Advertisement
ในสังคมโลกปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชน สังคม ประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง มนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาพัฒนากระบวนการคิดได้อย่างหลากหลาย และสามารถนำความรู้ที่พัฒนามาประดิษฐ์คิดค้น สร้างความเจริญให้แก่โลกเยี่ยงยุคปัจจุบัน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2542 หมวด 4 มาตรา 22 ระบุว่า การศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ มาตรา 24(5) กำหนดให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้การวิขัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและความแตกต่างของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญและการประยุกต์ใช้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เกิดจิตวิทยาศาสตร์และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
|
การจัดการเรียนการสอน โดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียน
กระบวนการจัดการเรียนการสอน
ครูจะเตรียมตัวเองอย่างไร
ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดเนื้อหาสาระ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทางและนำทาง
ศึกษาหลักการ ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ จิตวิทยาศาสตร์ กระบวนการวัดและประเมินผล
พัฒนาเทคนิคการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นกระบวนการให้ชื่อว่าเทคนิคการเรียนรู้แบบ
- จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกงล้อกงหัน มี 7 ขั้นตอนดังนี้
-
- ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
- ขั้นเพียรศึกษาค้นคว้า
- ขั้นพัฒนาความรู้และฝึกประสบการณ์
- ขั้นสร้างสรรค์องค์ความรู้
- ขั้นมุ่งสู่การประเมินผล
- ขั้นแยบยลผลสรุป
- ขั้นสุดท้ายนำไปใช้ มีการสอดแทรกกิจกรรมฝึกทักษะพื้นฐานการวิจัย และมีรายละเอียดการบูรณาการ สาระการเรียนรู้ทั้งในกลุ่มสาระเดียวกัน และต่างกลุ่มสาระ
- เตรียมสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ เช่น ตัวอย่างของจริง ใบความรู้ ชุดฝึกทักษะ กระบวนการคิด การปฏิบัติและการแก้ปัญหา ใบงาน แถบบันทึกเสียง แผ่นโปร่งใส ฯลฯ
- เตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผล เช่น แบบทดสอบ แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินกลุ่มเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบประเมินทักษะการทดลอง ฯลฯ
ครูจะเตรียมผู้เรียนอย่างไร
- ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
- จุดประกายการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่เร้าความสนใจ การระดมความคิด กิจกรรมละลายพฤติกรรม ฯลฯ
แล้วครูจะจัดเตรียมการเรียนการสอนอย่างไร
การจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ กงล้อกงหันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญดังนี้
- ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
- ขั้นเพียรศึกษาค้นคว้า
- ขั้นพัฒนาความรู้และฝึกประสบการณ์
- ขั้นสร้างสรรค์ความรู้
- ขั้นมุ่งสู่การประเมินผล
- ขั้นแยบยลผลสรุป
- ขั้นสุดท้ายนำไปใช้
เป็นการเร้าความสนใจของผู้เรียนก่อนการเรียนรู้ ในการนำเข้าสู่บทเรียน อาจจะนำโดยครูผู้สอน ครูและนักเรียน หรือนักเรียนเป็นผู้นำเข้าสู่บทเรียนลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะก็ได้ โดยใช้แถบบันทึกเสียง ภาพ ข่าว หนังสือพิมพ์ เกม เพลง ดูวีดีทัศน์หรืออาจจะเป็นการทบทวนความรู้เดิม รูปภาพ คำถาม หรือกิจกรรมอื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
เป็นขั้นที่ให้ความรู้ใหม่ ที่เชื่อมโยงกับขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ผู้สอนต้องใช้นวัตกรรมให้เกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่ โดยการใช้ใยความรู้ ใบงาน เอกสารประกอบการเรียน ชุดการเรียน ศูนย์การเรียน วีดีทัศน์ ฝึกทักษะพื้นฐานการวิจัยตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การพิสูจน์ ทดสอบ ทดลอง รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล
เป็นการฝึกระหว่างสอนในเรื่องที่ได้ศึกษาในขั้นที่ 2 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ฝึกฝนกระบวนการคิดการแก้ปัญหา โดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม ได้เรียนรู้จากกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ความคิดและประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุด เป็นการพัฒนาความรู้ความคิดของผู้เรียนให้เกิดแบบยั่งยืน
เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกความคิดรวบยอดในเรื่องที่ได้ศึกษามา โดยการเขียนเป็นข้อสรุปที่เข้าใจง่าย เช่น การเขียนแบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การเขียนแบบมโนมิติ หรือเขียนสรุปใจความสั้นๆ
เป็นการประเมินระหว่างสอนตามลำดับความยากง่ายของเนื้อหา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ในเนื้อหานั้นๆ อาจทำได้โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามเล่าเรื่องนำเสนอในสิ่งที่สร้างสรรค์ไว้ ในขั้นที่ 4 หรือบันทึกผลการทดลอง หรือใช้วิธีใดวิธีหนึ่งตามความเหมาะสมหรืออาจจะผลตามสภาพจริง (ตนเองประเมิน เพื่อนประเมิน และครูประเมิน)
เป็นการสรุปเนื้อหาความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ อาจจะสรุปโดยผู้เรียนหรือครูผู้สอนหรือครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุป อาจจะใช้สื่อช่วยในการสรุป เช่น ใช้ในสรุปเนื้อหา ใช้วีดีทัศน์หรือรูปภาพประกอบการสรุป
เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ในแหล่งชุมชน การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ทำงานหรือเตรียมบทเรียนต่อไป หรือการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
|
การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
มีการวัดและประเมินผลครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่ชัดเจน เช่น แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบทดสอบ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะวิทยาศาสตร์
|
ที่มาข้อมูล : ศรีมงคล เจริญรัตน์ วารสารวิชาการ ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2547
|
|
|
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 56,619 ครั้ง เปิดอ่าน 93,270 ครั้ง เปิดอ่าน 28,167 ครั้ง เปิดอ่าน 36,066 ครั้ง เปิดอ่าน 15,682 ครั้ง เปิดอ่าน 10,347 ครั้ง เปิดอ่าน 14,731 ครั้ง เปิดอ่าน 21,689 ครั้ง เปิดอ่าน 146,460 ครั้ง เปิดอ่าน 32,662 ครั้ง เปิดอ่าน 105,438 ครั้ง เปิดอ่าน 31,768 ครั้ง เปิดอ่าน 44,007 ครั้ง เปิดอ่าน 31,582 ครั้ง เปิดอ่าน 32,155 ครั้ง เปิดอ่าน 11,954 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 28,617 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 101,260 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,428 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 105,438 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,025 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,479 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 6,015 ครั้ง |
เปิดอ่าน 66,859 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,558 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,035 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,209 ครั้ง |
|
|