Advertisement
มทร.ธัญบุรี คิดค้น กระดูกเทียมจากพลาสติก ย่อยสลาย-ไม่ต้องผ่าออก
|
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |
10 พฤศจิกายน 2552 19:01 น. |
|
การรักษาคนไข้ด้วยการฝังกระดูกเทียม เมื่อกระดูกจริงงอกใหม่ ต้องผ่ากระดูกเทียมออกซึ่งนับว่าคนไข้ต้องผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อลดขั้นตอนการรักษา คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัวหลายครั้ง และเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีให้ได้มาตรฐาน ไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(มทร.ธัญบุรี) จึงพัฒนากระดูกเทียมจากพลาสติกชีวภาพ ที่สามารถย่อยสลายในร่างกายได้ประสบผลสำเร็จ
ผศ.สมหมาย ผิวสะอาด คณะบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มทร.ธัญบุรี) อธิบายว่า โดยปกติ กระดูกเทียมที่ฝังเข้าไปในร่างกาย จะต้องถูกผ่าออกเมื่อกระดูกจริงงอกขึ้นมาใหม่ซึ่งคนไข้ต้องผ่าตัดหลายครั้ง แต่สำหรับกระดูกเทียมที่ย่อยสลายได้จะช่วยลดขั้นตอนการรักษาเพราะแพทย์จะผ่าตัดใส่กระดูกเทียมเพียงครั้งเดียว จากนั้น กระดูกเทียมจะค่อยๆย่อยสลายในร่างกายพร้อมๆกับเซลล์กระดูกใหม่งอกขึ้นมาแทนกระดูกเทียมในที่สุด
“ในส่วนของทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยกำลังอยู่ระหว่างการหา ทีมแพทย์ที่สนใจนำผลงานไปศึกษาและทดสอบเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด “กระดูกเทียมจากพลาสติกชีวภาพ เป็นการสังเคราะห์พลาสติกพอลิแลคติกแอซิด(PLA)และไฮดรอกซี่อะพาไทท์(HAP) ด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอล ซึ่งได้คุณสมบัติเป็นที่น่าพอใจ พลาสติกที่ได้ คือสามารถรับน้ำหนักได้ดี ย่อยสลายได้ด้วยเอนไซน์ในร่างกายโดยไม่มีการต่อต้านใดๆในร่างกาย”
|
|
ลักษณะสัณฐานของพอลิเมอร์(กระดูกเทียม) |
|
|
|
ทั้งนี้ อัตราส่วนผสมการขึ้นรูประหว่าง HAP:PLA ที่เหมาะสมคือ 40:60 ซึ่งมีความทนทาน รับน้ำหนักได้ดี ในส่วนผสมดังกล่าวจะไม่ละลายในตัวทำละลาย ข้อดีคือ ในกระบวนการขึ้นรูปกระดูกเทียมเราจึงใช้วิธีการขึ้นรูปเชิงกล ซึ่งนอกจากรับน้ำหนักได้ดี ได้มาตรฐานเชิงพลาสติกแล้ว ยังไม่มีสารตกค้าง และเป็นพิษต่อร่างกาย เมื่อฝังกระดูกเทียมในร่างกายผู้ป่วย เพราะการขึ้นรูปกระดูกเทียมโดยทั่วไป จะใช้พลาสติกที่ไม่ย่อยสลาย ดังนั้นในการขึ้นรูปจะต้องใช้ตัวทำละลาย ซึ่งในตัวทำละลายนี้เองที่มีสารก่อมะเร็ง ก่อให้เป็นพิษต่อร่างกาย
“โครงการนี้ได้รับทุนวิจัยจากสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี 2551 ซึ่งทีมวิจัยไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ เพราะเราได้มีโครงการวิจัยและพัฒนาต่อยอดด้านการขึ้นรูป เพื่อให้ได้กระดูกเทียมพลาสติกที่มีประสิทธิภาพ และมาตรฐานสูงสุด ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคข้อ และกระดูกให้แก่แพทย์ออโธปิดิกส์ต่อไปในอนาคต” ผศ.สมหมาย กล่าวทิ้งท้าย
|
|
วันที่ 11 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,185 ครั้ง เปิดอ่าน 7,251 ครั้ง เปิดอ่าน 7,220 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,218 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,756 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,085 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,961 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,514 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,010 ครั้ง |
|
|