ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ฝนดาวตกสิงโต หรือ ลีโอนิดส์ (Leonids)ปีนี้สวยพิเศษ คนไทยดูได้ 17-19 พ.ย.


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,190 ครั้ง
Advertisement

ฝนดาวตกสิงโต หรือ ลีโอนิดส์ (Leonids)ปีนี้สวยพิเศษ คนไทยดูได้ 17-19 พ.ย.

Advertisement

ฝนดาวตกสิงโต ปีนี้สวยพิเศษ คนไทยดูได้ 17-19 พ.ย.

          ข่าว รายงาน ประเทศไทยจะเกิดปรากฏการณ์ ฝนดาวตกสิงโต หรือ ลีโอนิดส์ Leonids ที่มองเห็น ฝนดาวตก ได้ด้วยตาเปล่าและดูได้ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 19 พ.ย. นี้ นักดาราศาสตร์เผย ปีนี้ไม่ควรพลาดชม เพราะ ฝนดาวตก สิงโต หรือ ลีโอนิดส์ Leonids จะมีดวงใหญ่และสวยงามเป็นพิเศษกว่าปีที่ผ่านมา



          เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต กรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า ประเทศไทยจะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกสิงโต หรือ "ลีโอนิดส์" (Leonids) ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและดูได้ทั่วประเทศติดต่อกัน 2 คืน ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไปของวันที่ 17-18 พฤศจิกายน คาบเกี่ยวไปจนถึงเช้ามืดของวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้

           โดยเฉพาะช่วงเช้ามืดของวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ จะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกได้มากที่สุดถึง 30 ดวงต่อชั่วโมง โดยมองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของท้องฟ้า ปีนี้ไม่ควรพลาดชม เพราะนักดาราศาสตร์มีการคาดการณ์ว่า ฝนดาวตกลีโอนิดส์จะมีดวงใหญ่และสวยงามเป็นพิเศษกว่าปีที่ผ่านมา

           นายวรวิทย์กล่าวอีกว่า สำหรับฝนดาวตกลีโอนิดส์เกิดจากดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล (55 P/Tempel-Tuttle) โคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ แล้ววกกลับมาผ่านวงโคจรของโลก เคลื่อนไกลออกไป ทิ้งเศษซากดาวหางไว้เป็นทางยาว เมื่อโลกเคลื่อนที่ผ่านใกล้กระแสซากวัตถุเหล่านั้น จึงดึงดูดให้เศษวัตถุตกเข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลก ลุกไหม้เป็นลูกไฟตกลงมาให้เห็นเป็นดาวตกจำนวนมาก

           นอกจากนี้ ช่วงเดือนพฤศจิกายนยังสามารถชมปรากฏการณ์ระเหิดของดาวหาง 17P/Holmes ที่เกิดการระเหิดขึ้นอย่างรุนแรง (Outburst) โดยส่วนหัวของดาวหางจะมีความสว่างมากกว่าปกติ จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยสามารถมองเห็นได้ทางทิศเหนือหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป

           นายสมสวัสดิ์ รัตนสูรย์ นักดาราศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักดาราศาสตร์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า การดูฝนดาวตก ต้องดูในที่มืดและปลอดภัย ควรไปดูกันเป็นกลุ่ม อาจจำเป็นต้องนอนดู เพื่อที่จะได้เห็นท้องฟ้าเป็นมุมกว้าง

           หากต้องการถ่ายภาพ ก็ควรใช้กล้องฟิล์ม เพราะสามารถเปิดหน้ากล้องได้นาน ถ้ามีสายลั่นชัตเตอร์ด้วยก็จะทำให้เปิดหน้ากล้องได้นานเท่าที่ต้องการ แต่ต้องไม่นานจนสว่างไปทั้งภาพ อาจประมาณ 5 นาทีต่อภาพ แล้วค่อยถ่ายใหม่



ข้อมูลและภาพประกอบจาก

 

 

ก่อนอื่นคงทำความเข้าใจกับวิถีท้องฟ้าและการสังเกตจากโลกไปยังกลุ่มดาวต่าง ๆ 12 ราศี

 


 

ในระบบสุริยะจักรวาล มีดาวเคราะห์ที่เห็นด้วยตาเปล่าชัดเจนห้าดวง ดังนั้นมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณได้เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของดาวเคราะห์ ซึ่งจะเห็นว่าทุกขณะที่สังเกต จะเห็นดาวเคราะห์อยู่ในกลุ่มดาวจักรราศี และเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปตามแนวของจักรราศี ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าคือ จากราศีเมษ ก็ไป พฤษภ ไปราศี มิถุน แต่บางขณะเวลาดาวเคราะห์ก็เคลื่อนที่ถอยหลัง การเคลื่อนที่ถอยหลังนี้เกิดจากจุดสังเกตบนโลกที่มองไป ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์บางขณะ ทำให้มุมมองของโลกที่มองไปมีลักษณะสัมพัทธ์ที่ทำให้ดาวเคราะห์เคลื่อนถอยหลัง

