ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมทฤษฎีทางการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา


ทฤษฎีทางการศึกษา เปิดอ่าน : 55,902 ครั้ง
จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา

Advertisement

Piaget  เชื่อว่าพัฒนาการของเด็กนั้นจะเกิดขึ้นตามลำดับขั้น  จะไม่สามารถพัฒนาข้ามขั้นได้  เด็กจะสามารถพัฒนาสติปัญญา  ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับโลกภายนอก  ซึ่งกระบวนการสติปัญญาของบุคคลจะพัฒนาตามขั้นตอนต่อไปนี้  (อ้างใน  กานต์  รัตนพันธ์.  2532 : 22 – 23)

                ระยะที่หนึ่ง  แรกเกิด  จนถึง  2  ขวบ  เด็กจะเรียนรู้โดยการสัมผัส
                ระยะที่สอง  อายุ  2 – 7  ขวบ  เด็กเริ่มจัดกระทำกับสภาพแวดล้อม  โดยใช้สัญลักษณ์  เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับวัตถุ  รู้จักสิ่งที่เป็นตัวแทน รู้จักคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น  เริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจความหมาย  ชอบลองผิดลองถูก  สามารถแยกแยะสิ่งของได้  แต่ไม่สามารถบอกคุณสมบัติได้
                ระยะที่  3  อายุ 7 – 11  ขวบ  เด็กมีการพัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
                ระยะที่  4  อายุ  11  ปีขึ้นไป  เป็นระยะที่เด็กมีความเข้าใจ  ทดลองใช้เหตุผล  เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น  คาดคะเนเหตุการณ์จากประสบการณ์และความคิดเห็น
                Piaget  and  Inhelde  (อ้างใน  ประภาพันธ์  นิลอรุณ.  2530 : 27)  กล่าวไว้ว่า  เด็กอายุ  2 – 4  ปี  จะพัฒนาการเรียนรู้คำมากขึ้นตามลำดับ  มีลักษณะการพูดคุยโดยใช้การสื่อสารแบบสังคม  (Social  Communication)  แต่เด็กจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง  คือ  เด็กจะพูดกับตนเอง  ซึ่งเรียกว่า  การพูดคนเดียวแบบรวมหมู่  (Collection  Monologues)  เด็กจะมีทัศนะต่าง ๆ  จากการมองเห็นของตัวเอง  และจะเป็นการยากที่จะให้เด็กยอมรับสิ่งต่าง ๆ  จากภาพที่เห็น  เด็กไม่เข้าใจคำพูดของผู้อื่น  ในช่วง  5 – 6  ปี  เด็กก้าวเข้าสู่ขั้นการคิดแบบหยั่งรู้  (Intuitive)  ซึ่งเป็นการคิดโดยอาศัยการรับรู้  คือ  การมองเห็นสิ่งต่าง ๆ  แล้วบอกว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร  การหยั่งเห็นของเด็ก  เด็กจะก้าวหน้าไปสู่การแยกแยะ  เด็กเกือบจะไปถึงการรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล
                พัฒนาพร  สุทธิยานุช  (อ้างใน  ประภาพันธ์  นิลอรุณ.  2530 : 28 – 29)  ได้กล่าวถึงพัฒนาการทางภาษาว่า  มนุษย์มีขั้นตอนในการใช้ภาษาติดต่อสื่อสาร  ซึ่งมีพัฒนาการดังนี้
                1.  อายุแรกเกิด – 1  ปี  เด็กเริ่มส่งเสียงร้อง  การโต้ตอบ  อาจมีหรือไม่มีความหมายก็ได้  เริ่มเรียนคำง่ายใกล้ตัว เช่น  พ่อ  แม่  บางครั้งเล่นเสียงเพื่อความเข้าใจของตนเองเท่านั้น  แต่ไม่มีความหมายสำหรับผู้อื่น
                2.  อายุ  1 – 5  ปี  มีการพัฒนาภาษาพูดในระยะเริ่มแรก  (Early  Linguistic  Development)  เริ่มใช้ภาษาพูดเป็นประโยคง่าย ๆ  เช่น  แม่มา  พ่อทำงาน  จากการวิจัยปรากฏว่า  เมื่อเด็กเริ่มพูดมักพูดเป็นคำนามก่อน  เช่น  แมว  หมา  นม  ต่อมาจึงเป็นคำกริยา
               3.  อายุ  5 – 11  ปี  เป็นการพัฒนาการพูดในระยะหลัง  ( Later  Linguistic  Development)  ระยะนี้เด็กเริ่มเรียนคำศัพท์  การอ่านความหมาย  เริ่มสนใจไวยากรณ์  เริ่มใช้ภาษาพูดในลักษณะรูปประโยคที่สมบูรณ์  และเริ่มเข้าใจคำและความหมายของคำมากขึ้น
                4.  อายุ  11  ปีขึ้นไป  เป็นการพัฒนาการสร้างประโยค  (Development  of  Syntax)  เด็กเริ่มศึกษาไวยากรณ์อย่างแท้จริง  และสามารถใช้ภาษาได้ดียิ่งขึ้น
