Advertisement
ต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทย
ครั้งที่แล้วพูดถึงงานวิจัยของนายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี และคณะ เกี่ยวกับแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน ซึ่งโครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพไปแล้วส่วนหนึ่ง
ที่มาของการศึกษาเรื่องนี้ก็เนื่องมาจากเยาวชนไทยเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ปัจจุบันมีรายงานการวิจัยมากมายในประเทศไทยที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของเยาวชน ที่นับวันทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากมายขึ้นเรื่อยๆ ก่อเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม
การสร้างต้นทุนชีวิตของเยาวชนจึงมีความจำเป็นอย่างมาก และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เยาวชน ครอบครัว และสังคม เกิดภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงเพื่ออนาคตของประเทศชาติต่อไป
กลยุทธ์ในการสร้างต้นทุนชีวิตของเยาวชนมีหลายประเทศให้ความสำคัญ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนด 40 ดัชนีชี้วัดต้นทุนชีวิตของเยาวชน พร้อมๆ กับสร้างเทคนิคให้กับผู้ดูแลเยาวชนให้มีทักษะในการเพิ่มประสิทธิภาพให้เยาวชนผ่านเกณฑ์ให้มากที่สุด
ในส่วนของนายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี และคณะ ได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องมือให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนและป้องกันปัญหาหรือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประกอบด้วย 5 พลัง คือพลังตัวตน พลังเพื่อนและกิจกรรม พลังครอบครัว พลังชุมชนและพลังสร้างปัญญา
ครั้งที่แล้วได้นำเสนอเทคนิคการสร้างเสริมต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชน สำหรับผู้ใหญ่ ครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและประเทศชาติไปบางส่วนแล้ว คราวนี้ขอนำเสนอแนวคิดเหล่านี้ต่อ
เทคนิคการสร้างเสริมต้นทุนชีวิต สำหรับโรงเรียน
1.เปิดโครงการจิตอาสาจากผู้ปกครอง
2.เปิดโครงการกิจกรรมอบรมต่างๆ
3.เปิดรอบรั้วรู้จักชุมชน
4.ร่วมกิจกรรมของชุมชนและพร้อมเป็นพื้นที่ดีให้กับชุมชุนในวันหยุด และนอกเวลาราชการ
5.เป็นผู้นำทำกิจกรรมระดับชุมชน
6.อมรมทักษะการสร้างเสริมต้นทุนต่างๆ หรือทักษะการอยู่ร่วมสังคมให้กับพ่อแม่ หรือผู้เกี่ยวข้อง
7.ตั้งชมรมบำเพ็ญประโยชน์สู่ชุมชน
8.ตั้งชมรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น บริโภคศึกษาสู่ชุมชน สื่อศึกษาสู่ชุมชน
9.เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้นำด้านกิจกรรม
เทคนิคการสร้างเสริมต้นทุนชีวิตของชุมชน
1.สร้างกิจกรรมร่วมกันทุกวันอาทิตย์ กิจกรรมง่ายๆ พบปะกัน แลกเปลี่ยนเล่นด้วยกัน เป็นต้น
2.สร้างมิตรภาพและสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกครอบต่างๆ ด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นประจำ
3.ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมระดับเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยร่วมมือกับวัด โรงเรียน และหน่วยงานอื่นๆ
4.จัดตั้งชมรมสหกรณ์เพื่อดูแลความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนที่เป็นสมาชิกของชุมชน เช่น เด็กและเยาวชนที่เป็นสมาชิกของชุมชน อาทิ เด็กและเยาวชนที่กลับบ้านแล้วแต่พ่อแม่ยังไม่กลับ เป็นต้น
เทคนิคการสร้างต้นทุนชีวิตระดับประเทศชาติ
1.สนับสนุนงบประมาณผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.สนับสนุนให้มีการรณรงค์การมีกิจกรรมสร้างสรรค์ในทุกพื้นที่
3.ให้รางวัลชุมชนที่สร้างเสริมต้นทุนได้ทุกระดับ
4.สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สุขภาวะของเด็ก เยาวชน และครอบครัว พร้อมการเผยแพร่
5.สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ระดับ อปท.สู่ระดับประเทศ
แนวทางการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนในทิศทางข้างหน้า
ยุทธศาสตร์หรือแผนการที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเด็กและเยาวชนรวมทั้งครอบครัว ต้องตอบ 3 กลยุทธ์ คือ
1.เด็ก-เยาวชนเป็นวัยที่มีศักยภาพ และมีคุณค่าของตนเอง (Positive Youth Model)
2.การมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว และชุมชน ในกิจกรรมสาธารณะ (Community and Youth Participation)
3.การได้รับการเผยแพร่และแรงเสริมบวกในกิจกรรมที่ดีจากสังคม ชุมชน ท้องถิ่น (Public Motivation)
เชื่อว่าสำหรับคนที่สนใจและต้องการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชน ผลงานวิจัยนี้ย่อมเป็นแนวทางนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่างมากมาย.
ที่มา http://www.thaipost.net/[คำไม่พึงประสงค์]-cite-kidz/280309/2406
วันที่ 26 ต.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,341 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,204 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,850 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,584 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,220 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,708 ครั้ง |
เปิดอ่าน 49,351 ครั้ง |
|
|