1. ลักษณะเรือนไทยภาคกลาง
เรือนไทยภาคกลางที่เป็นเรือนหอของครอบครัวที่ก่อสร้างตัวขึ้นมาใหม่ ประกอบด้วยเรือนนอนซึ่งมีห้องนอนและห้องโถงหนึ่งหลังเรือนมี 3 ช่วงเสา 2 ช่วงเสาเป็นห้องนอน อีก 1 ช่วงเสาเป็นห้องโถง มีไว้สำหรับเลี้ยงพระ รับแขก รับประทานอาหาร และพักผ่อน
เมื่อครอบครัวขยายตัว ลูกชายหรือลูกสาวโตขึ้นและมีครอบครัว โดยตกลงว่าจะอยู่กับพ่อแม่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้ว พ่อแม่จะปลูกเรือนให้อยู่อีกหลังหนึ่งต่างหาก อาจสร้างขึ้นตรงกันข้ามกับเรือนพ่อแม่ โดยมีชานเป็นตัวเชื่อม เกิดเป็นเรือนหมู่ขึ้น
เรือนหมู่ คือ เรือนปลูกอยู่ในที่เดียวกันมีหลายหลัง ในระยะต่อมาเมื่อมีความเจริญแล้ว อาจมีนอกชานแล่นกลางติดต่อกันได้ตลอดเรือนเหล่านี้หลังหนึ่งเป็นเรือนเดิม ซึ่งพ่อแม่อยู่ นอกนั้นเป็นเรือนหลังย่อมกว่า เป็นที่อยู่ของบุตรสาวที่ออกเรือนไปแล้ว
ส่วนจำนวนเรือนว่ามีกี่หลังนั้น ก็สุดแล้วแต่จำนวนบุตรสาวที่มีเรือนไปแล้ว โดยจะปลูกเรียงกันถัดจากเรือนเดิมออกมาทางด้านหน้าทั้งสองข้าง เรือนหลังเดิมเรียกว่า “หอกลาง” ส่วนเรือนนอกเรียกว่า “หอรี” เพราะปลูกไปตามยาว
ถ้ามีเรือนปลูกอีกหลังหนึ่งเป็นด้านสกัดก็เรียกว่า “หอขวาง” ตามปกติมักกั้นฝาทั้งสามด้าน เปิดโล่งไว้แต่ด้านหน้า สำหรับเป็นที่รับแขกเป็นทำนองเดียวกับเรือน “พะไล้” ถ้าเรือนหมู่นี้เป็นของคหบดี มักมีเรือนโถงปลูกขึ้นหลังหนึ่งที่ตรงกลางชาน สำหรับเอาไว้นั่งเล่นหรือใช้เป็นสถานที่เวลามีงาน เช่น สวดมนต์เลี้ยงพระ
สำหรับหอนั่งไม่จำเป็นต้องปลูกอยู่กลางชานเสมอไป จะใช้เรือนที่ยังไม่มีคนอยู่และเปิดเป็นห้องโถงใช้เป็นหอนั่งก็ได้ นอกจากนี้อาจมีเรือนหลังเล็กๆ สำหรับเลี้ยงนก ซึ่งปลูกไว้ตรงไหนก็ได้ตามความเหมาะสมเรือนแบบนี้เรียกว่า “หอนก” ส่วนด้านหลังของหอนั่งมักปลูกเป็นร้านต้นไม้ ส่วนใหญ่นิยมปลูกไม้เถาที่ดอกมีกลิ่นหอม
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปเรือนไทยภาคกลางนิยมปลูกเป็น 3 ห้องนอน และไม่นิยมปลูกเรือน 4 ห้อง เพราะถือว่าเรือนอยู่สี่ห้องได้เดือนร้อนรำคาญ ถ้าเป็นคหบดีนิยมปลูกเรือนตามตะวันเป็นเรือนแฝด มีชานบ้านแล่นกลาง หลังหนึ่งเป็นเรือนพักอาศัย 3 ห้อง เป็นห้องนอน ห้องเก็บของ และห้องพระ
อีกหลังหนึ่งที่สร้างขึ้นก็ทำแบบเดียวกันให้เป็นที่อยู่ของบิดามารดา หรือปู่ย่าตายาย กลางชานที่แล่นกลางเรือนนิยมสร้างเป็นเรือนโปร่ง บนนอกชานนั้นครึ่งหนึ่งเรียกกันว่า “หอนั่งหรือหอกลาง” ใช้เป็นที่สำหรับนั่งพักผ่อนยามเสร็จธุระการงานในยามเย็นหรือยามค่ำคืนก่อน จะเข้านอน
ส่วนเรือนครัวจะเชื่อมต่อกับเรือนนอนด้วยชาน ชายคาของเรือนทำรางไม้รองน้ำฝน ปลายรางมีตุ่มตั้งไว้ 1 ลูก เรือนครัวนี้มีหน้าต่างด้านข้างและด้านเหนือเตาไฟ เพื่อเปิดระบายควันไฟยามทำครัว มิให้ควันไฟจับรมควันจนดำ
เว็บไซต์ฅนไทยดอทคอม http://www.khonthai.com
เรือนไทยภาคกลาง
ภาคกลางเป็นศูนย์กลางการปกครองของบ้านเมืองมาตั้งแต่อดีต นับจากสมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยากรุงธนบุรีจวบจนรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันมีหลักฐานปรากฏว่าเรือนไทยในสมัย สุโขทัย สมัยอยุธยาที่เหลือตกทอดมาจนปัจจุบัน ล้วนก่อสร้างด้วยไม้เรือนไทยในสมัยอยุธยาคล้ายคลึงกับเรือนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ เพียงแต่สันนิฐานว่าเรือนของคหบดีขุนนางสมัย อยุธยาจะมุงด้วยกระเบื้องลอนดินเผา