                ศรียา  นิยมธรรม  (2519 : 47)  การใช้ภาษาสื่อความหมายซึ่งกันและกันได้นั้น  มีการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามทฤษฎีต่อไปนี้
                1.  ทฤษฎีการเลียนแบบ  (The  Imitation  Theory)  ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลียนแบบในการพัฒนาภาษาอย่างละเอียด  ทฤษฎีนี้เชื่อว่า  พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ  ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง
                2.  ทฤษฎีการเสริมแรง  (Reinforcement  Theory)  ทฤษฎีนี้อาศัยพื้นฐานและหลักการจากทฤษฎีการเรียนรู้  ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยเงื่อนไขว่า  หากเด็กได้รับรางวัลหรือได้รับการส่งเสริมกำลังใจ  เด็กจะพูดมากขึ้น
                3.  ทฤษฎีการรับรู้  (Motor  Theory  of  Perception)  ทฤษฎีนี้เชื่อว่า  เด็กเรียนรู้ภาษาโดยการรับรู้ทางการฟัง  เด็กจะพูดซ้ำกับตนเอง  และหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก  ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้คำ
                4.  ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง  (Bubbling  Buck)  Thorndike  ได้อธิบายว่า  เมื่อเด็กเล่นเสียงอยู่นั้น  เผอิญมีบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมายในภาษาพูด  พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที  ด้วยวิธีนี้เด็กจึงมีพัฒนาการทางภาษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
                กระบวนการเรียนรู้ภาษาพูดของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งสามารถใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้นั้น  ศรีเรือน  แก้วกังวาน  (2530 : 16)  ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ภาษาตามลำดับดังนี้
                1.  การเลียนแบบ  (Imitation)  เป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้ภาษา  เพราะเป็นขั้นที่เด็กเลียนเสียงของคำ  และพูดตามเสียงที่ได้ยิน
                2.  การเอาอย่าง  (Identification)  เด็กมีการเลียนแบบการออกเสียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่จะเลียนแบบท่าทาง  นิสัยใจคอจากบุคคลตามเสียงที่ได้ยินด้วย
                3.  การเลียนแบบพฤติกรรมตอบสนองพร้อมกับสิ่งเร้าหลายตัว  (Multiple  Response)  เป็นพฤติกรรมตอบสนองสิ่งเร้าที่เด็กพยายามทำตาม  โดยลองใช้อวัยวะการเปล่งเสียงต่าง ๆ  นั้น  ให้ทำงานร่วมกัน  ได้แก่  ส่วนสมองที่รับรู้  มองเห็น ได้ยิน  ส่วนที่สะสมความจำ  ควบคุมริมฝีปาก  สีหน้า  ท่าทาง  และสายตา
                4.  การเรียนรู้โดยสัมพันธ์กับสภาวะ  (Association  Learning)  เด็กเรียนรู้คำและความหมายโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและสิ่งของหรือพฤติกรรม  เช่น  เด็กเรียนรู้คำว่า  ตุ๊กตา  เมื่อแม่ยื่นตุ๊กตาให้แล้วบอกว่า  “ตุ๊กตา”  เด็กเรียนรู้ได้จากการเชื่อมโยงเสียงและสิ่งของเข้าด้วยกัน
               5.  การเรียนรู้แบบสอบถาม  (Question - Answering)  เมื่อได้เรียนรู้ภาษาไปบ้างแล้ว  เด็กจะเกิดความคิดอย่างมีเหตุผลขึ้น  ความสงสัยและความอยากรู้  อยากเห็น  ทำให้เด็กชอบใช้คำถาม  การตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น  โดยการตอบคำถาม  จะช่วยให้พัฒนาการทางภาษาของเด็กดีขึ้น
                6.  การลองผิดลองถูก  (Trial  and  Error)  ช่วงนี้เป็นช่วงลองปฏิบัติ  อาจจะถูกบ้าง ผิดบ้าง  การเร้าใจและการชมเชยเมื่อเด็กออกเสียงได้ถูกต้อง  จะทำให้เด็กมั่นใจ  และช่วยให้ภาษาพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น

