Advertisement
"น้ำขิง" เมนูสมุนไพรไทยสำหรับปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว
"น้ำขิง" เมนูสมุนไพรไทยสำหรับปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว พึ่งรสเผ็ดร้อนไล่หวัด ขับเหงื่อ พร้อมลดอาการอักเสบ-ปวดเมื่อยตามข้อยามลมหนาวมาเยือนการทำ น้ำสมุนไพร เป็นหนึ่งในรูปแบบยอดนิยมของการนำพืชใกล้ๆ ตัวที่มีหลากหลายสรรพคุณเพื่อการบริโภคโดยสะดวกง่ายดาย
โดยเฉพาะน้ำสมุนไพรที่นำมาปรุงรสให้หวาน ด้านหนึ่งเพื่อให้รับประทานง่ายด้วยรสอร่อย พร้อมกันนั้น ความหวานก็ยังเป็นการเพิ่มสรรพคุณบำรุงร่างกายลงในยา นอกจากนี้ น้ำสมุนไพรบางตำรับอาจใส่เครื่องเทศ เช่น กระวาน กานพลู พริกไทย ลงไปด้วย เพื่อช่วยแต่งกลิ่นปรุงรส อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มสรรพคุณยาของเครื่องเทศเหล่าน ั้นลงไป
ยังมีการประยุกต์เอาสมุนไพรและผลไม้ เช่น สับปะรด ทับทิม มะขาม มะนาวทั้งแบบสดและแห้งมาบดคั้น หรือต้มกับน้ำผสมน้ำตาลหรือเติมน้ำเชื่อม เป็นเครื่องดื่มแก้กระหาย ประโยชน์ของน้ำสมุนไพร สามารถกินได้ทั้งในรูปของยาและเครื่องดื่ม เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำน้ำสมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ เครื่องเทศ น้ำตาล เกลือ ล้วนมีสรรพคุณทางยา
ตัวอย่างสรรพคุณของสมุนไพร อาทิ
น้ำเชื่อม : ช่วยให้เจริญอาหาร แก้เป็นลม ดับกระหาย แก้ไข้ บำรุงร่างกาย บำรุงน้ำอสุจิ
ชะเอม : มีพลังเย็น รสหวาน บำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ สายตา ผม น้ำอสุจิ แก้กระหาย อ่อนเพลีย แก้ร่างกายเสื่อมโทรม แก้เสมหะ แก้อาเจียน แก้สะอึก
กานพลู : รสเผ็ดร้อน บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ทำให้อาหารรสชาติดีขึ้น
กระวาน : รสเผ็ดร้อน แก้ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร
ยี่หร่า : มีพลังร้อน บำรุงไฟธาตุ เสริมสร้างสติปัญญา แก้ไข้ ช่วยย่อยอาหาร บำรุง ร่างกาย บำรุงพลังทางเพศ ทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น ขับลม แก้เถาดาน (เป็น ก้อนแข็งในท้อง) แก้ท้องเสีย
พริกไทยดำ : รสเผ็ดร้อน บำรุงไฟธาตุ ขับลม แก้หอบหืด ปวดท้อง พยาธิในลำไส้ แต่ไม่ควร กินมากเกินไปเพราะจะทำให้ธาตุไฟกำเริบ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม
และหนึ่งในเมนูน้ำสมุนไพรที่ภูมิใจนำเสนอสำหรับช่วงเ วลานี้ ซึ่งเป็นระยะปลายฝนต้นหนาว เหมาะกับการมาเยี่ยมเยือนของไข้หวัด ยิ่งเป็นหวัดสายพันธุ์ใหม่ที่หลายคนหวาดผวา น้ำขิง จึงเป็นสมุนไพรในอุดมคติประจำฤดูกาล
รสเผ็ดร้อนของ ขิง มาจากน้ำมันหอมระเหยที่เรียกกันว่า Gingerols ตำราไทยโบราณบรรยายสรรพคุณถึงฤทธิ์เผ็ดร้อนของพืชหัว ชนิดนี้ว่าจะช่วยย่อย อาหาร แก้อาการท้องอืดเฟ้อ รวมทั้งยังแก้คลื่นไส้อาเจียน และแก้อาการหญิงแพ้ท้อง รวมทั้งช่วยขยายช่องทางเดินของเลือดลมทั่วร่างกาย รับประทานแล้วจะช่วยให้ความอบอุ่นจากภายใน รวมทั้งช่วยขับเหงื่อได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ขิงยังช่วยลดอาการอักเสบ บวมตามข้อต่างๆ รวมทั้งบรรเทาอาการปวดเมื่อยเนื่องจากข้อเสื่อมซึ่งม ักกำเริบในยามลมหนาวมา เยือนอีกด้วย
ฟังอย่างนี้แล้ว อย่าเพิ่งใจเร็วด่วนได้หันไปคว้าขิงผงสำเร็จรูปมาฉีก ซองเทใส่น้ำร้อน เพราะแม้จะมีรสชาติและกลิ่นละม้ายเหมือนกัน กระนั้น สรรพคุณทางยาเป็นประเด็นสำคัญที่แตกต่าง ทางที่ดีใช้ขิงแก่สด 1-2 เหง้าทุบพอแตก ต้มกับน้ำ เทใส่ถ้วยผสมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ดื่มทั้งยังอุ่นๆ
หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำ นำมาอาบเพื่อขับเหงื่อ ลดอาการไข้เนื่องจากหวัด
หรือจะนำขิงสดฝานเป็นแว่นๆ นำไปตากแดด ก่อนเก็บใส่ภาชนะปิดฝาให้มิดชิดกันชื้น เวลาใช้ ให้นำขิงแห้งสัก 1 หยิบมือ มาชงกับน้ำร้อน ปิดฝาทิ้งไว้ 10-15 นาที เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ และรอให้ยาอุ่น อาจผสามน้ำตาลทรายแดงเพื่อเพิ่มความหวาน เป็นหวัดก็ดื่มได้ แม้ไม่เป็นหวัด แต่จิบน้ำขิงอุ่นเป็นประจำในช่วงฤดูนี้จะช่วยป้องกัน หวัดได้เป็นอย่างดี
ส่วนใครที่กำลังผจญหวัด โดยเฉพาะถ้ามีอาการไอมีเสมหะ แนะนำให้ใช้ขิงสด ตำเพื่อคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา และผสมกับน้ำสะอาด 2 ถ้วย จิบวันละ 3 ครั้ง โดยอาจผสมน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มรสชาติและเพิ่มสรรพคุณแก ้ไอเจ็บคอ หรือจะเลือกวิธีแบบพื้นบ้าน ปรุงยาทันใจใช้ได้ทันที ให้ใช้ขิงสดฝนกับมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย นำมากวาดคอหรือจิบบ่อยๆ อาการหวัดจะทุเลาด้วยฤทธิ์เผ็ดร้อนของสมุนไพรคู่กายแ ห่งฤดูกาลนี้
ว่าแล้วอย่ารอช้า เข้าครัวรื้อตู้กับข้าว ถ้าเจอสุดยอดสมุนไพรชนิดนี้ก็ ..ลงมือกันเลย
ที่มา : มูลนิธิสุขภาพไทย
วันที่ 10 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,202 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,133 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 7,958 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,629 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,089 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,422 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,695 ครั้ง |
|
|