รูปทรงเรือนไทยภาคกลาง
เป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศรีษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคาทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความเหมาะสม เช่น อยู่ริมน้ำ ลำคลอง ตัวเรือนก็วางยาวไปตามลำน้ำด้วยหรืออยู่ริมถนนก็วางตัวเรือนไปตามถนนตำแหน่งของผังเรือนขึ้น
อยู่กับคติความเชื่อเป็นหลัก
เรือนไทยในภาคกลาง
ถือเป็นแบบฉบับของเรือนไทยเดิมที่เราคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบ เรือนฝาปะกนถือเป็นเรือนไทยแท้ เรือนไทยฝาปะกน คือเรือนที่ฝาทำจากไม้สัก มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกันสนิท หน้าจั่วก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน เราจะพบเห็นเรือนไทยภาคกลาง รูปแบบต่าง ๆ อาทิ เรือนเดี่ยว เรือนหมู่ เรือนหมู่คหบดี และจากการดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีตผูกพันกับแม่น้ำลำคลอง อันเป็นทางคมนาคมที่สะดวกในเขตภาคกลางจึงเกิดรูปแบบเรือนพักอาศัยเช่นเรือนแพ เรือนไทยในภาคกลางอาจจำแนกออกเป็น
เป็นเรือนสำหรับครอบครัวเดี่ยว สามีภรรยาและลูกที่ยังไม่ออกเรือน สร้างขึ้นโดยมีประโยชน์ใช้สอยที่เพียงพอกับครอบครัวเล็ก ๆอาจเป็นเรือนเครื่องผูกเรือนเครื่องสับ หรือผสมผสานกันก็เป็นได้แล้วแต่ฐานะทางเศรษฐกิจ จะเอื้ออำนวย ประกอบด้วย เรือนนอน 1 หลัง เรือนครัว 1 หลัง ระเบียงยาว ตลอดเป็นตัวเชื่อมระหว่างห้องนอนกับชาน
เรือนหมู่ คือ เรือนหลายหลังซึ่งปลูกอยู่ในที่เดียวกันเมื่อลูกเต้าออกเหย้าออกเรือนไปแล้วเรือนเหล่านี้หลังหนึ่งเป็นเรือนเดิมซึ่งพ่อแม่อยู่ส่วนที่เหลือเป็นเรือนหลังย่อมกว่า เป็นที่อยู่ของบุตรสาวซึ่งออกเรือนไป
แล้วจำนวนหลัง แล้วแต่จำนวนบุตรสาว เนื่องจากสมัยก่อนลูกชายแต่งงานส่วนใหญ่จะไปอยู่บ้านผู้หญิง ส่วนลูกผู้หญิงจะนำเขยเข้าบ้าน
เรือนหมู่คหบดีโบราณ เป็นเรือนสำหรับผู้มีอันจะกินดังคำกล่าวว่า " ถ้าบ้านใด มีแม่เรือน 2 หลัง หอนั่ง ครัวไฟ หัวกระไดต้นโมกเป็นบ้านเรือนชั้นผู้ดีมีอันจะกิน " ลักษณะการจัดเรือนหมู่คหบดีของ
โบราณเป็นเรือนขนาดใหญ่มีเรือนคู่และเรือนหลังเล็กหลังน้อยรวมเข้าด้วยกัน แต่ละหลังใช้ประโยชน์ต่างหน้าที่กันออกไป ประกอบด้วย เรือนนอน เรือนลูก เรือนขวาง เรือนครัว หอนก และชาน
สายน้ำกับชีวิตแบบไทย ๆอยู่คู่กันมาโดยตลอด ส่วนใหญ่คนไทยจะอาศัยอยู่ริมน้ำเพราะเป็นเส้นทางการ คมนาคมที่สะดวกและเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชิวิตประจำวัน และงานเกษตรกรรมในบางพื้นที่ที่
บริเวณชายน้ำเป็นที่ลุ่ม มีน้ำท่วมถึงเป็นเวลานานในช่วงหน้าน้ำ การสร้างบ้านบริเวณชายฝั่งต้องยกพื้นชั้นบนสูงมาก จึงจะพ้นน้ำซึ่งไม่สะดวกใน
หน้าแล้งทำให้เกิดการสร้างเรือนในลักษณะ " เรือนแพ " ที่สามารถปรับระดับของตนเองขึ้นลงได้ตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง
บ้านไทยภาคกลาง
Monday, March 10, 2003 6:38
