อาบน้ำร้อน หรือ อาบน้ำเย็น ดีกว่ากัน?
อาบน้ำ เป็นกิจวัตรที่แสนจะผูกพันกับผู้คนมาตั้งแต่เกิด หลายคนอาจจะให้เวลากับการอาบน้ำนานนับชั่วโมง ขณะที่บางคนใช้เวลาเพียงแค่วิ่งผ่านน้ำ ไม่ว่าจะอย่างไร หลังอาบน้ำ ทุกคนก็จะได้ความสะอาด ฉ่ำชื่นกันทุกที
คลิกฟังเพลงกุหลาบปากซัน http://www.youtube.com/watch?v=FXPCpvSRkpU
นอกจากวัตถุประสงค์เพื่อชำระล้างคราบไคลจากร่างกายแล้ว ปัจจุบันมีคนนำการอาบน้ำเข้ามาเป็นการผ่อนคลาย บำบัดเครียด ช่วยทำให้กระปรี้กระเปร่าได้ โดยจะใช้เป็นฝักบัว หรือแช่อ่างก็ไม่ต่างกัน เพราะสิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่อุปกรณ์ แต่อยู่ที่ อุณหภูมิของน้ำ ที่ความร้อน-เย็นล้วนมีผลต่อร่างกายทั้งสิ้น
ใน Be Magazine บอกไว้ว่า
น้ำร้อน สำหรับการอาบน้ำนั้น อุณหภูมิจะอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ขึ้นไป อุณหภูมิระดับนี้จะทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น จึงเหมาะกับใช้กระตุ้นอาการขี้เกียจ แต่ไม่ควรจะอาบนานเกินไป เพราะหลอดเลือดขยายตัวจนทำให้ผิวแห้ง มีผื่นขึ้น ผิวเหี่ยว ร้ายไปกว่านั้น อาจทำให้เลือดคั่ง ประสาทอ่อนล้า กระวนกระวาย ง่วงเหงา ซึมเซา ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้มีความดันผิดปกติ ถ้าเป็น น้ำอุ่น อุณหภูมิจะอยู่ที่ 27-37 องศาเซลเซียส ระดับนี้จะช่วยกระตุ้นประสาทอัตโนมัติ ทำให้ร่างกาย จิตใจสบาย ลดเครียด ลดไข้ได้ น้ำเย็น อุณหภูมิจะ ต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส ความเย็นจะช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า ผิวเต่งตึง รูขุมขนกระชับ ระหว่างอาบน้ำถ้าใช้มือตบเบาๆ ไปทั่วร่างกาย จะช่วยกระตุ้นผิวและผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้
วิธีการอาบน้ำ นั้น ให้เริ่มไล่จากปลายเท้าไปถึงกลาง ลำตัว เพื่อปรับอุณหภูมิ แล้วจึงเริ่มอาบน้ำ ถ้าใช้ฝักบัว ควรเปิด น้ำแรง ๆ แล้วฉีดไปทั่วตัวช่วยในการผ่อนคลาย
ส่วน การแช่น้ำอุ่น นั้น ควรแช่ราว 10 นาที แล้วค่อยลุกขึ้นมาขัดตัว อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน แล้ว ลงไป แช่ใหม่อีกครั้ง จะช่วย ยืดเส้นสายในร่างกาย สบายตัว ผิวสวย ลดอาการมือเท้าเย็น บวม เส้นเลือดขอดช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดไขมันได้ แต่อย่าใช้น้ำที่ร้อนเกินไป และอย่าแช่นานเกินไป อาจทำให้ผิวเปื่อยลอกได้
ส่วน เวลาอาบน้ำที่ดีที่สุด นั้น ถ้าออกกำลังกาย ก็หลังไปแล้วไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง และไม่ควรจะอาบน้ำหลังรับประทานอาหารทันที เพราะอาจทำให้อาหารไม่ย่อย ทางที่ดี ควรอาบก่อน หรือหลังอาหารไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง นี่แหละศิลปะของการอาบน้ำ
ขอบคุณที่มาบทความจาก women.thaiza.com