ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เผ็นจิ้ง 盆景ศิลปะการจัดสวนถาดจีน


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,234 ครั้ง
Advertisement

เผ็นจิ้ง 盆景ศิลปะการจัดสวนถาดจีน

Advertisement

❝ ศิลปะการจัดสวนถาดของจีนเป็นสิ่งที่น่าศึกษา เพราะเป็นการย่อส่วน ภูมิทัศน์ (LANDSCAPE ) ลงไว้ในภาชนะหรือถาด จีนเรียกว่า เผ็นจิ้ง (PENJING) (盆景) ❞

เผ็นจิ้ง 盆景

ศิลปะการจัดสวนถาดจีน

                             ศิลปะการจัดสวนถาดของจีนเป็นสิ่งที่น่าศึกษา เพราะเป็นการย่อส่วนภูมิทัศน์ลงไว้ในภาชนะหรือถาด จีนเรียกว่า เผ็นจิ้ง (PENJING(盆景)

คำว่า  เผ็น  แปลว่าภาชนะ หรือกระถาง จิ้ง แปลว่า ภูมิทัศน์หรือวิวทิวทัศน์ ทั่วไปมักจัดเป็นภูเขา เกาะ มีต้นไม้เล็กน้อย มีธารน้ำ ทะเลสาบ แล้วแต่จินตนาการ  เผ็นจิ้ง  ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของ บอนไซ ของญี่ปุ่น บอนไซ (盆栽)แปลว่า ต้นไม้ในกระถาง ดังนั้นแนวคิดหรือความหมายของเผ็นจิ้ง ที่หมายถึง ภูมิทัศน์ในกระถางหรือถาด ความหมายจึงกว้างกว่าบอนไซ

   

                                    เผ็นจิ้ง                                                                                   ภูมิทัศน์ธรรมชาติของจีน      

                   เผ็นจิ้งแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ  เผ็นจิ้งต้นไม้ (SHUMU PENJING) กับ เผ็นจิ้งแผ่นดินและน้ำ (SHUIHAN PENJING)  ตามหลักฐานภาพเขียนโบราณเผ็นจิ้งมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) ต่อมาในสมันราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ.960-1279) ได้พัฒนามากขื้น จนในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) เป็นที่นิยมเล่นกันมาก โดยเฉพาะปลายราชวงศ์ชิง รูปแบบยิ่งหลากหลายซับซ้อนมากขึ้น แบ่งตามรูปแบบทิวทัศน์  ลักษณะต้นไม้ ประเภทต้นไม้ตามภูมิภาคต่างๆของจีน เรียกว่ามีมากมายหลายสำนัก แต่ละจังหวัด แต่ละภาคมีแนวคิด สไตล์ที่ต่างกันไปตามความนิยมท้องถิ่น  แต่ที่สำคัญที่ควรยึดถือคือพื้นฐาน ในปัจจุบันเผ็นจิ้งถือเป็นศิลปะโบราณเก่าแก่แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับการแต่งบทกวี การเขียนอักษรจีน การเขียนภาพพู่กันจีน และการจัดสวนจีน

 

                 การทำต้นไม้ย่อส่วนได้แพร่หลายถึงญี่ปุ่นเต็มที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยประมาณประมาณศตวรรษที่ 6 -7 ญี่ปุ่นได้เริ่มมีการติดต่อและได้ไปศึกษารูปแบบวัฒนธรรมของจีน จนประมาณราชวงศ์ซ้องใต้ (ค.ศ. 1127-1279) ลัทธิชานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนาแพร่จากอินเดียเข้าสู่จีนผสมผสานกับลัทธิเต๋าของจีน และแนวคิดนี้ได้เริ่มเข้าสู่ญี่ปุ่น จนเป็นลัทธิหรือศาสนาเซ็นของญี่ปุ่นในทุกวันนี้  สามารถเรียกได้ว่าเป็นการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมโดยมีจีนเป็นต้นแบบให้ญี่ปุ่น ดังจะเห็นว่าศิลปะแนวคิด และวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมีความคล้ายคลึงกับจีนเป็นอย่างมาก