ชุมชนบ้านเรือนในแถบภาคกลาง เป็นสังคม เกษตรกรรม แถบพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งมีแม่น้ำสายหลักๆ อย่าง แม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำสายอื่นๆ อีกมากมาย ชาวบ้านในภาคกลางจึงผูกพัน และใช้ประโยชน์ต่าง ๆจากแม่น้ำ เนื่องจากภาคกลางมีภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว เกือบจะตลอดทั้งปี คนจึงนิยมปลูกบ้านริมน้ำ ตัวบ้านสร้างขึ้นด้วยไม้เป็นเรือนชั้นเดียวแบบ เรียบง่าย มีการออกแบบให้ป้องกันความอบ อ้าวของอากาศ ฝน และแสงแดดจ้า โดย หลังคาจะมีลักษณะเป็นทรงสูง เพื่อให้ความ ร้อนจากหลังคาถ่ายเทความร้อนสู่ห้องได้ช้า และทำให้น้ำฝนไหลลงจากหลังคาได้รวดเร็วไม่มีน้ำขัง วัสดุมุงหลังคามักใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น หญ้าคา จากแฝก ตองตึง ไม้ที่ตัดเป็น แผ่น เล็กๆ ที่นิยมกันมากคือกระเบื้องดินเผา ซึ่ง เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขนาดของเรือน ขึ้นอยู่ กับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้อาศัย ห้องนอน น้อยห้อง ไม่นิยมนอนเตียง เรือนมีใต้ถุนสูง และนิยมปลูกบ้านหันหน้า หรือหันด้านแคบของ บ้านไปทางทิศตะวัน ออกเพื่อรับแดด ในขณะ ที่ด้านยาวก็จะได้รับลม และถ่ายเทอากาศ มี การวางแปลนบ้านเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วน ชายคาบ้านมี ลักษณะยื่นยาวออกไป เรียกว่า"ไขรา หรือ กันสาด" ช่วยป้องกันความร้อนและแสง แดดกล้า โดยเฉพาะแดดเช้าและบ่ายในยาม ที่ดวง ตะวันอ้อมในฤดูหนาว ไม่ให้เผาฝาผนังของบ้านจน ร้อนเกินไป ตัวฝาผนังของบ้านเป็นกรอบที่เรียกว่า "ฝาลูกฟัก" หรือเรียกว่า "ฝาปะกน" สามารถยก ถอดประกอบกันได้ เป็นลักษณะเฉพาะของเรือนไทย ภาคกลาง ในส่วนของระเบียง มักสร้างขนานไปตามความยาว ของเรือน มีชานเรือนยาวต่อไปจนถึงตัวเรือนและ ห้องน้ำ บริเวณใต้ถุนบ้านนั้นจะยกสูงเพื่อ ป้องกัน น้ำท่วมในฤดูน้ำหลากและยังช่วยป้องกันสัตว์ร้ายอีก ด้วย นอกจากนี้ใต้ถุนยังสามารถใช้เก็บข้าวของหรือ เลี้ยงสัตว์ ได้อีกด้วย หากมีการขยับขยายครอบครัว ก็จะมีการสร้างเรือนในบริเวณให้มากขึ้นและเชื่อมต่อ กันด้วยชานบ้าน บ้านไทย นิยมแยก "เรือนครัว หรือ ครัว" ไว้อีกส่วนหนึ่ง กันเขม่าไฟ ควันจากเถ้าถ่าน เพราะสมัยก่อนใช้ไม้มาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อ หุงหาอาหารวิถีชีวิตของชาวภาคกลางนั้นจะผูกพันอยู่กับสายน้ำ เป็นหลัก ใช้เรือเป็นพาหนะในการไปมาหาสู่ จับจ่าย ซื้อของ ระหว่างกัน เป็นสังคมเกษตรกรรม รับประทาน ข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก การประกอบอาหารของชาว ภาคกลางนั้น ใช้วัตถุดิบที่สามารถหาได้ง่าย เช่นผัก บุ้ง ผักกะเฉด ที่ผลิตได้เองในแต่ละครัวเรือน รับ ประทานน้ำพริก ผักต้ม หรือผักสด ประกอบอาหาร ทุกมื้อ ส่วนการแต่งกาย นิยมแต่งกายแบบเรียบง่าย สวมใส่กางเกง ขาก๊วย เสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าไว้พาด บ่า คาดเอว หรือไว้ใช้อเนกประสงค์ ฝ่ายหญิง จะนุ่ง ผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม แขนยาวหรือ เสื้อเชิ้ต หากมีงานออกสังคม ส่วนใหญ่ไปทำบุญที่วัด ตามคตินิยม ลักษณะ ของครอบครัวอยู่รวมกันเป็น ครอบครัวใหญ่ นิยมปลูกเรือนเพิ่มให้กับสมาชิก ครอบครัว ในพื้นที่รอบรั้วเดียวกัน