Advertisement
ประโยชน์ของน้ำจับเลี้ยง... |
ชาวจีนนำภูมิปัญญาทำเครื่องดื่มน้ำจับเลี้ยงมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยรวบรวมเอาสมุนไพรหลายชนิดเข้าเป็นส่วนผสม ทั้งสมุนไพรไทยและจีน ดื่มได้ทั้งแบบร้อนและเย็น สรรพคุณป้องกันและบรรเทาอาการร้อนใน โดยเฉพาะอาการร้อนในที่เกิดจากสภาวะที่ร่างกายขาดความสมดุล เช่น นอนดึก พักผ่อนไม่พอ หรือกินแต่ของที่ทำให้ร้อน ของทอด หรือกินน้ำน้อย มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร มีแผลในปาก ปากลิ้นเปื่อย มีฝ้า ขมคอ เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง ไอ ตาร้อนผ่าว
โดยที่หากอาการร้อนในไม่รุนแรง รักษาร่างกายให้คืนสมดุลได้ก็หายเอง ทั้งนี้ ตามสูตรไทย ถ้าร้อนในให้กินยาเขียว ยาขม กินผัก ดื่มน้ำมากๆ ส่วนคนจีนแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ คู่กับกินพืชผักผลไม้ที่มีธาตุเย็น เช่น ฟัก แตง ฯลฯ แล้วต้มจับเลี้ยงดื่ม
น้ำจับเลี้ยงมีขายทั่วไป แต่บางย่านอาจเป็นของหายาก จะต้มดื่มเองก็เป็นความคิดที่ดี เพียงไปที่ร้านขายยาจีน (จับเลี้ยงเป็นของพื้นๆ มีขายทุกร้าน) บอกว่าซื้อจับเลี้ยง 1 ห่อ ร้านจะจัดสมุนไพรต่างๆ ให้จนครบสูตร ประกอบด้วย ดอกงิ้ว ใบบัว รากหญ้าคา เมล็ดเพกา เก๊กฮวย รากบัว โหล่เกง เทียงฮวยฮุ่ง แซตี่ แห่โกวเช่า หล่อฮั่งก้วย
วิธีต้ม ใส่จับเลี้ยงลงในหม้อต้ม เติมน้ำให้ท่วม ต้มจนเดือดไฟอ่อนๆ ประมาณ 20 นาที ถ้างวดมากให้เติมน้ำลงไปพอประมาณ เสร็จแล้วกรองเอาแต่น้ำ เติมน้ำตาลทรายแดงให้ความหวานตามชอบ น้ำจับเลี้ยงที่เหมาะแก่การดื่มไม่ควรเข้มข้นมาก และควรต้มเพียงรอบเดียว ดื่มวันละ 3-4 แก้ว
สมุนไพรไทยในจับเลี้ยง มี เมล็ดเพกา เพกาเป็นไม้ยืนต้นสูง 3-12 เมตร เปลือกเรียบ ใบเป็นใบประกอบ ยาว 60-200 ซ.ม. มีใบย่อยจำนวนมาก รูปร่างคล้ายไข่ ปลายใบแหลม ใบกว้าง 4-8 ซ.ม. ยาว 6-12 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ยาว 50-150 ซ.ม. กลีบดอกด้านนอกมีสีม่วงอมแดง หรือน้ำตาลอมแดง กลีบดอกด้านในสีเหลืองหรือสีครีม ผลเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบห้อยลง กว้าง 6-15 ซ.ม. ยาว 60-12 ซ.ม. ภายในมีเมล็ดเรียงตามความยาวของฝัก เมล็ดแบนและมีเยื่อบางๆ อยู่ล้อมรอบ
เมล็ดเพกาเป็นส่วนผสมของจับเลี้ยง ทั้งใช้เป็นยาแก้ไอและขับเสมหะได้ด้วย โดยใช้เมล็ดครั้งละ 1 กำมือ หรือ 1.5-3 กรัม ใส่น้ำประมาณ 300 ม.ล. ต้มไฟอ่อนๆ พอเดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง รับประทานวันละ 3 ครั้ง
บัว คนจีนใช้แทบทุกส่วนของบัวเป็นประโยชน์ในการทำอาหาร รากหรือเหง้าบัวนำมาหั่นเป็นแว่นต้มกับกระดูกหมูเป็นแกงจืด หรือเชื่อมน้ำตาลกินเป็นของหว าน หรือกินเป็นผักแนม เมล็ดบัวใช้ทำเป็นของหวาน ต้มน้ำตาลธรรมดาเป็นเมล็ดบัวร้อน หรือใส่น้ำแข็งเป็นเมล็ดบัวเย็น อีกอย่างหนึ่งที่ดูเป็นเอกลักษณ์คือใช้ใบบัวห่ออาหารที่นำไปนึ่งให้สุกอย่างข้าวห่อใบบัว ขณะที่ญี่ปุ่นก็ใช้รากบัวทำอาหาร ส่วนอินเดียก็ใช้ทั้งรากบัว สายบัว เช่นเดียวกับชาวไทยนิยมนำบัวมาต้มยำทำแกง
ดอกงิ้ว ผลิตผลจากต้นงิ้ว มีสีแดงหรือเหลืองส้ม เวลาบาน ใบจะร่วงหมด ออกดอกช่วงฤดูหนาว นำมาปรุงอาหารได้อย่างดีด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก มีแคลเซียมถึง 429 ม.ก. ต่อ 100 กรัม (1 ขีด) นอกจากปรุงเป็นน้ำเงี้ยว กินกับขนมจีน เรียก ขนมจีนน้ำเงี้ยว แล้ว ยังเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผักแกงส้ม หรือชุบแป้งข้าวโพดกินเล่นเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ หรือรวบรวมตากแห้งเก็บไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกใช้เป็นยา และที่สำคัญเป็นส่วนผสมของจับเลี้ยงแก้ร้อนใน
|
ขอบคุณที่มาข้อมูล www.women.thaiza.com/
00:00:47 / 00:01:00 คลิกฟังเพลง http://radio.sanook.com/music/player/เดือนเลื่อนฟ้า-(สไตล์จีน)/75502/
วันที่ 10 พ.ย. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,191 ครั้ง เปิดอ่าน 7,244 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,205 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,255 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,172 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,485 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,995 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,017 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,197 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,929 ครั้ง |
|
|