ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสำหรับคุณครู  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

มาตรฐานวิชาชีพครู


สำหรับคุณครู เปิดอ่าน : 259,080 ครั้ง
Advertisement

มาตรฐานวิชาชีพครู

Advertisement

ราชกิจจานุเบกษาประกาศรายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และ หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 **Update 7 พฤษภาคม 2563

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖   ในส่วนของวิชาชีพครูเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและทิศทางการศึกษาของชาติ  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ (๑) และ (๑๑) (ฉ) และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ คุรุสภาโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า
“ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒”
ข้อ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า  “มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ”  “มาตรฐานการปฏิบัติงาน” และ “มาตรฐานการปฏิบัติตน” ในข้อ ๔ แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕56 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายความว่า ข้อก าหนดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษารวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีเพียงพอที่สามารถน าไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้ ”
“มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ หรือการแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการพัฒนางาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา รวมทั้งต้องฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีทักษะ หรือความชำนาญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
“มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายความว่า จรรยาบรรณของวิชาชีพที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องยึดถือปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนำมาซึ่งเกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ”
ข้อ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
(ก) มาตรฐานความรู้ ต้องมีความรอบรู้และเข้าใจในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(๒) จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้ค าปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
(๓) เนื้อหาวิชาที่สอน หลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
(๔) การวัด ประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
(๕) การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
(๖) การออกแบบและการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา
(ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติ การสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังต่อไปนี้
(๑) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
(๒) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐ รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการคุรุสภากำหนด”
ข้อ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังนี้
(ก) การปฏิบัติหน้าที่ครู
(๑) มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู
(๒) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
(๓) ส่งเสริมการเรียนรู้ เอาใจใส่ และยอมรับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล
(๔) สร้างแรงบันดาลใจผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ และผู้สร้างนวัตกรรม
(๕) พัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ทันสมัย และทันต่อการเปลี่ยนแปลง
(ข) การจัดการเรียนรู้
(๑) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
(๒) บูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนในการวางแผนและจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีปัญญารู้คิด และมีความเป็นนวัตกร
(๓) ดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามศักยภาพ สามารถรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ
(๔) จัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนโดยตระหนักถึงสุขภาวะของผู้เรียน
(๕) วิจัย สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
(๖) ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพ
(ค) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
(๑) ร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
(๒) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน
(๓) ศึกษา เข้าถึงบริบทของชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม
(๔) ส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ข้อ7 ข้อบังคับฉบับนี้ไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ของผู้ได้รับและผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  ที่ใช้มาตรฐานวิชาชีพตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2561 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561
 
ประกาศณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานกรรมการคุรุสภา
 
 
 
ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
          คุรุสภา ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ในส่วนของมาตรฐานวิชาชีพครู ด้านมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและทิศทางการศึกษาของชาติ โดยออกเป็น “ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2562 เป็นต้นมา
          คณะกรรมการคุรุสภาได้ออกประกาศคณะกรรมการคุรุสภาดังกล่าว เพื่อกำหนดรายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย สาระความรู้ และสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาให้การรับรองปริญญา และประกาศนียบัตรทางการศึกษา เพื่อการประกอบวิชาชีพครู ของสถาบันต่าง ๆ ที่เสนอให้คุรุสภารับรอง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป รวมทั้งใช้เป็นกรอบในการดำเนินการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ต้องผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด โดยมีผลบังคับใช้กับผู้เข้ารับการศึกษาในหลักสูตรปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูที่คุรุสภารับรอง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป
 
ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563
          โดยที่เป็นการสมควรให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะ ทางวิชาชีพครู ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลไกและระบบการคัดกรองผู้ประกอบวิชาชีพครูให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู และมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพครูที่คุรุสภากำหนด
          คุรุสภาจึงออกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูใหม่ โดยกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ต้องผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด โดยยกเว้น ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากปริญญา หรือประกาศนียบัตรทางการศึกษาที่คุรุสภารับรองที่เข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2562 และผู้ได้สิทธิในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูก่อนข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ (ผู้ผ่านการรับรองความรู้ฯ และมีใบอนุญาตปฏิบัติการสอนอยู่ระหว่างทำคุณสมบัติด้านประสบการณ์ วิชาชีพครู 1 ปี ภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2563)
          โดยคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 และครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบแนวทาง การดำเนินการทดสอบฯ และการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ออกเป็น “ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563” ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563
          สาระสำคัญโดยย่อของประกาศฯ
          1. กำหนดองค์ประกอบของการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาขีพครู ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
               1.1 ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งจะดำเนินการโดยวิธีทดสอบ รวม 5 รายวิชา ได้แก่
                    (1) วิชาภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย
                          1) การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
                          2) การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
                          3) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
                    (2) วิชาชีพครู
                    (3) วิชาเอก ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด
               1.2 การปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งจะดำเนินการโดยวิธีการประเมิน ตามเครื่องมือประเมินที่คุรุสภากำหนด ในด้านต่าง ๆ ได้แก่
                    (1) การจัดการเรียนรู้
                    (2) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
                    (3) การปฏิบัติหน้าที่ครู และจรรยาบรรณของวิชาชีพ
          2. กำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบและประเมินฯ จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
               2.1 ผู้ศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง ประกอบด้วย
                    (1) ผู้มีคุณวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่าที่คุรุสภารับรอง หรือ
                    (2) ผู้อยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง ตามหลักเกณฑ์คุณสมบัติที่คณะอนุกรรมการกำหนด
               2.2 ผู้มีคุณวุฒิปริญญาอื่น ที่คุรุสภารับรอง และมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
                    (1) ผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครูที่คุรุสภากำหนด หรือ
                    (2) ผ่านการรับรองคุณวุฒิการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพครู
          3. กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูเพื่อขรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แนวทาง และรายละเอียดของหลักเกณฑ์
และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู อำนวยการและดำเนินการตามนโยบาย แนวทาง และ รายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบฯ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการทดสอบฯ รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการคุรุสภา รวมถึงดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการคุรุสภามอบหมาย
          4. กำหนดอัตราค่าสมัครเข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูด้านความรู้ฯ ตามประกาศฯ สำหรับชาวไทย วิชาละ 300 บาท และสำหรับชาวต่างประเทศ วิชาละ 500 บาท
          5. กำหนดระยะเวลาในการใช้ผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู กรณีเป็นการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูด้านความรู้ฯ กำหนดใช้ผลการทดสอบและประเมินที่ผ่านเกณฑ์ ในวิชานั้น ๆ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันประกาศผลการทดสอบฯ หากพ้นกำหนดดังกล่าว ต้องเข้าทดสอบใหม่ และกรณีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูด้านการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนสามารถใช้ผลการทดสอบและประเมินฯ ได้โดยไม่จำกัดระยะเวลา
การเตรียมดำเนินการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563
          คณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ในการประชุม ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 มีมติให้ดำเนินการจัดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ปี พ.ศ. 2563 ในเดือนตุลาคม 2563 โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการทดสอบฯ ได้แก่ นิสิตนักศึกษาที่เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2562 ในหลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู) และประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ที่คุรุสภารับรอง ซึ่งสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้สำรวจข้อมูลนักศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวแล้วพบว่า มีประมาณ 7,800 คน 

          การดำเนินการจัดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูด้านความรู้ฯ สำนักงานเลขาธิการ คุรุสภาได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อดำเนินการสร้างข้อสอบฯ ตามผังการสร้างข้อสอบฯที่คณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบฯให้ความเห็นชอบ และจะดำเนินการจัดการทดสอบฯ ในเดือนตุลาคม 2563 ณ ศูนย์ทดสอบที่กำหนด โดยกระจายในภูมิภาคต่าง ๆ รวม 9 ศูนย์ ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการทดสอบฯ เมื่อผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบฯ และคณะกรรมการคุรุสภาเรียบร้อยแล้ว จะได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยเร็วต่อไป รวมทั้ง การเตรียมความพร้อมในเรื่องการจัดการทดสอบฯ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ยังคงต้อง คงมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดตามมติคณะรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะได้หารือร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เพื่อเตรียมดำเนินการจัดการทดสอบตามสถานการณ์ดังกล่าวต่อไป. 

 

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562


มาตรฐานวิชาชีพครู (2543)


เกณฑ์มาตรฐาน- วิชาชีพครู


มาตรฐานที่ 1  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ

มาตรฐานที่ 2  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน

มาตรฐานที่ 3  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ

มาตรฐานที่ 4  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง

มาตรฐานที่ 5  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

มาตรฐานที่ 6  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน

มาตรฐานที่ 7  รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ

มาตรฐานที่ 8  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน

มาตรฐานที่ 9  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์

มาตรฐานที่ 10  ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน

มาตรฐานที่ 11  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา

มาตรฐานที่ 12  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์




คำอธิบายมาตรฐานที่ 1
การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และ การเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่องค์การหรือหน่วยงาน หรือสมาคมจัดขึ้น เช่น การประชุม การอบรม การสัมมนา และการประชุมปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีผลงานหรือรายงานที่ปรากฏชัดเจน

คำอธิบายมาตรฐานที่ 2
การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน หมายถึง การ-เลือกอย่างชาญฉลาดด้วยความรักและหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้น ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่น ๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก


คำอธิบายมาตรฐานที่ 3
การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของครูที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหาความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิม รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ

คำอธิบายมาตรฐานที่ 4
การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง หมายถึง การเลือกใช้ ปรับปรุง หรือสร้างแผนการสอน บันทึกการสอน หรือ เตรียมการสอนในลักษณะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้

คำอธิบายมาตรฐานที่ 5
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ หมายถึง การประดิษฐ์คิดค้น ผลิต เลือกใช้ ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ จุดประสงค์ของการเรียนรู้

