แนวคิดหลักการของการบริหารโครงการ
การบริหารโครงการ เป็นนวัตกรรมทางการบริหารที่มีการพัฒนาตั้งแต่อดีตจรถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องมือของการบริหารที่ช่วยทำให้องค์การในทุกระดับ ทุกสาขา ทั้งในภาครัฐและเอกชนมีความเจริญก้าวหน้า มีลักษณะเป็นกระบวนการ (Process) หรือวงจร (cycle) ช่วยทำให้ภารกิจขององค์การบรรลุเป้าหมาย (goals) โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (cost) ภายใต้เวลาที่กำหนด (time) ปัจจุบันเป็นงานที่ท้าทาย มีการพัฒนาจัดทำเป็นโปรแกรมสำเร็จ (software) มาใช้พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารโครงการและพัฒนาเป็นสถาบัน (project management institution) เพื่อพัฒนาวิชาชีพการบริหารโครงการ (profession)
ประวัติความเป็นมาของการบริหารโครงการ
การบริหารโครงการ มีพัฒนาการจากอดีตสมัยโบราณ เช่น การสร้างปิรามิดของประเทศอียิปต์ การสร้างกำแพงเมืองจีนของประเทศจีน เป็นโครงการ
มโนทัศน์สมัยใหม่ เกี่ยวกับโครงการ เริ่มต้นด้วยโครงการแมนฮัทตัน (Manhattan Project) ซึ่งกองทัพสหรัฐอเมริกาพัฒนาการสร้างปรมาณู (atomic bomb) โครงการอวกาศขององค์การบริหารอวกาศและการบินแห่งชาติ โครงการดาวเทียมศึกษา เป็นต้น (Kathy, 2002)
ต่อมาการพัฒนาของการบริหารโครงการที่สำคัญ เช่น ปี ค.ศ. 1917 เฮนรี่ แกนต์ พัฒนาแผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart) ที่มีชื่อเสียงเป็นเครื่องมือสำหรับเป็นตารางเวลาการปฏิบัติงาน ของร้าน กำหนดเป็น 2 มิติ คือ งานกับเวลา
ปี ค.ศ. 1958 มีการใช้ผังเครือข่าย ในโครงการสร้างเรือดำน้ำติดหัวจรวจ ชื่อ “Polaris”
ปี ค.ศ. 1969 มีการจัดตั้งสถาบันการบริหารโครงการ (Project Management Istitute-PMI) มีส่วนสนับสนุนการบริหารโครงการมืออาชีพ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
การบริหารโครงการแบบมืออาชีพ (The Project Management Profession)
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปี ค.ศ.2000 มุ่งผลิตสิ่งต่างๆตามความต้องการสำหรับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การใช้ Wep-based การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ความสามารถในการใช้ข้อมูลที่บ้าน
สำหรับในวงวิชาการ สถาบันการศึกษาต่างๆ ได้มีการกำหนดหลักสูตร “วิชาการบริหารโครงการ” ทั้งในหลักสูตรระดับบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรอบรม (training) เพื่อให้มีความสามารถในการเป็นผู้บริหารโครงการ
ความหมายและลักษณะของโครงการ
ความหมายของโครงการ
คลีแลนด์ (Cleland, 1995, p.56) ให้ความหมายว่า โครงการเป็นงานประเภทหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นในองค์กร เพื่อที่แปลงเจตารมณ์ในเชิงกลยุทธ์ (strategic intent) ของผู้บริหารระดับสูง ให้กลายเป็นกลวิธี (tactics) ที่จะนำไปสู่การจัดการในระดับปฏิบัติการให้ได้ผลตามความต้องการของลูกค้าหรือผู้รับบริการ
ไวซอคกี บีค และ เครน (Wysocki, Beck, & Crane, 2000, p.65) ให้ความหมายว่า โครงการเป็น
ชุดของสิ่งมีที่มีลักษณะเฉพาะ ซับซ้อน และเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ไปสู่หนึ่งเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมาย
ซึ่งต้องสร้างภายในเวลา งบประมาณ และได้ผลงานที่มีลักษณะเฉพาะ
ลักษณะของโครงการ
ลักษณะของโครงการมีดังนี้ (Kathy, 2002, p.2-3)
1. มีจุดมุ่งหมายเฉพาะหนึ่งจุดหมาย
2. เป็นการปฏิบัติงานชั่วคราว มีเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุด
3. ต้องการทรัพยากรหลายประเภท ได้แก่ บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น
4. ควรมีผู้สนับสนุนงบประมาณหรือลูกค้า
5. เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอน
ประเภทของโครงการ
แบ่งได้ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะของสถานการณ์ที่จะเผชิญ ดังนี้ (ปกรณ์ ปรียากร, 2542)
1.1 โครงการปรับปรุงงาน
1.2 โครงการนวัตกรรม
1.3 โครงการวิจัยและพัฒนา
2. แบ่งตามขนาดโครงการ ได้แก่ โครงการขนาดเล็ก และ โครงการขนาดใหญ่
3. แบ่งตามระยะเวลาของโครงการ
4. แบ่งตามโครงการเดิมและโครงการใหม่
5. แบ่งตามระดับการบริหาร
6. แบ่งตามแผนงาน
แนวคิดของการบริหารโครงการ
ข้อบังคับ 3 ประการของการบริหารโครงการ โครงการมีความแตกต่างกันมี 3 ประการ (Kathy, 2002, p.4-5)
1. ขอบเขต (scope)
2. เวลา (time)
3. ค่าใช้จ่าย (cost)
ความสำคัญของการบริหารโครงการ
1. เป็นเทคนิคและเครื่องมือทางการบริหาร
2. ช่วยให้การควบคุม การใช้ทรัพยากรในด้าน เวลา งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ช่วยให้การประสานงานภายในหน่วยงานดีขึ้น
4. ช่วยให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น
5. ช่วยให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น
6. ช่วยให้มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
วิวัฒนาการของการบริหารโครงการ
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ (รัตนา สายคณิต.2546, หน้า 41-42)
1. การบริหารโครงการแบบเฉพาะกิจ
2. การบริหารโครงการแบบมีแผน
3. การบริหารโครงการอย่างเต็มรูปแบบ
สรุปการบริหารโครงการ
การบริหารโครงการมีการจัดทำมานานตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีความสำคัญ ช่วยให้องค์กรมีการพัฒนาภายใต้ข้อจำกัดในด้านบริหาร ซึ่งการบริหารโครงการที่ดีควรมีการพัฒนาการในระยะที่ 3 คือ การบริหารโครงการอย่างเต็มรูปแบบ