺรุก) ไม้หก = ไม้ไผ่ชนิดหนึ่งมีขนาดลำต้นใหญ่กว่าไผ่ทั่วไป ไม้เฮี้ย = ไม้ผาก ไผ่ปล้องยาวชนิดหนึ่ง ไม่มีหนาม นิยมใช้ทำเครื่องดนตรี เช่น แคน
ผลไม้
หมาก = ใช้เรียกนำหน้าผลไม้ เป็นภาษาเก่า ภาษาพูดมักออกเสียงเป็น หมะ บะ บ่า (อีสาน = บัก ) (ใต้ = ลูก )
กล้วย กล้วยฅ้าว = กล้วยหอม กล้วยใต้ = กล้วยน้ำว้า กล้วยส้ม = กล้วยหักมุก
หมากกล้วย = ฝรั่ง บางถิ่นเรียก หมากกล้วยกา, หมากกล้วยจันทน์, หมากหมั้น (อีสาน = หมากสีดา )
หมากกล้วยเทศ (หมากก้วยเต้ด) = มะละกอ คำว่า เทศ = exotic แสดงว่าเป็นสิ่งที่มาจากต่างถิ่นแดน) (อีสาน = หมากหุ่ง )
หมากกอกแภะ = มะกอกบ้าน หรือมะกอกป่าขึ้นตามป่าแภะ ใช้บีบใส่น้ำพริก หมากกุก, หมากกอกใต้ = มะกอกฝรั่ง
หมากเกวน (เกว๋น) = ลูกหว้า
หมากเกียง (อ่าน เกี๋ยง) = ลูกหว้าชนิดหนึ่ง
หมากขนัด ,หมากเขือหนัด = สับปะรด (เหนือ = หมากขนัด , อีสาน = บักนัด ,ใต้ = ยานัด,มะลิ )
หมากขามเกิ้ม (เหนือ = หมากขามเกิ้ม , กลาง = มะขามหมู ,ใต้ = มะขามบอน , อีสาน = บักขามเหิ่ม ? )
หมากเขือเครือ = ?
หมากค้อ (ก๊อ) = ทับทิม
หมากคับทอง (กั๊บตอง) = พลับ ต้นไม้คล้ายตะโก ผลดิบมียางฝาดเมื่อสุกกินได้
หมากฅอแลน = ผลไม้พื้นเมืองคล้ายลิ้นจี่แต่มีขนาดเล็กกว่า (อีสาน = หมากฅอแลน, หมากแงว )
หมากชมพ ู (จมปู) = ชมพู่
หมากโชก (โจ้ก) = มะ ? หมากโชกขี้ไกล หมากไฟขี้ใกล้
หมากตากบ = ตะขบ (เหนือ = อีสาน)
หมากตาเสือ = ลูกยอ (เหนือ = อีสาน)
หมากตืน (อ่าน = หมากตื๋น) = กะท้อน บางท้องที่เรียก หมากต้อง
หมากเต้า = แตงโม (อีสาน = หมากโม )
หมากแตงลาย = แตงไทย
หมากทัน (หมากตัน) = พุดซา (เหนือ = อีสาน)
หมากนะ = ลูกสมอ
หมากปราง (อ่าน ผาง) = มะปราง
หมากพ้าว (อ่าน ป๊าว) = มะพร้าว
หมากฟักแก้ว = ฟักทอง (อีสาน = หมากอึ๋ )
หมากฟักหม่น = ฟักเขียว (อีสาน = หมากฟัก )
หมากลิ้นไม้ = เพกา มักเรียกเพี้ยนเป็น หมากลิดไม ้ (อีสาน = หมากลิ้นไม้, หมากลิ้นฟ้า )
หมากหน้อยแหน้, หน้อแหน้, น้อยแหน้ = น้อยหน่า (อีสาน = หมากเขียบ )
หมากหนุน = ขนุน (อีสาน = หมากม ี่ )
หมากเหนียงแร้ง , หมากเอิ๋งเทิง = น้อยโหน่ง
สัตว์
หอย หอยละแง็บ = หอยกาบชนิดหนึ่ง หอยเหล็กจาร = หอยที่มีรูปร่างยาวคล้ายเจดีย์
แมลง, แมง
กว่าง = ด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง นิยมนำตัวผู้มาชนกันเป็นการกีฬา กว่างกิ = กว่างตัวผู้ขนาดย่อม กว่างซาง = ด้วงกว่างชนิดห้าเขา เกิดในไผ่ซาง กว่างแซม = กว่างตัวผู้ขนาดกลางปีกออกสีแดง กว่างโซ้ง = กว่างตัวผู้ขนาดใหญ่ เขาโง้ง กว่างแม่อู้ด, กว่างอี่หลุ้ม = กวางตัวเมีย ตัวค่อนข้างเล็ก ไม่มีเขา กว่างรัก (ฮัก) = ตัวผู้ที่มีปีกสีดำเข้มเป็นมันเหมือนลงด้วยรัก
กะบี้, กำบี้ = แมลงปอ (เหนือ = อีสาน, ใต้ = แมงบี้ )
กะเบื้อ กะเบ้อ กำเบ้อ = ผีเสื้อ (อีสาน = กะเบื้อ แมงกาบเบื้อ )
จักกุ = ตั๊กแตนตำข้าว
จักขาบ = ตะขาบ (อีสาน = ขี้ขาบ )
จักเข็บ = ตะเข็บ (อีสาน = ขี้เข็บ )
จักจั่น = จักจั่น
จักแตน (จั๊กแต๋น) = ตั๊กแตน
จิกุ่ง, ขี้กุ่ง = จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง จิ้งโกร่ง (อีสาน = จิโป่ม)
จิหีด = จิ้งหรีด
ขอบคุณที่มาข้อมูลwww.thaigoodview.com/library/contest2551/social04/.../Vegetable.htm
ขอบคุณบทเพลงwww.kasetsomboon.org/