Advertisement
|
จริงอยู่ที่ “ยิ่งแก่ตัวลงอะไรๆ ก็ยิ่งเสื่อม” แต่ในบรรดาความเสื่อมและโรคภัยที่อาจแวะเวียนมาเยี่ยม “มะเร็ง”
เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังและร้ายแรงที่ผู้สูงอายุกลัวและกังวลมากที่สุด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีการยืนยันแล้วว่า ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมากกว่า 90% ที่เป็นมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเราอาจจะเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น เพราะหากเฝ้าระวังและมีวิธีป้องกันที่ดี แม้วัยจะเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ปัญหา!
อัพเดทสถานการณ์มะเร็งลำไส้ใหญ่
ในประเทศไทย สถาบันมะเร็งระบุว่า ผู้ชายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ส่วนผู้หญิงพบมากเป็นอันดับ 5 รองจากมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับและมะเร็งปอด... ฟังดูน่ากลัวแต่หากเทียบกับประเทศอื่นๆ คนไทยยังถือว่าเป็นน้อย แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มารับการรักษามักเป็นขั้นลุกลามและเสียชีวิตสูงมาจากความกลัวและอายที่จะถูกตรวจทางทวารหนัก... เป็นที่น่าเสียดายเพราะมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ระยะแรกและมีโอกาสรักษาหายขาดแต่เนิ่นๆ
ดังนั้นการสังเกตอาการผิดปกติเริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สูงอายุทุกคนควรรู้ไว้ก่อนสายเกินแก้ ซึ่งสัญญาณเตือนที่สำคัญ ได้แก่
* มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย มีเลือดออกปนมากับอุจจาระหรือถ่ายเป็นมูกเลือด
*อุจจาระมีขนาดลำเรียวเล็กเป็นประจำซึ่งอาจเกิดจากมีก้อนมะเร็งโตเบียดอยู่ในลำไส้ ทำให้ลำไส้อุดตันหรือตีบแคบลง
*รู้สึกอึดอัดและแน่นท้อง มีอาการปวดเกร็งท้องเรื้อรัง
*น้ำหนักลดอย่างไม่มีสาเหตุ
*ซีด มีอาการเหนื่อยและอ่อนเพลีย เนื่องจากมีการเสียเลือดในลำไส้เป็นเวลานาน
อย่างไรก็ตามหากภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ เกิดขึ้นถี่หรือบ่อยขึ้น หรือคุณรู้สึกมากจนทนไม่ไหว อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงของเกิดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ที่คุณต้องรีบหาสาเหตุ โรคที่คุณอาจเป็นได้แก่
* ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
* โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
* ภาวะหัวใจล้มเหลว
* ภาวะลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ
* โรคความดันโลหิตสูง
* โลหิตจาง
* ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
* ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ช่วงก่อนหรือหลังการมีประจำเดือน
* โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง
* ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
และเพื่อความไม่ประมาท หากคุณอายุย่างเข้า 50 ปีและยังไม่เคยผ่านการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมาก่อน ขอแนะนำให้ไปรับการตรวจค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ที่โรงพยาบาลต่างๆ
โดยการตรวจมีหลายวิธีดังนี้
- การตรวจหาเลือดในอุจจาระ นำอุจจาระส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาเลือดที่เกิดจากการหลุดลอกของเซลล์มะเร็งที่ปนออกมากับอุจจาระ ซึ่งควรตรวจเป็นประจำทุกปี
- การสวนแป้ง เพื่อดูก้อนเนื้อในลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพื่อดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่
- การส่องกล้องตลอดความยาวลำไส้ การส่องกล้องตลอดความยาวของลำไส้ มีความแม่นยำมาก ซึ่งหากพบชิ้นเนื้อที่ผิดปกติหรือติ่งเนื้อก็สามารถตัดออกมาส่งตรวจได้เลย เพื่อดูว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่
- CT Scan 64 slices เป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่แม่นยำรองจากการส่องกล้อง แต่มีค่าใช้จ่ายสูง
้ อย่าลืมว่าการเป็นคนช่างสังเกตและหมั่นตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ หากคุณโชคร้ายเป็นก็มักจะเป็นระยะเริ่มแรก ซึ่งโอกาสที่จะหายขาดก็มีมากถึง 95% !
|
|
ขอบคุณที่มาข้อมูลhealthtoday
|
|
วันที่ 3 พ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,286 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,204 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,213 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 124,616 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,736 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,216 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,075 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,240 ครั้ง |
|
|