             

               หากเปรียบเทียบ เผ็นจิ้ง กับการเขียนภาพทิวทัศน์ของจีนจะมีแนวคิดที่เหมือนกันมาก เพราะนอกจากจะเน้นภูมิทัศน์ตามธรรมชาติแล้วยังแทรกด้วยปรัชญา หยิน หยาง  แสดงความสมดุลย์กลมกลืนอยู่ในตัวชิ้นงาน เผ็นจิ้งภูมิทัศน์แผ่นดินและน้ำ จะมีการจัดวางที่เน้นความสมดุลย์ ใช้ศิลปะในการเลือกต้นไม้ รูปแบบ ประเภทต้นไม้ลักษณะรูปทรงหิน สีหิน การจัดวางต้นไม้ ก้อนหิน หญ้าเล็ก มอส  ต้องเป็นไปอย่างสวยงามกลมกลืน รวมทั้งการเลือกใช้ถาดหรือภาชนะที่รองรับต้องเข้ากันได้ดี สร้างจินตนาการได้อย่างเหมาะสมที่มองดูเป็นธรรมชาติเหมือนจริง ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการจัดสวนถาดจีนที่สวยงามจะไม่เน้นรูปแบบต้นไม้ที่มีความสมบูรณ์ตามแบบแผนเหมือนบอนไซ แต่จะเน้นชนิดประเภทต้นไม้ รูปทรงลำต้น กิ่งก้านสาขา ใบ การจัดราก ที่มีความเป็นธรรมชาติกลมกลืนกับรูปทรงหินที่จัดวาง  เรียกง่ายๆว่ามองดูแล้วจะไม่แข็งกระด้าง

  

                     การเลี้ยงเผ็นจิ้ง และบอนไซ เป็นการสร้างสมาธิ สร้างจินตนาการและการได้อยู่ใกล้ภาวะธรรมชาติ การเลี้ยงดูจะช่วยสร้างความมานะพยายาม ความอดทน แต่ที่จริงแล้วหากท่านเป็นคนรักต้นไม้ รักธรรมชาติ ชอบท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวภาพทิวทัศน์ที่พบเห็นมาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งหากมีหัวศิลปะ รักศิลปะด้วยยิ่งจะทำให้สามารถสร้างเผ็นจิ้ง และบอนไซ ได้ดี ท่านจะเพลิดเพลินใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นงานอดิเรกที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะถ้าเราสร้างเอง ทำเอง เลี้ยงดูแลเองยิ่งภูมิใจเป็นที่สุด เพราะมันคือ ผลงานศิลปะที่มีชีวิตโดยฝีมือของท่านเอง

        

               

    การสร้างเผ็นจิ้งของจีนนั้นลึกซึ้งมาก มันเป็นการผนึกเอาพลังความคิดของเต๋าที่สืบทอดมาเป็นพันปี ที่รวมเอาจิตวิญญาณและร่างกายเป็นหนึ่งเดียว ละวางโดยไม่ยึดติดกับหลักเกณฑ์ แต่ยึดถือธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราเป็นสำคัญ เช่นเดียวกันกับลัทธิหรือศาสนาเซ็นของญี่ปุ่น การทำสมาธิของ ชาน เต๋า เซ็นมีที่มาคล้ายกัน การสร้างเผ็นจิ้ง และบอนไซ จึงต้องรวบรวมสมาธิดัด ตัดแต่ง วางรูปแบบในการจัดวางหิน ต้นไม้ สร้างน้ำ ลำธารขึ้นมาในแบบธรรมชาติ  ที่กล่าวมาเป็นการกล่าวในหลักการให้สวยหรูเป็นศาสตร์ ลึกซึ้งตามแนวคิดของต้นตำหรับ แต่คงไม่ถึงกับทำให้ท่านเลิกสนใจอยากเลี้ยงอยากทำไปเลยเพราะดูมันยากหนักหนา สำหรับท่านผู้สนใจขอให้พอมีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาแล้วก็พอ เพียงรักต้นไม้ รักธรรมชาติ มีความสนใจใฝ่ศึกษา มีจินตนาการสามารถทำได้ครับ มันเป็นศิลปะจริงๆ ไม่ลองไม่รู้

