ดูแลจิตใจ "คนทำงาน"
ความเครียดจากการทำงาน เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย จิตใจและอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน สาเหตุอาจมาจากการทำงานที่หนักเกินไป ความเหนื่อยล้า เพื่อนร่วมงาน หรือข้อจำกัดของหน่วยงาน ในปัจจุบันโรคเครียดจากการทำงานเป็นสาเหตุสำคัญของคว ามเจ็บป่วย
คนที่ประกอบอาชีพใดหรือทำงานประเภทใด และในสถานที่แบบไหน มีโอกาสประสบปัญหาโรคเครียดมากที่สุด 10 อันดับอาชีพที่ทำให้คนเครียดมีดังนี้
- เทคโนโลยีสารสนเทศ
- บุคลากรทางการแพทย์
- วิศวกร
- ฝ่ายขายและการตลาด
- การศึกษา
- การเงิน
- ทรัพยากรบุคคล
- ฝ่ายปฏิบัติการ
- ฝ่ายผลิต
- เสมียน
จากงานวิจัย อาชีพที่เกิดความเครียดน้อย คือ บุรุษไปรษณีย์ บรรณารักษ์ ช่างทำผม นักบำบัดทางการพูด (Speech Therapists)
คนที่ทำงานออฟฟิศจะมีโอกาสเครียดมากน้อยแค่ไหน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไร
จากการสอบถามทัศนคติของคนทำงานชาวอเมริกัน พบว่า
82% กล่าวว่างานส่งผลให้เกิดความเครียดในระดับที่น้อย สามารถจัดการได้
35% กล่าวว่างานส่งผลให้เกิดปัญหาทางร่างกายและจิตใจ
28% กล่าวว่า ความคาดหวังจากที่ ทำงานส่งผลให้เกิดความเครียดในชีวิตอย่างมาก
42% กล่าวว่าความกดดันในที่ทำงานส่งผลรบกวนต่อชีวิตครอบค รัวและชีวิตส่วนตัว
และจากผลการสำรวจทางโทรศัพท์ของสำนักสุขภาพจิตสังคม พบว่า ปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาการงาน คิดเป็นร้อยละ 43 จากปัญหาที่สอบถามทั้งหมด
เพศหญิงมีอัตราส่วนของผู้ที่เกิดความ เครียดสูงกว่าเพศชาย และในวิธีการแก้ไขปัญหา พบว่าประชาชนเลือกที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ ่
คนที่เป็นผู้บริหารหรือผู้นำธุรกิจมีโอกาสเกิดความเค รียดหรือไม่ สาเหตุมาจากสิ่งเร้าใด
ทุกคนมีโอกาสเกิดความเครียดได้ บุคคลแต่ละคนจะมีความสามารถในการเผชิญกับความเครียดแ ตกต่างกันขึ้นอยู่กับ
- เหตุการณ์หรือปัญหาที่เผชิญ (event)
- ความถี่หรือความบ่อยในการเผชิญ (frequency)
- ประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคล (experience)
- แรงสนับสนุนหรือการได้รับความช่วยเหลือจากหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน หรือครอบครัว (social support)
สาเหตุของความเครียดในการทำงาน มาจากปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้
- ปัจจัยเฉพาะเรื่องงาน ได้แก่ ภาระงานที่มากเกินไป งานซ้ำซากน่าเบื่อ ไม่มีเวลาพัก ไม่อยากทำงานนั้นแล้ว
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ เสียงดัง ผู้คนจอแจ อึดอัด อากาศไม่ถ่ายเท มีความไม่ปลอดภัยในการทำงาน (เครื่องจักร, มลพิษ)ปัจจัยภายในองค์กร ได้แก่ ภาระงาน หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบไม่ชัดเจน มีความสับสนในเป้าหมายของงาน มีหัวหน้างานหลายคน เกิดความสับสน ขาดความสามารถในการตัดสินใจ ขาดการสื่อสารกันภายในองค์กร
- ปัจจัยความไม่มั่นคงของงาน ได้แก่ มีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้าง มีการเปลี่ยน งานของบุคลากรบ่อยครั้ง ขาดโอกาสความก้าวหน้าใน สายงาน
- ปัจจัยด้านสัมพันธภาพของผู้ร่วมงาน ได้แก่ มีระยะห่างระหว่างหัวหน้างานและ ลูกน้อง มีปัญหาระหว่างผู้ร่วมงานมีปัญหาการทำร้ายร่างกายกัน ในที่ทำงาน