คำอธิบายมาตรฐานที่ 6
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวร หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ตามสภาพความแตกต่างของบุคคล ด้วยการปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป

คำอธิบายมาตรฐานที่ 7
การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ หมายถึง การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสาเหตุ ปัจจัย และ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้
1. ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการได้รับการพัฒนาและเป้าหมายของ
การพัฒนาผู้เรียน
2. เทคนิค วิธีการ หรือ นวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ
ของผู้เรียน และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้น ๆ
3. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนดที่เกิดกับผู้เรียน
4. ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น



คำอธิบายมาตรฐานที่ 8
การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี หมายถึง การแสดงออก การประพฤติและปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย กิริยา วาจา และจริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธาและถือเป็นแบบอย่าง

คำอธิบายมาตรฐานที่ 9
การร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การตระหนักถึงความ-สำคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา และ ร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น

คำอธิบายมาตรฐานที่ 10
การร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน หมายถึง การตระหนักในความสำคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชน และร่วมมือปฏิบัติ-งานเพื่อพัฒนางานของสถานศึกษา ให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ

คำอธิบายมาตรฐานที่ 11
การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจำ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน โดยเฉพาะ สารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม

คำอธิบายมาตรฐานที่ 12
การสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หมายถึง การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการนำปัญหาหรือความจำเป็นในการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการเรียน และ การจัดกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงเรียน มา กำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของผู้เรียนที่ถาวร เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของครูอีกแบบหนึ่ง ที่จะนำเอาวิกฤติต่าง ๆ มาเป็นโอกาสในการพัฒนา ครูจำเป็นต้องมองมุมต่าง ๆ ของปัญหา แล้วผันมุมของปัญหาไปในทางการพัฒนา กำหนดเป็นกิจกรรมในการพัฒนาของผู้เรียน ครูจึงต้องเป็นผู้มองมุมบวกในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ กล้าที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มีสติในการแก้ปัญหา มิได้ตอบสนองปัญหาต่าง ๆ ด้วยอารมณ์หรือแง่มุมแบบตรงตัว ครูสามารถมองหักมุมในทุก ๆ โอกาส มองเห็นแนวทางที่นำสู่ผลก้าวหน้าของผู้เรียน

 

กระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 สำนักเลขาธิการคุรุสภา

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


มาตรฐานวิชาชีพครู

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

หลักเกณฑ์สอบ ผอ.และรอง ผอ.

หลักเกณฑ์สอบ ผอ.และรอง ผอ.


เปิดอ่าน 52,355 ครั้ง
เอกสารแนบคำขอในระบบ DPA

เอกสารแนบคำขอในระบบ DPA


เปิดอ่าน 17,205 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

คู่มือ/แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คู่มือ/แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เปิดอ่าน 20,630 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนฯ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 ชั้นม. 6
คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนฯ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 ชั้นม. 6
เปิดอ่าน 27,595 ☕ คลิกอ่านเลย

รวมประกาศเกี่ยวกับการศึกษา
รวมประกาศเกี่ยวกับการศึกษา
เปิดอ่าน 25,777 ☕ คลิกอ่านเลย

รูปแบบการสอน 7 ประการ
รูปแบบการสอน 7 ประการ
เปิดอ่าน 34,488 ☕ คลิกอ่านเลย

ประวัติ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ.
ประวัติ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ.
เปิดอ่าน 31,360 ☕ คลิกอ่านเลย

ระบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535
ระบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535
เปิดอ่าน 49,517 ☕ คลิกอ่านเลย

การประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา
เปิดอ่าน 30,415 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

อาการแบบไหนที่เรียกว่ากำลังขาดวิตามินซี
อาการแบบไหนที่เรียกว่ากำลังขาดวิตามินซี
เปิดอ่าน 14,863 ครั้ง

Timeline เกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนเครือข่าย ของโรงเรียนดีใกล้บ้าน
Timeline เกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนเครือข่าย ของโรงเรียนดีใกล้บ้าน
เปิดอ่าน 17,054 ครั้ง

เทคนิคการบันทึกเบอร์โทรศัพท์ ที่มีเบอร์ต่อ
เทคนิคการบันทึกเบอร์โทรศัพท์ ที่มีเบอร์ต่อ
เปิดอ่าน 14,875 ครั้ง

เยือนประเทศลาว เข้าเมืองเวียงจันทน์ สัมผัสวัฒนธรรมใกล้แหล่งที่พักเวียงจันทน์สุดชิล
เยือนประเทศลาว เข้าเมืองเวียงจันทน์ สัมผัสวัฒนธรรมใกล้แหล่งที่พักเวียงจันทน์สุดชิล
เปิดอ่าน 24,895 ครั้ง

จะจำใบหน้าของใครให้ได้แม่นยำ ต้องจ้องคอยดูที่ลูกตา
จะจำใบหน้าของใครให้ได้แม่นยำ ต้องจ้องคอยดูที่ลูกตา
เปิดอ่าน 10,595 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