 


จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เชาวน์อารมณ์ E.Q. (Emotional Quotient)

เชาวน์อารมณ์ E.Q. (Emotional Quotient)


เปิดอ่าน 66,545 ครั้ง
ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้


เปิดอ่าน 421,479 ครั้ง
ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้


เปิดอ่าน 55,152 ครั้ง
จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา

จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา


เปิดอ่าน 55,902 ครั้ง
ระบบการสอนของเคมพ์ (Jerrold/Kemp)

ระบบการสอนของเคมพ์ (Jerrold/Kemp)


เปิดอ่าน 57,450 ครั้ง
ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม

ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม


เปิดอ่าน 107,321 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เชาวน์อารมณ์ E.Q. (Emotional Quotient)

เชาวน์อารมณ์ E.Q. (Emotional Quotient)

เปิดอ่าน 66,545 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
เปิดอ่าน 19,820 ☕ คลิกอ่านเลย

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
เปิดอ่าน 421,479 ☕ คลิกอ่านเลย

ระบบการเรียนการสอนของบริกส์ (Briggs Model)
ระบบการเรียนการสอนของบริกส์ (Briggs Model)
เปิดอ่าน 37,438 ☕ คลิกอ่านเลย

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแม็คเคลแลนด์
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแม็คเคลแลนด์
เปิดอ่าน 87,591 ☕ คลิกอ่านเลย

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism
เปิดอ่าน 156,762 ☕ คลิกอ่านเลย

แบบจำลองการสื่อสารของแชนนัน และวีเวอร์
แบบจำลองการสื่อสารของแชนนัน และวีเวอร์
เปิดอ่าน 90,804 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เตือนตากแดดนาน เสี่ยงเสียชีวิต
เตือนตากแดดนาน เสี่ยงเสียชีวิต
เปิดอ่าน 11,537 ครั้ง

ปวดคอ แบบไหนอันตราย
ปวดคอ แบบไหนอันตราย
เปิดอ่าน 5,287 ครั้ง

กางปฏิทินปี 56 เฮหยุดยาว ช่วงละ 3วัน ปีเดียว 9 ครั้ง
กางปฏิทินปี 56 เฮหยุดยาว ช่วงละ 3วัน ปีเดียว 9 ครั้ง
เปิดอ่าน 33,895 ครั้ง

ทฤษฎีบทบาทสื่อมวลชนกำลังถูกท้าทายโดยสื่อใหม่
ทฤษฎีบทบาทสื่อมวลชนกำลังถูกท้าทายโดยสื่อใหม่
เปิดอ่าน 39,311 ครั้ง

เคล็ดลับเพื่อริมฝีปากเนียนนุ่ม
เคล็ดลับเพื่อริมฝีปากเนียนนุ่ม
เปิดอ่าน 10,848 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