Advertisement
นักเทคโนโลยีดีเด่นจาก มช." พัฒนาแผ่นห้ามเลือดจากข้าวเจ้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |
4 พฤศจิกายน 2552 11:15 น. |
|
ทรัพยากรใกล้ตัวที่คนทั่วไปเห็นเป็นสิ่งธรรมดา แท้จริงนั้นอาจจะพัฒนานำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ดังเช่น นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ใช้แป้งข้าวเจ้ามาสร้างประโยชน์ด้านการแพทย์ นำไปสู่สิ่งผลิตอย่าง “วัสดุห้ามเลือดจากแป้งข้าวเจ้า” และ "วัสดุเย็บแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า" จนสามารถคว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นปี ประจำปี 2552
รองศาสตราจารย์ นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของผลงาน “ข้าวเจ้ากรดห้ามเลือด” และผลงาน “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้” ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภทบุคคล ประจำปี 2552 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีของไทยที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ยิ่งต่อประเทศในเชิงอุตสาหกรรมและสังคม อีกทั้งจะเป็นตัวอย่างให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ และที่สำคัญที่สุดจะเป็นแรงจูงใจให้นักศึกษารุ่นหลังมีความสนใจที่จะพัฒนาผลงานเทคโนโลยีของตนให้สามารถแข่งขันกับเทคโนโลยีของต่างประเทศได้
|
ผลงานนวัตกรรม “ข้าวเจ้ากรดห้ามเลือด” เป็นแผ่นไฮโดรเจลชนิดชนิดย่อยสลายได้ปลอดภัยในร่างกายมนุษย์ที่ผลิตจากผงแป้งข้าวเจ้าไทยเป็นวัตถุดิบหลัก มีฤทธิ์กรดแก่เมื่อสัมผัสของเหลว เพื่อใช้ห้ามเลือดต่ออวัยวะอ่อนนุ่มที่ตกเลือดขณะผ่าตัด งานวิจัยพัฒนาได้ผ่านการตรวจสอบวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และการทดสอบในสิ่งมีชีวิตจากสัตว์ทดลอง โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง และขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการขอรับรองเชิงจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เพื่อการทดสอบทางคลินิก คาดว่าอีกประมาณ 1 ปี จะสามารถผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรม
สำหรับผลงานนวัตกรรม “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า” เป็นวัสดุเย็บแผลแบบเส้นใยเดี่ยวชนิดย่อยสลายได้ ผลิตจากแป้งข้าวเจ้าไทยเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อใช้เย็บแผลหรืออวัยวะอ่อนนุ่มภายในร่างกายมนุษย์ขณะกำลังผ่าตัด งานวิจัยพัฒนากำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงโครงสร้างเชิงเคมีฟิสิกส์ทางห้องปฏิบัติการ คาดว่าอีกประมาณ 3 ปี จึงจะสามารถผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรมได้ ซึ่งผลงานนวัตกรรม “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า” นี้ เคยได้รับรางวัลชนะเลิศประเทศไทยจากการประกวดบทความทางวิชาการเรื่อง “The Future of Sutures” ของบริษัทบี.บราวน์ ประเทศเยอรมันนี เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 มาแล้ว
|
|
|
“วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า” |
|
|
ในการผลิตผลงานต่างๆ นั้น รศ.นพ.สิทธิพร มีหลักแนวคิดพื้นฐานที่ว่า " ต้องการผลิตสร้างวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ขึ้นเองในประเทศไทย เพื่อลดการนำเข้าและเพิ่มการส่งออกสินค้าทางการแพทย์ เป็นผลงานที่ดำเนินงานวิจัยพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ไทย จากความรู้ความสามารถที่มีความเป็นไทย เพื่ออบรมสั่งสอนนักวิจัยรุ่นใหม่ นอกจากนี้ยังเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยใช้เทคโนโลยีและวัสดุต้นทุนต่ำ เพื่อผลิตสร้างสินค้าที่มีราคาไม่แพงเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรม ประกอบกับใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยขั้นสูงชนิดที่ปราศจากความเป็นพิษและกำจัดทิ้งได้ง่ายด้วยวิถีทางธรรมชาติ เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพยายามสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และขั้นตอนการดำเนินการที่มีความเป็นนวัตกรรมระดับสากลและสามารถขอจดสิทธิบัตรได้ เพื่อการพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศไทยให้สูงขึ้นไปสู่ระดับนานาชาติ"
|
นอกจากนี้ รศ.นพ.สิทธิพร ยังมีผลงานดีเด่นอีกมากมาย อาทิ “เจลาตินห้ามเลือดเฉพาะที่ทางศัลยศาสตร์” , “ท่อระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมอง” , “เครื่องจับคีมหนีบหลอดเลือดแดงโป่งพองในสมอง” , “ไขผึ้งห้ามเลือดที่กระดูก” เป็นต้น
|
|
|
วันที่ 11 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,181 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,250 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 35,751 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,217 ครั้ง |
เปิดอ่าน 107,823 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,563 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,114 ครั้ง |
|
|