 

จากรูปภาพของระบบสุริยะจักรวาลที่แสดงทำให้เห็นว่า โลกมองเห็นดาวอังคารอยู่ในราศีมีน เห็นดาวศุกร์อยู่ในราศีพฤษภ เห็นดาวอาทิตย์อยู่ในราศีกรกฏ เห็นดาวพุธอยู่ในราศีสิงห์ เห็นดาวพฤหัสอยู่ในราศีกันย์ และดาวเสาร์อยู่ในราศีพิจิก และถ้าดูดวงจันทร์ด้วยก็ขึ้นอยู่กับวันข้างแรมขณะนั้น

การสังเกตในลักษณะที่โลกเป็นจุดศูนย์กลาง จึงเป็นลักษณะที่คนโบราณเชื่อว่า รังสีของดาวเคราะห์ทีแผ่ตรงมายังโลกจะมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่

 

เดือนพฤศจิกายน ดวงอาทิตย์อยู่ที่ราศีพิจิก

 

ฝนดาวตก คืออะไร

ย้อนกลับไปในอดีต โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ว่า ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1833 หรือเมื่อประมาณ 170 ปีมาแล้ว ท้องฟ้าด้านตะวันออกของสหรัฐ มีจำนวนดาวตกมากมายเสมือนสายฝนร่วงมาจากสวรรค์ หลังจากนั้นมีการบันทึกต่อ ๆ มาว่าในทุกปีราวประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน จะมีปรากฏการณ์ฝนดาวตก และจะมีอัตราเพิ่มสูงมากเป็นพิเศษในทุก ๆ 33 ปี

หลังจากได้ศึกษาความเป็นมาพบว่า เส้นทางที่โลกโคจรผ่านจากซ้ายไปขวา (ดูรูปด้านบน) จะตัดผ่านเส้นทางหนึ่ง และเส้นทางนั้นสอดคล้องกับเส้นทางของดาวหางที่ชื่อ เทมเพิล ทัตเทิล นักดาราศาสตร์จึงทราบว่า ฝนดาวตกเหล่านี้ก็คือเศษฝุ่นผงขนาดเล็กที่เหลือจาก ดาวหางที่เคยเดินทางผ่านมา แต่อาจตั้งคำถามว่า เศษเหล่านี้ทำไมไม่กระจายหายไป ทำไมเศษอุกกาบาตเหล่านี้ยังคงรักษาความหนาแน่นไว้ได้ นักดาราศาสตร์ได้คำนวณพบว่า อิทธิพลของดาวพฤหัสบดีทำให้ฝุ่นผงอุกกาบาตเหล่านี้ วิ่งวนรอบดาวพฤหัสบดี มีลักษณะเป็นวงแหวนคล้ายดาวเสาร์ เมื่อโลกโคจรเข้ามาบนเส้นทางนี้ก็จะถูกโลกดึงดูดเข้าหากลายเป็นฝนดาวตก

 

ทำไมฝนดาวตกจึงพุ่งออกจากหัวสิงโต

หากดูรูปภาพประกอบจะเห็นว่า ขณะที่โลกเคลื่อนที่ตามวงโคจรปกติ เคลื่อนตัดเข้าสู่กลุ่มเศษอุกกาบาต อุกกาบาตจะเสมือนวิ่งสวนเข้าหาโลก และถูกโลกดึงดูดเข้ามา ตำแหน่งมุมมองจากโลกออกไปบนท้องฟ้า ในตำแหน่งเส้นทางเคลื่อนที่ของโลกอยู่ที่กลุ่มดาวสิงโต ดังนั้นจึงเห็นลูกไฟวิ่งเข้าใส่จากจุดหัวสิงโตแตกกระจายออกไปรอบ ๆ

 

 

จะดูฝนดาวตกได้ดีที่ใด

เราสามารถดูฝนดาวตกได้ทุกที่ โดยที่สถานที่ดูจะต้องไม่มีแสงไฟฟ้า และฝุ่นละอองรบกวนมากนัก ทางที่ดีจึงควรอออกไปนอกเมืองในที่อากาศสดใส