โรคที่เกิดจากความเครียด ความเครียดจากการทำงานส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร่างกาย เกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- มะเร็ง
- ปวดหลัง
- โรคซึมเศร้า
- ปวดหัวเรื้อรัง
- โรคนอนไม่หลับ
- ความผิดปกติทางจิต
เมื่อเป็นโรคที่เกิดจากความเครียดแล้วเราจะดูแลรักษา สุขภาพอย่างไร
สัญญาณเตือนเมื่อเริ่มเครียดจากการทำงาน : หงุดหงิดและถูกเร้าได้ง่ายจากเพื่อน ร่วมงาน ครอบครัวและเพื่อนฝูง นอนหลับยาก มีความกังวลในเรื่องงานที่สูงขึ้น ปวดหัวบ่อยหรือมีอาการของโรคกระเพาะ
สถานการณ์ที่นำมาสู่ความเครียด : ไม่สามารถจัดการหน้างานของตนได้ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ค่อยได้ มีความเห็นที่แตกต่างจากหัวหน้างาน รู้สึกเบื่อหน่ายและไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน มีขีดจำกัดในเรื่องเวลาในการทำงาน ความเครียดจากการทำงานเกิดร่วมกับปัญหาชีวิตของตนเอง
เมื่อเครียดจากการทำงาน จะส่งผลต่อการทำงาน ดังนี้ มีประสิทธิภาพในการทำงานที่แย่ลง มีการลาหยุดงานหรือเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น
วิธีจัดการกับความเครียดจากการทำงาน
- หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ทานผักและผลไม้ให้มาก หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกอาหารขยะ, กาเฟอีน และน้ำตาล
- หาเวลาว่างเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
- แบ่งเวลาพักระหว่างการทำงาน
- ฝึกวิธีการจัดการความเครียดด้วยตนเอง เช่น การหายใจเข้า-ออกลึก ๆ และการทำสมาธิ
วิธีคลายเครียด
การจัดการด้วยตนเอง ได้แก่ การควบคุมลมหายใจ (Breathing) การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การจินตภาพ (Imagery) การตระหนักรู้ในตนเอง (Self Awareness) การรวบรวมสมาธิ (Concentration) ให้มุ่งสนใจอยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ รับรู้ว่า ตนเองกำลังทำอะไร และมีการเคลื่อนไหวอย่างไร โดยให้รับรู้ถึงความรู้สึกในทางบวก
การปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อลดความเครียด
1. ปรับเปลี่ยนการสื่อสารภายในองค์กร
- พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างบุคลากรภายในอ งค์กร เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน มุ่งประโยชน์ของงานเป็นที่ตั้ง
- ชี้แจงบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบภาระงานให้ชัดเจน
- เมื่อมีปัญหาควรพูดคุยกันทางตรง ใช้เหตุผลและเป้าหมายของงานเป็นที่ตั้ง ไม่ ควรใช้อารมณ์ในการสื่อสาร
2. ปรับเปลี่ยนบทบาทของหัวหน้างาน
- รับฟังความรู้สึก และความคิดเห็นของผู้ร่วมงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับป ัญหาดังกล่าว
- แสดงให้เห็นว่าผู้ร่วมงานทุกคนมี คุณค่าและให้กำลังใจ
- ควรแจกจ่ายงานให้ผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสม อย่ากำหนดการส่งงานที่กระชั้นจนเกินไป
3. ให้ข้อเสนอและผลตอบแทนแก่ผู้ร่วมงาน
- ให้สิ่งตอบแทนผู้ร่วมงานเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ
- ให้โอกาสผู้ร่วมงานในการเจริญก้าวหน้า
ข้อมูลจาก สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ที่มา : เดลินิวส์