           

อ่านเรื่องอื่นๆหรือแวะทักทายที่

http://อาจารย์เข่.kroobannok.com

                                   

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3113 วันที่ 27 ต.ค. 2552


เผ็นจิ้ง 盆景ศิลปะการจัดสวนถาดจีนเผ็นจิ้ง盆景ศิลปะการจัดสวนถาดจีน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

..ปฏิบัติเพื่ออะไร...?

..ปฏิบัติเพื่ออะไร...?


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
 กลอนรัก สันติภาพ

กลอนรัก สันติภาพ


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
ผลการประกวดวงดนตรี Folk Song

ผลการประกวดวงดนตรี Folk Song


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
ภาพปริศนา....มหัศจรรย์  (2)

ภาพปริศนา....มหัศจรรย์ (2)


เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
นิทานเวตาล.... เรื่องที่ 17

นิทานเวตาล.... เรื่องที่ 17


เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง
ศาสนาแห่งการชนะ !........

ศาสนาแห่งการชนะ !........


เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
สมาธิ...วัยเรียน วัยทำงาน

สมาธิ...วัยเรียน วัยทำงาน


เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
...ขำ..??????

...ขำ..??????


เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
ขอเป็นกำลังใจเพื่อนครู

ขอเป็นกำลังใจเพื่อนครู


เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง
โรคชอบแก้ตัว

โรคชอบแก้ตัว


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ฟังเพลง..เพราะ

ฟังเพลง..เพราะ

เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
บทกลอนสอนสนุกเรื่อง  ถิ่นเจ้าพ่อหลักเมือง
บทกลอนสอนสนุกเรื่อง ถิ่นเจ้าพ่อหลักเมือง
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย

การฝึกสมอง...ให้เป็นคนเก่ง
การฝึกสมอง...ให้เป็นคนเก่ง
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

งานประดิษฐ์    หมวกแมกซิกัน..แบบเศรษฐกิจพอเพียง
งานประดิษฐ์ หมวกแมกซิกัน..แบบเศรษฐกิจพอเพียง
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย

ขี้เหร่..นิสัยแย่ไม่เอา!!
ขี้เหร่..นิสัยแย่ไม่เอา!!
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

ปิดเทอมนี้..อย่าปล่อยลูกเฝ้าหน้าจอ...
ปิดเทอมนี้..อย่าปล่อยลูกเฝ้าหน้าจอ...
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

แก้ปวดหัว.....ด้วยวิธีชีวจิต
แก้ปวดหัว.....ด้วยวิธีชีวจิต
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีซักผ้าที่มีรอยเปื้อนชนิดต่าง ๆ
วิธีซักผ้าที่มีรอยเปื้อนชนิดต่าง ๆ
เปิดอ่าน 106,797 ครั้ง

Timeline เกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนเครือข่าย ของโรงเรียนดีใกล้บ้าน
Timeline เกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนเครือข่าย ของโรงเรียนดีใกล้บ้าน
เปิดอ่าน 16,951 ครั้ง

7 เคล็ดลับ รักษาความจำยืนยาว
7 เคล็ดลับ รักษาความจำยืนยาว
เปิดอ่าน 12,731 ครั้ง

อย่าลืมเป้าหมายการศึกษา : โดย ดร.กมล รอดคล้าย
อย่าลืมเป้าหมายการศึกษา : โดย ดร.กมล รอดคล้าย
เปิดอ่าน 15,100 ครั้ง

ตู้เก็บของจำเป็นต้องมีสำหรับโรงเรียนบ้านนอกหรือไม่
ตู้เก็บของจำเป็นต้องมีสำหรับโรงเรียนบ้านนอกหรือไม่
เปิดอ่าน 20,238 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