ดาวดูดาวตกสิงโตนี้ จะปรากฏจากกลุ่มดาวสิงโตกระจายออกทุกทิศทาง โดยไม่จำเป็นต้องจ้องไปที่จุดกลุ่มดาวสิงโต เพราะแสงดาวตกจะปรากฏให้เห็นไกลออกไป

การดูฝนดาวตกครั้งนี้ก็อยากให้นึกว่าเป็นการหาความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ไปด้วย เพราะในคืนนั้นจะเห็นดาวเคราะห์ที่สำคัญสามดาวคือ ดาวอังคารที่จะเห็นตั้งแต่หัวค่ำในกลุ่มดาวคนแบบหม้อน้ำ ดาวเสาร์อยู่กลุ่มดาววัว และดาวพฤหัสบดีที่สุกสว่างอยู่กลุ่มดาวคนคู่



โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3113 วันที่ 9 พ.ย. 2552

หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244

https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6


ฝนดาวตกสิงโต หรือ ลีโอนิดส์ (Leonids)ปีนี้สวยพิเศษ คนไทยดูได้ 17-19 พ.ย.ฝนดาวตกสิงโตหรือลีโอนิดส์(Leonids)ปีนี้สวยพิเศษคนไทยดูได้17-19พ.ย.

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

4 โรคฮิต...ผู้ใช้ Notebook

4 โรคฮิต...ผู้ใช้ Notebook


เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง
ทฤษฎี.....สุนัขหางตก

ทฤษฎี.....สุนัขหางตก


เปิดอ่าน 7,192 ครั้ง
We Love The King and Queen

We Love The King and Queen


เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
5 สิ่งที่ควรรู้....ในพริกป่น

5 สิ่งที่ควรรู้....ในพริกป่น


เปิดอ่าน 7,234 ครั้ง
"เด็กชายปัญญา"

"เด็กชายปัญญา"


เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
ผลงานวิชาการ

ผลงานวิชาการ


เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
อะไรจะเล็กขนาดเนี้ย!!

อะไรจะเล็กขนาดเนี้ย!!


เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง
^-^ทำนายฝัน^-^

^-^ทำนายฝัน^-^


เปิดอ่าน 7,186 ครั้ง

'พระอัจฉริยภาพ'


เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง
รวมคำสอนพระสุปฏิปันโน

รวมคำสอนพระสุปฏิปันโน


เปิดอ่าน 7,200 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ศัลยกรรมหน้า...น่ากลัวยิ่งกว่าคิด!!

ศัลยกรรมหน้า...น่ากลัวยิ่งกว่าคิด!!

เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เกมฉันเป็นคนใบ้....ใช้ประกอบการสอนเรื่องการตีความ
เกมฉันเป็นคนใบ้....ใช้ประกอบการสอนเรื่องการตีความ
เปิดอ่าน 7,344 ☕ คลิกอ่านเลย

เรียนปริญญาตรีด้านภาษาจีน
เรียนปริญญาตรีด้านภาษาจีน
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย

ปลวก ปลวกตัวร้าย ส่วนที่ดีของปลวก ๔ ประการ ที่เราควรรู้
ปลวก ปลวกตัวร้าย ส่วนที่ดีของปลวก ๔ ประการ ที่เราควรรู้
เปิดอ่าน 7,173 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method)
วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method)
เปิดอ่าน 7,180 ☕ คลิกอ่านเลย

ตำแหน่งที่ไม่น่าภูมิใจ
ตำแหน่งที่ไม่น่าภูมิใจ
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย

ให้การหาของขวัญสำหรับใครสักคนเป็นเรื่องง่ายๆ ค่ะ
ให้การหาของขวัญสำหรับใครสักคนเป็นเรื่องง่ายๆ ค่ะ
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

นิตยสาร SCIENCE WORLD  ขอเชิญชวนคนรักของเล่นวาดภาพออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์ในจินตนาการ
นิตยสาร SCIENCE WORLD ขอเชิญชวนคนรักของเล่นวาดภาพออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์ในจินตนาการ
เปิดอ่าน 11,795 ครั้ง

แตงกวา พืชใช้น้ำน้อย ปลูกข้างบ้านได้
แตงกวา พืชใช้น้ำน้อย ปลูกข้างบ้านได้
เปิดอ่าน 30,230 ครั้ง

โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ
โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ
เปิดอ่าน 12,908 ครั้ง

ข้อดี เคี้ยวช้าลง เสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้
ข้อดี เคี้ยวช้าลง เสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้
เปิดอ่าน 13,265 ครั้ง

สมรรถนะของครู
สมรรถนะของครู
เปิดอ่าน 472,421 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