บทนำ ผมเขียนง่าย ๆ ว่า....
การจัดหลักสูตรที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขนั้น เป็นการจัดการศึกษาเพื่อชีวิตที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียน เป็นูผู้ที่มีคุณภาพ เป็นพลเมืองที่มีความรู้ความสามารถ นำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว จึงต้องเป็นกระบวนการทางปัญญาที่พัฒนาบุคคลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาทุกสถานที่บูรณาการเนื้อหาสาระตามความเหมาะสมของผู้เรียน
ผู้รายงานได้รับผิดชอบการสอนรายวิชาภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรายวิชาเพิ่มเติมชั้มัธยมศึกษาปีที่มีความมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้มีความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์มาจัดการกับการท่องเที่ยวการศึกษารายวิชาดังกล่าวจะเกิดผลได้สมบูรณ์ จะต้องใช้วิธีสอนอย่างหลากหลาย เน้นการปฏิบัติจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เป็นจุดสนใจทำให้ผู้รายงานสนใจที่จะทำการศึกษาการจัดกิจกรรมกาเรียนรู้แบบบูรณการแหล่งวิทยาการภายในชุมชนร่วมกับสื่อICT
ส่วนวัตถุประสงค์ของการวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนสั้นๆ ดังนี้..
พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งวิทยาการภายในชุมชน สำหรับรายวิชาภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี
รูปแบบการวิจัย
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้เวลาในการวิจัยเวลา 1 เดือน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549
แนวความคิดที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาจากตำราและเอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้และแหล่งวิทยาการภายในชุมชน สรุปได้ว่า
แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ วิทยาการ และมวลประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียน แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวาง และต่อเนื่อง แหล่งเรียนรู้มีอยู่หลากหลายรอบตัวของผู้เรียน
แหล่งวิทยาการภายในชุมชน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างในชุมชนที่นำมาใช้เป็นตัวอย่างในการเรียนรู้ การฝึกฝนสติปัญญา ความคิดและทักษะด้านต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มากมายในชุมชน ทั้งบุคคล วัฒนธรรม ธรรมชาติ และเทคโนโลยี
กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1.ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเพชรบุรี จากแหล่งข้อมูลข่าวสารสนเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์จาก Google Earth เว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี
2.นำนักเรียนศึกษาเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนเพชรบุรี
3.นำข้อมูลจากภาพสนามมาวิเคราะห์ศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชน
4.นักเรียนจัดทำโครงงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดทำคู่มือการท่องเที่ยวในรูปของ e-book และเผยแพร่ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางว็บไซต์ของโรงเรียน องค์การปกครองท้องถิ่นภายในชุมชน และการจัดกิจกรรมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเพชรบุรี
5.ประเมินผลการทำงานด้วยการสัมมนาร่วมกัน รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมนำเสนอต่อชั้นเรียน
ผลการเรียนรู้
นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวภายในชุมชนเพิ่มมากขึ้น มีเจตคติที่ดีต่อการจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชน
การวิจัยดังกล่าว เป็นการวิจัยอย่างง่าย ๆ ไม่เลิศหรูอะไร แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะหาคำตอบในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปครับ
หมายเหตุ
งานวิจัยชิ้นนี้ ได้รับการคัดเลือกนำเสนองานที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ในปี 2549 ด้วยครับ และผมได้ทำวิจัยต่อเนื่องต่อมาอีก
สามปี กำลังเขียนฉบับสมบูรณ์อยู่ครับ..